รีเซต

รู้จัก “แอมเฟตามีน” สารเสพติดที่มีฤทธิ์ถึงตาย ปมหนังสือรับรองการเสียชีวิต คดี “สารวัตรโจ้”

รู้จัก “แอมเฟตามีน” สารเสพติดที่มีฤทธิ์ถึงตาย ปมหนังสือรับรองการเสียชีวิต คดี “สารวัตรโจ้”
Ingonn
25 สิงหาคม 2564 ( 15:18 )
1.2K
รู้จัก “แอมเฟตามีน” สารเสพติดที่มีฤทธิ์ถึงตาย ปมหนังสือรับรองการเสียชีวิต คดี “สารวัตรโจ้”

หลังจากคดีของ “สารวัตรโจ้” หรือ “ผู้กำกับโจ้” ที่คลุมถุงพลาสติกผู้ต้องหาคดียาเสพติด จนขาดอากาศเสียชีวิต โดยหนังสือรับรองการเสียชีวิตที่ออกกโดยโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ ระบุว่า ผู้ต้องหารายดังกล่าวนั้นเสียชีวิตจากพิษสารแอมเฟตามีน จนทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียล

 

 

วันนี้ TrueID จึงจะพาทุกคนมารู้จักสารเสพติดชนิดนี้ “แอมเฟตามีน” การออกฤทธิ์เป็นอย่างไร สเสพเกินขนาดถึงตายได้เลยรึเปล่า หรือมีความน่ากลัวแค่ไหน ไปดูกัน

 

 


“แอมเฟตามีน” คืออะไร


ยาแอมเฟตามีน หรือที่เรียกกันว่า “ยาม้า” หรือ “ยาขยัน” และ “ยาบ้า” เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ เป็นเม็ดเล็กเม็ดกลมแบน หรืออาจพบลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปหัวใจ มีสีขาว เหลือง น้ำตาล สีฟ้า หรือหลากสีในเม็ดเดียว และมักมีเครื่องหมายรูปหัวม้า หรือคำว่า LONDON จัดเป็นยาที่มนุษย์ สังเคราะห์ขึ้นมาหลายตัว เช่น อีเฟดริน เมทแอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน และ เอ็กซ์ตาซี ซึ่งเป็นแอมเฟตามีนในรุ่นที่สาม เป็นต้นฯ

 

 

โดยยาที่มีเป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ “เมทแอมเฟตามีน” (Metamphetamine) มีลักษณะเม็ดสีส้ม มีตัวอักษร WY ในระยะหลังจะพบว่ามีการผสมยากลุ่มแอมเฟตามีน โดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนร่วมกับเฮโรอินและอื่นซึ่งมีผลทำให้เสพติดง่ายขึ้นเลิกจากการเสพติด ได้ยากมากขึ้น

 

 

วิธีการเสพยาแอมเฟตามีนมี 


กิน เป็นวิธีเดิมที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มเกษตรกร  ผู้ขับขี่รถ


ฉีดยา เข้าเส้น มักจะผสมกับยาอื่น เช่น เฮโรอิน หรือ ยากล่อมประสาท


สูบ โดยบดคลุกกับบุหรี่สูบ


สูดควันระเหย คล้ายกับวิธีสูบบุหรี่ โดยบดแล้วลนไฟ  จะใส่ในกระดาษฟรอยด์ เรียกว่า เรือ ลนไฟแล้วใช้หลอดกาแฟดูดควันระเหย ที่เรียกว่า จับมังกร เป็นวิธีที่แพร่หลาย ในหมู่นักเรียน นักศีกษา และวัยรุ่น

 

 

 

อาการของผู้เสพยาแอมเฟตามีน


ผู้ที่เสพในปริมาณ 20-30 กรัมต่อวัน อาการที่มักจะตรวจพบ ได้แก่ เบื่ออาหาร ตื่นเต้นง่าย อยู่ไม่สุข มือสั่น ตัวสั่น เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ผะอืดผะอมได้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนอน ท้องเสียหรือท้องผูก ปาก และ จมูกแห้ง ริมฝีปากแตก ทำงานเกินปกติ หงุดหงิด ชอบทะเลาะวิวาท รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด มวนต่อมวน

 

 

ส่วนคนที่เสพมากกว่านั้น จะมีผลทางด้านจิตใจที่เห็นได้ชัด คือ จะเกิดอาการทางจิตเฉียบพลัน หรือเป็นบ้าขึ้นได้ชั่วระยะหนึ่ง เหมือนกับชื่อ “ยาบ้า” คล้ายผู้ป่วยโรคจิตหวาดระแวงเกิด มีอาการหลงผิด คิดว่ามีคนมาทำร้ายตน เอะอะคว้าอาวุธมาป้องกันตัวเอง หรือพยายามจะหนีซุกซ่อนตัวเอง พูดไม่รู้เรื่อง มักเห็นภาพหลอน ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น เช่น คิดว่า มีคนมาทำร้าย จึงทำร้ายผู้อื่นก่อน  บางรายที่ใช้ยามากๆอาจจะมีอาการไข้ขึ้น ความดันโลหิตสูงมาก ใจสั่น หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ ถึงตายได้

 

 

เนื่องจาก “แอมเฟตามีน” เป็นยากระตุ้นระบบประสาท เมื่อเสพเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นเสมอ โดยไม่ได้รับการพักผ่อน ร่างกายฝืนให้ทำงานหนักตลอดเวลามีผลทำให้ร่างกายสุขภาพทรุดโทรมลงเกิดโรคตามมาง่าย เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ โรคตับอักเสบ โรคปอด ไตเสื่อม เกิดอารมณ์แปรปรวน ภาวะทางจิตเสื่อมโทรมก่อให้เกิดโรคจิตเรื้อรังหรือบ้าได้ตลอดไป

 

 

 

เลิกใช้ “แอมเฟตามีน” ได้ไหม 


เมื่อหยุดการใช้ยาก็จะเกิดอาการ ร่างกายอ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก จนกระทั่งไม่มีแรงแม้จะทานอาหาร จะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ความคิดสับสน ปวดศรีษะ เหงื่อแตกมาก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดบิดในท้อง รู้สึกร้อนสลับหนาวจัดได้ อาจทุรนทุราย เอะอะอาละวาด ทำร้ายผู้อยู่ใกล้เคียงได้  อาจฆ่าตัวตายเนื่องจากมีอารมณ์ซึมเศร้ามาก

 

 

อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากขาดยาไปเพียง 2-3 วัน และอาจมีความรู้สึกทรมานต่อไปอีกเป็นอาทิตย์ ซึ่งผู้เสพบางรายอาจจะทนไม่ได้ แต่โดยทั่วไปอาการจะมีประมาณ 1 อาทิตย์

 

 

คนส่วนใหญ่ที่ติดยาแอมเฟตามีน ไม่ต้องกังวลว่าจะเลิกยาชนิดนี้ไม่ได้ เพราะอาการถอนยาไม่รุนแรงมาก อาจมีอาการหงุดหงิดและอ่อนเพลีย ซึ่งเมื่อมีความตั้งใจจะเลิกแล้ว สามารถเลิกได้เองโดยไม่ต้องเพิ่งยาอะไรช่วย 

 

 

แต่อย่างไรก็ตามยาเสพติดก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรเข้าไปยุ่ง หรือเสพ เพราะเสพก็จะติด สมดังชื่อ พอติดแล้วจะเลิกก็ทำได้ลำบาก และยังทำให้คนรอบตัวต้องคอยระวังอาการหลอนจากการเสพยาอีกด้วย

 

 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง