รีเซต

ย้อนคดี! ซ้อมทรมานจนตาย จากอดีตถึง 'ผู้กำกับโจ้' 'เมื่อไหร่จะกรณีสุดท้ายจริงๆ?'

ย้อนคดี! ซ้อมทรมานจนตาย จากอดีตถึง 'ผู้กำกับโจ้' 'เมื่อไหร่จะกรณีสุดท้ายจริงๆ?'
TeaC
27 สิงหาคม 2564 ( 13:39 )
282

ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง? เชื่อว่าหลายคนเมื่อได้เห็นคลิปกรณี "ผู้กำกับโจ้" หรือ "พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล" อดีตผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ร่วมกันกับตำรวจในสังกัดร่วม 6 คน ใช้ถุงคลุมศีรษะผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนสิ้นลม ต้องเกิดคำถามดังกล่าวขึ้นในใจ เนื่องจากในอดีตข่าวการซ้อมทรมานจนตาย ทุพพลภาพ หรือพิการ เหยื่อมีตั้งแต่ประชาชนหลากหลายอาชีพ พ่อค้ายาเสพติด พลเรือน ไปจนถึงพลทหาร ฯลฯ บางคดียังไม่สิ้นสุดด้วยซ้ำ 

 

คำถามซ้ำซากต่อมานั่นคือ ยังต้องมี "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?" ถึงจะสิ้นสุด วันนี้จะพาย้อนคดีดังในอดีตที่เป็นข่าวโด่งดัง เป็นที่จับตามองของสังคมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราชในการติดตาม จับกุม และดำเนินคดี แต่ต้องยอมรับว่า ในบางกรณีที่เป็นข่าวมักจะได้เห็น "โจรในคราบตำรวจ" (บางคน) เช่นเดียวกับกรณี "ผู้กำกับโจ้" ให้เห็นจนชาชิน และเกิดคำถามเดิม ๆ ยังต้องมี "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?"

 

 

โดยข้อมูลจาก มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้สรุปเคสซ้อมทรมาณ หรือเสียชีวิตระหว่างการควบคุม มีหลายคดีที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้วิธีความรุนแรงที่ยังคงนำมาใช้เป็นแนวทางในการข่มขู่ บังคับ เลยเถิดจนถึงขั้น "พลั้งมือ" ซ้อมทรมานผู้อื่นจนตายด้วยฝีมือของผู้พิทักษ์สันติราษฎ์ สู่ "โจรในคราบตำรวจ" ดังนี้

 

คดีจากอดีตถึง 'ผู้กำกับโจ้' 'เมื่อไหร่จะกรณีสุดท้ายจริงๆ?'

 

คดี "อนัน เกิดแก้ว" 

 

เริ่มที่เหตุการณ์เมื่อปี 2558 เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นกับ นายอนัน เกิดแก้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2558 เวลาประมาณ 18.10 น. เขาถูกเจ้าพนักงานตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาจับกุมและควบคุมตัวต่อเนื่อง ซึ่งตลอดเวลานายอนันตกเป็นผู้ต้องหาคดียาเสพติด ถูกพาตัวเข้าไปยังเซฟ แต่กลับออกมาเขากลับหมดสติ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

 

ซึ่งคดีดังกล่าวที่น่าสนใจเมื่อศาลไต่สวนการตาย เห็นว่า เชื่อว่าหลังจากนายอนัน ถูกจับและอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม ได้ถูกทำร้ายร่างกายด้วย และเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ความตาย

 

โดยศาลได้วินิจฉัยว่า การตายของนายอนัน ไม่ได้เกิดจากการหกล้มหรือกระโดดสะพานระหว่างหลบหนีตามคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม เนื่องจากสภาพศพของนายอนันปรากฎบาดแผลหลายแห่ง ตั้งแต่ที่ศีรษะ ใบหน้า อก ลำตัว มือ ขา และเท้า

 

คดี 3 เยาวชน อ.สามร้อยยอด

 

มาต่อกันที่เหยื่อการซ้อมทรมาน หลังเยาวชน อ.สามร้อยยอด ได้ตกเป็นผู้ต้องสังสัยในคดีปล้นทรัพย์นักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งพนักงานอัยการฟ้อง 3 เยาวชนว่า ร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยผู้ต้องหาที่ 1 ยืนยันว่า ที่ตนได้รับสารภาพและซัดทอดไปยังจำเลยที่ 2 และ 3 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น เพราะเขาถูกซ้อมทรมานให้รับสารภาพ

 

โดยคดีนี้เมื่อเข้าสู่ใน ศาลชั้นต้น ซึ่งเห็นว่าคำกล่าวอ้างของจำเลยรับฟังไม่ได้ และเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีสาเหตุโกรธเคืองมาก่อน จึงเห็นว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดจริง เมื่อมาถึงศาลอุทธรณ์ได้เห็นว่า คำรับสารภาพของจำเลย มีข้อห้ามให้ต้องรับฟังอย่างระมัดระวัง พนักงานอัยการมีเพียงคำรับสารภาพจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย

 

  • พนักงานอัยการไม่ฎีกา คดีจึงถึงที่สุด
  • คดีแพ่ง ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่างคำฟ้อง

 

คดีนายสุรัช จังหวัดกาญจนบุรี

 

เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังมีชายประมาน 6 คน มาที่บ้านของนายสุรัตน์ และได้มีการเข้าไปควบคุมตัวนายสุรัตน์ในช่วง 03.00 น. และพาตัวเขาออกไป โดยชายกลุ่มดังกล่าวอ้างว่า นาวสุรัตน์ถูกต้องสงสัยเอี่ยวคดียาเสพติด หลังจากนั้น นายสุรัตน์ ได้ถูกปล่อยตัวกลับออกมา แต่พบว่า มีอาการสาหัสอยู่ที่โรงพยาบาล ญาติได้ร้องทุกข์กล่าวโทษพนักงานสอบสวนแล้ว

 

  • สำนวนอยู่ที่พนักงานงานอัยการ คดีอาญาทุจริต ภาค 7

 

คดี "ผู้กำกับโจ้" ปลุก "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?"

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคดีที่ได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ คดีผู้กำกับโจ้ ฆ่าถุงดำคลุมหัวพ่อค้ายาเสพติดจนสิ้นลม เป็นที่จับตามองและเป็นที่กังขาในความรู้สึกของประชาชนถึงการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้การวิธีความรุนแรง "การซ้อมทรมาน" ทำไมถึงยังเกิดขึ้น ทั้งที่ยุคสมัยพัฒนาไปจากในอดีต แต่ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐยังใช้อำนาจผิดวัตถุประสงค์ พอ "เหยื่อ" ความรุนแรงเสียชีวิต กลับออกมาขอโทษ บอก "ผมไม่ได้ตั้งใจฆ่าน้อง" 

 

แล้วยังต้องมี "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?"

 

และนี่คือคดีตัวอย่างที่อาจเป็นไปได้ใช้วิธีการซ้อมทรมานฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ คำถามซ้ำซากที่วนเวียนทุกครั้งเมื่อเกิดข่าวการซ้อมทรมาน ยังต้องมี "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?" รวมทั้ง ยังไม่นับคดีอื่น ๆ ที่โด่งดังบ้าง หรือเงียบบ้าง ซึ่งบางคดียังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการการเรียกร้อง "ความยุติธรรม" บางคดียังคงเป็นปริศนาให้สังคมเกิดข้อสงสัยถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ความเชื่อมั่นที่ถูกลดทอนลงเมื่อผู้พิทักษ์สันติราษฎ์ (บางคน) กลับกลายเป็น "โจรในคราบตำรวจ" ที่ใช้อำนาจข่มขู่ บังคับ ไปจนถึงซ้อมทรมานจนสิ้นลม

 

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ที่ตกเป็น "เหยื่อ" จะต้องกลายเป็นศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง? ประชาชนอย่างเรา ๆ ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ในกระบวนการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจที่ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายไปจนถึงอีกเมื่อไหร่

 

แล้วประเทศไทย ยังต้องมี "ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?" ในน้ำมือของโจรในคราบตำรวจ (บางคน)

 

ข้อมูล :  FB Cross Cultural Foundation (CrCF)

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง