รีเซต

'ถุงดำคลุมหัว' ไม่ได้แค่สร้างความกลัว! อย่าหาทำ

'ถุงดำคลุมหัว' ไม่ได้แค่สร้างความกลัว! อย่าหาทำ
TeaC
25 สิงหาคม 2564 ( 13:54 )
1.3K
'ถุงดำคลุมหัว' ไม่ได้แค่สร้างความกลัว! อย่าหาทำ

เชื่อว่าตอนเด็กต้องเคยใช้ถุงหิ้วของ ถุงพลาสติก คลุมหัวเล่นกันใช่ไหม? แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้ "ถุง" ทั้งถุงหิ้ว ถุงพลาสติก เล่นกัน หรือเลยเถิดไปจนถึงขั้นบางคนใช้ถุงดำคลุมหัวผู้ใหญ่บ้าง เด็กบ้าง ที่ปรากฎเป็นข่าวดังให้เห็นบนโซเชียลฯ ยกตัวอย่าง กรณี "แก๊งครูสารสาสน์ราชพฤกษ์" ใช้ถุงดำคลุมหัวเด็กอนุบาล หรือกรณีที่กำลังระอุสะเทือนแวดวงสีกากี "ผู้กำกับโจ้" ใช้ถุงดำคลุมหัวพ่อค้ายารีด 2 ล้านจนสิ้นลม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ห้ามทำกับเด็ก เพราไม่ได้แค่สร้างให้เด็กกลัว แต่อาจกระทบถึงขั้นซึมเศร้าได้ 

 

วันนี้ TrueID ขอหยิบประเด็นเรื่องการใช่ถุงดำคลุมหัวที่บางคนอาจมองว่า "แค่หยอกเล่น" หรือแค่ใช้เป็นเครื่องมือทำให้ผู้ต้องหา "เกิดความกลัว" นั่น อย่าหาทำ หรือทำตามเด็ดขาด

 

ทำไม? ห้ามใช้ถุงคลุมหัวเด็ก

 

หากใครจำข่าวคดีดังแก๊งครูสารสาสน์ราชพฤกษ์กันได้ดี จะมีการใช้ถุงดำคุมหัวเด็กเล็ก และอ้างว่า "แค่ผู้ใหย่หยอกเด็กเล่น" ซึ่งจากข้อมูล เฟซบุ๊กเพจ "เข็นเด็กขึ้นภูเขา" ของหมอมิน พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้โพสต์ถึงกรณีข่าวที่มีคลิปคุณครูเอาถุงดำครอบศีรษะเด็กนั้น บางคนบอกว่ามันอาจเป็นการ "หยอกเล่นของผู้ใหญ่" ไม่ได้จะทำอะไรเด็ก

 

หมอมิน อธิบายได้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ ไม่ว่าจะใช้ถุงดำคลุมหัวเด็กเพื่อหลอก หยอกเล่น หรือขู่ให้เชื่อฟัง หรืออะไรก็ตามที แต่ถ้าทำให้เด็กรู้สึกกลัว ก็ส่งผลทำให้เกิดผลกระทบทางจิตใจได้ 

 

เนื่องจากคงไม่มีใครชอบความกลัวไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม และหมอมิน ยังให้แนวคิดที่น่าใจว่า ยิ่งเมื่อความกลัวเกิดขึ้นกับ "เด็กเล็ก ๆ" ที่การพัฒนาทางความคิดยังไม่ดีเหมือนเด็กโต การแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ยังไม่ถูกต้องตามความจริง ความกลัวก็ยิ่งบั่นทอนความรู้สึก และส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว หากความกลัวนั้นรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

 

ตามทฤษฎีของ Piaget พูดถึงเด็กในวัย 2-7 ปีว่าเป็นช่วง Preoperational stage ซึ่งเด็กจะมีลักษณะความคิดที่มีจินตนาการ (fantasy) มาก ความมีจินตนาการของเด็ก เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ แต่บางครั้งการที่ยังแยกแยะเรื่องจริงกับจินตนาการไม่ได้ เด็กเล็ก ๆ จึงมักมีความกลัวบางอย่างที่ผู้ใหญ่รู้สึกว่าไม่มีเหตุผล ความกลัวของเด็กนั้น แม้จะดูไร้สาระในสายตาของผู้ใหญ่ แต่มันก็มีความหมายและควรให้ความสำคัญ เช่น เด็กบางคนกลัวว่าเวลานั่งโถส้วม จะถูกดูดลงไปในโถ เด็กบางคนคิดว่าใบกล้วยนอกหน้าต่างตอนกลางคืนเป็นมังกรยักษ์ในนิทาน ฯลฯ

 

เวลาที่ผู้ใหญ่หลอกอะไรเด็กเล็ก หรือขู่ให้กลัว เด็กก็มักจะปักใจเชื่อจริง ๆ เช่น มีแม่คนหนึ่งขู่เด็กว่าถ้าเป็นเด็กดื้อ เดี๋ยวแม่จะออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ตั้งแต่นั้น เด็กก็ไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะกลัวว่าแม่จะหนีจากเขาไป

 

ยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือสวัสดิภาพของตัวเองกับคนที่เขารัก เช่น พ่อแม่ เด็กจะกลัวมากขึ้นเป็นหลายเท่า บางครั้งความกลัวก็ทำให้เด็กฝันร้าย นอนไม่หลับ

 

แม้จะไม่มีเหตุผลนัก แต่ความกลัวของเด็กก็มีอยู่จริง และมันอาจจะส่งผลกระทบกับเด็กบางคนจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ เช่น ผู้ใหญ่คนหนึ่งที่เป็นโรคกลัวที่แคบ เมื่อย้อนประวัติไปในวัยเด็กก็พบว่า ตอนเล็ก ๆ ถูกพ่อแม่ขังไว้ในห้องเก็บของมืด ๆ แคบ ๆ อยู่หลายชั่วโมง ผู้ใหญ่บางคนคิดว่าการแกล้งเด็กเป็นเรื่องสนุกขำขัน แล้วก็ให้เหตุผลว่า “ก็เขายังเด็ก ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก”

 

ความกลัวถ้าเกิดขึ้นรุนแรงและบ่อยครั้ง จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางใจ มีผลกระทบกับความรู้สึก ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง การมองโลกในแง่ร้าย ภาวะวิตกกังวล หรือซึมเศร้า ได้

 

ผู้ใหญ่ถูกคลุมหัว ความกลัวไม่ต่างจากเด็ก?

 

ขณะที่ การใช้ถุงคลุมหัวผู้ใหญ่ก็ไม่ต่างจากการสร้างความกลัวในเด็ก เช่นกรณีของผู้กำกับโจ้ใช้ถุงดำคลุมหัวผู้ต้องหาค้ายาเสพติดถึง 3 ชั้น แม้ว่าผู้ต้องหาจะส่งเสียงร้องขอชีวิต หากนั่งพิเคราะห์กันดี ๆ หรือลองจำลองภาพหากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง จะรู้สึกอย่างไร?

 

อาจเป็นไปได้ว่าคนส่วนใหญ่หากเจอการถูกถุงดำคลุมหัว เกิดความกลัวเช่นกัน ยิ่งหากเกิดหายใจไม่ออก ความกลัวยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้นไปด้วยซ้ำ ดังนั้น หยุดแกล้งหรือหยอกให้เด็กกลัว จนทำให้กลายเป็นความทรงจำที่ฝังใจเลย โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนที่เด็กรักและเชื่อใจอย่างมาก 

 

และถ้าอยากให้เขาเป็นเด็กดีให้เขาเชื่อฟัง อยากเล่นกับเขา อย่าใช้วิธีข่มขู่หรือหยอกเล่นให้เด็กกลัว เล่นกับเขาดี  ๆ หรือบอกเขาตรง ๆ ว่าผู้ใหญ่อยากให้เขาทำอะไร ตรงนั้นจะดีกว่า และจะทำให้สัมพันธภาพในระยะยาวดีด้วย รวมถึง ควรปลูกฝังให้เด็กรู้ถึงการใช้ถุงอย่างถูกต้อง ไม่ควรนำไปเล่น 

 

ขณะที่ ผู้ใหญ่บางคนที่ไม่เกรงกลังต่อกฎหมาย ใช้ความรุนแรง วิธิการเดิม ๆ ที่อาจเป็นไปได้ว่าถูกปลูกฝัง เลียนแบบ และอาจเป็นไปได้ที่คิดว่าสิ่งที่ทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีการที่ผิด ถูกต้อง และการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ริดรอนชีวิตผู้อื่นจนสิ้นลม เสียชีวิตตรงหน้า อย่าหาทำ อย่ากลายเป็นทายาทของการใช้อำนาจ ความรุนแรงที่ผิด เพราะใคร ๆ ก็รักชีวิตตัวเองทั้งนั้น อย่าสร้างความกลัว อย่าทำร้ายจิตใจ และอย่าทำร้ายชีวิตใครให้ถึงเจ็บและตาย

 

ห้าม...เด็กอย่าใช้ถุงคลุมหัวเล่น

ผู้ใหญ่อย่าใช้ถุงดำคลุมหัวทำร้ายคนอื่น

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง