รีเซต

แนวทางการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการตำรวจ

แนวทางการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการตำรวจ
TrueID
25 สิงหาคม 2564 ( 10:56 )
2.7K
แนวทางการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการตำรวจ

จากประเด็นข่าวที่เป็นกระแสสังคมสะเทือนวงการสีกากีกรณี “ผู้กำกับโจ้” สภ.เมืองนครสวรรค์ คลุมหัวผู้ต้องหาดับ ดูจากสถานการณ์แล้วอาจต้องมีบทลงโทษสำหรับความผิดที่เกิดขึ้น trueID จึงรวบรวม แนวทางลงโทษทางวินัยร้ายแรงฯ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทำผิดในกรณีต่างๆมาให้รับทราบกันแล้ว

*โดยประเด็น "ผู้กำกับโจ้" เข้าข่ายความผิดข้อที่ 1  และข้อที่ 4

 

หลักการและเหตุผล การกําหนดแนวทางการพิจารณาและแนวทางการลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง

 

  1. เพื่อให้การบริหารราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติมีความสอดคล้องกับบทบัญญัติ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ซึ่งให้การปฏิบัติภารกิจของส่วน ราชการเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตสามารถตรวจสอบได้
  2. ข้าราชการตํารวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอํานาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการกระทํา ผิดอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน สืบสวนสอบสวนคดีอาญา ต้องปฏิบัติ หน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ รวมทั้งปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐ และจรรยาบรรณของตํารวจ ไม่ให้เกิด ความเสียหาย และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น มากกว่าข้าราชการประเภทอื่น ๆ
  3. ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจลงโทษ ให้คุลยพินิจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ ข้าราชการตํารวจในปกครองบังคับบัญชา โดยให้พิจารณาถึงสภาพของข้อหา การกระทําและความ เสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ไปตามความร้ายแรงแห่งกรณี

 

โทษทางวินัย

แนวทางการลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง

 

ความผิดระดับโทษเหตุผล

๑. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้ได้รับ ประโยชน์ที่มิควรได้ (ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ)

 

ไล่ออก

มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๖ (หนังสือสํานักเลขาธิการ ค.ร.ม. ที่ น.ร.๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลง ๒๔ ธ.ค. ๒๕๓๖) โทษไล่ออก

๒. ละทิ้งหน้าที่ราชการ

๒.๑ ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียว |กันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผล อันสมควรและไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่อีกเลย

ไล่ออกมติ ครม. เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๖
๒.๒ ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียว กันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุ ผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์ | อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ของทางราชการปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 
๒.๓ ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรงปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๒.๔ ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาหลายครั้งในเวลาใกล้เคียงกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร

ปลดออก 
๒.๕ ละทิ้งหน้าที่เวรยามและเกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงปลดออก 
๒.๖ ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการหลายครั้งโดย ไม่มีเหตุอันสมควรและลงโทษไปแล้วแต่ยัง ไม่เข็ดหลาบ กระทําผิดซ้ําอีกให้ออกหย่อนความสามารถ 

ข้อสังเกต

ละทิ้ง” หมายถึง ไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ซึ่งอาจ เป็นกรณีไม่มาปฏิบัติงานเลยหรือมาลงชื่อปฏิบัติงานแล้ว แต่ตัวไม่อยู่ปฏิบัติงานโดยออกไปนอกสํานักงานหรือไป ณ จุดอื่นนอกจุดที่ให้ประจําทํางาน

  

ทอดทิ้ง” หมายถึง ไม่เอาเป็นธุระ ไม่เอาใจใส่ ตัวอยู่แต่ไม่ทํางาน

“ละทิ้งหน้าที่ราชการ มี ๔ ระดับ คือ

- วินัยอย่างไม่ร้ายแรง เช่น ละทิ้งฯ ๑-๒ วัน

- ลงโทษไปแล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่เข็ดหลาบ กระทําผิดซ้ําอีกผู้บังคับบัญชาสามารถสอบสวน เพราะหย่อนความสามารถตาม ม.๑๐๑

- ละทิ้งฯ หลายครั้ง แต่ยังไม่ได้มีการลงโทษใน แต่ละครั้ง ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลยพินิจ รวมเรื่องพิจารณาในคราวเดียวกัน

- วินัยอย่างร้ายแรง คือ ลําดับ ๒.๑-๒.๕

*การนับวันละทิ้งหน้าที่ราชการ

- ละทิ้งฯ ไม่เกิน ๑๕ วัน ให้พิจารณาถึงเจตนา เช่น ละทิ้งฯ ตั้งแต่วันพุธของสัปดาห์ปัจจุบันถึง วันอังคารของสัปดาห์ถัดไปนับวันเสาร์และ อาทิตย์ด้วย

- ละทิ้งฯ ติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลา เกินกว่าสิบห้าวันต้องนับวันละทิ้งๆ ติดต่อกันทุกวัน รวมทั้งวันหยุดราชการด้วย ส่วนการปฏิบัติ หน้าที่ตามสถานตํารวจไม่มีระยะเวลาปฏิบัติ หน้าที่แน่นอน ต้องเข้าเวรเป็นผลัด เช่น เข้าเวร ๓ ชม. พัก ๒๔ ชม. เวลาพักถือเป็นการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วย

  

๓. เหยียดหยาม กดขี่ข่มเหงหรือทําร้ายประชาชนผู้มา ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๔. ซ้อมผู้ต้องหา เพื่อให้กระทําการใด ไม่กระทํา การใดหรือจํายอมต่อสิ่งใด

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณีการกระทําที่เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรงควรเป็นการ กระทําโดยเจตนาแสดงอํานาจ ทารุณบังคับขู่เข็ญผู้ต้องหาเพื่อให้ กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด

๕. เป็นผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือหรือปกปิดในความผิด วินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาได้ก่อขึ้น เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพ้นผิดหรือผ่อนหนักเป็นเบา ด้วยประการใดๆ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง

ปลดออก 

๖.เกี่ยวกับการสอบ

๖.๑ ทุจริตในการสอบแข่งขันหรือคัดเลือก

 

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณีมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๙ เม.ย. ๒๕๑๑ ลงโทษสถานหนัก (หนังสือสํานักเลขาธิการ ค.ร.ม. ที่ สร O๔๐๑/ว ๕๐ ลง ๑๒ เม.ย. ๒๕๑๑)

๖.๒ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสอบและการทําการทุจริตเพื่อช่วยเหลือผู้เข้าสอบ

ไล่ออกมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๖

๖.๓ เรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดจากผู้สมัครสอบหรือบุคคลอื่น โดยอ้างว่าจะช่วยเหลือให้สอบได้

ไล่ออกอาศัยที่ตนเป็นตํารวจไปหลอกลวงว่า จะช่วยเหลือให้สอบได้โดยตนไม่มีห น้าที่เกี่ยวกับการสอบระดับโทษเช่น เดียวกับทุจริต (หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร ๐๗๐๙.๓/ว ๒ ลง ๒๘ ก.พ. ๒๕๓๘)

๗. เกี่ยวกับสุรา

๗.๑ เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ เวรยามหรือเมาสุราเสียราชการ หรือเมาสุราในที่ชุมชน เกิดเรื่องเสียหายหรือเสีย เกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ราชการ

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณีมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๘ ส.ค. ๒๕๔๖ ควรลงโทษถึงให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก(หนังสือกรมเลขาธิการ ค.ร.ม.ที่ น.ว.๒๐๘/๒๕๕๖ ลง ๓ ก.ย. ๒๔๙๖) สําหรับ การเสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ ควรมุ่งหมายถึงเฉพาะการเสพสุรา ในขณะปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะทําให้เกิด ความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง โดยแท้จริง

๗.๒ เมาสุราก้าวร้าว ท้าทายผู้บังคับบัญชา

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณีมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๘ ส.ค. ๒๕๔๖

๗.๓ เมาสุรายิงปืนด้วยความคึกคะนอง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณีมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๘ ส.ค. ๒๕๔๖

๘. เกี่ยวกับอาวุธปืน

๘.๑ มีอาวุธปืนหรือลูกระเบิดผิดกฎหมายไว้ในความครอบครอง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๘.๒ ยิงปืนในเมือง หมู่บ้าน หรือชุมนุมชนโดยใช่เหตุ

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๘.๓ ยิงปืนด้วยความคึกคะนอง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๘.๔ นําอาวุธปืนของทางราชการไปจํานําหรือขาย

ไล่ออกมติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๖

๙. เกี่ยวกับผู้ต้องหาหรือผู้ถูกควบคุม

๙.๑ เจตนาปล่อยผู้ต้องหาหรือผู้ถูกควบคุม

 

ไล่ออก

มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๓๖

๙.๒ ประมาทเลินเล่อทําให้ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกควบคุมหลบหนีหลายครั้ง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๐. เกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันชู้สาว

๑๐.๑ เป็นชู้หรือมีชู้ หรือมีพฤติการณ์เป็นชู้ หรือมีชู้กับภรรยาหรือสามีของผู้อื่น

 

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

 

๑๐.๒ ปลุกปล้ำกระทําอนาจารภรรยาของผู้อื่น

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑. เกี่ยวกับงานสอบสวน

๑๑.๑ ขาดผัดฟ้องฝากขัง (พนักงานสอบสวนหรือผู้ได้รับมอบหมาย) เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๒ เกียจคร้าน ทําสํานวนคดีอาญาล่าช้า ค้างจํานวนมาก และผู้บังคับบัญชา เร่งรัดแล้วยังไม่ดําเนินการตามคําสั่ง ของผู้บังคับบัญชา

ให้ออกหย่อน ความสามารถ 

๑๑.๓ ทําสํานวนคดีอาญาล่าช้า และเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๔ ทําสํานวนการสอบสวนสูญหาย และเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๕ เปลี่ยนตัวผู้ต้องหาหรือช่วยเหลือผู้ต้องหาโดยมิชอบ

ไล่ออก 

๑๑.๖ เลินเล่อปล่อยให้ผู้ต้องหาที่มีการอายัดตัวพ้นไปจากการควบคุมเป็นเหตุ ให้ท้องที่อายัดตัวผู้ต้องหาไปดําเนินคดีไม่ได้ เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๗ ไม่ส่งมอบสํานวนที่มีอยู่ในความรับผิดชอบเมื่อได้รับการแต่งตั้งพ้นหน้าที่สอบสวนเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๘ เบิกความเท็จต่อศาลหรือคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง หรือลงโทษน้อยลง เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๙ มิได้มีหนังสือแจ้งงดสืบจับไปยัง ทว. หรือหน่วยงานวิทยาการในภูมิภาค เมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาได้ หรือโดย ประการอื่น ซึ่งไม่ประสงค์จะจับกุม บุคคลที่ต้องการแล้ว เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๑.๑๐ ไม่ส่งหมายจับไปยัง ทว. เพื่อประกาศ สืบจับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๒. เกี่ยวกับการพนัน

๑๒.๑ จัดให้มีการเล่นการพนันหรือมีส่วนได้เสียกับการพนันผิดกฎหมาย

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

 

๑๒.๒ เข้าไปมั่วสุมเล่นการพนันผิดกฎหมาย

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๒.๓ เข้าไปในสนามม้าโดยจะได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม และเล่นการพนันบุคเมคกิ้ง (โต๊ดเถื่อน)

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๓. เกี่ยวกับงานสวัสดิการ

- ได้รับสิทธิอาศัยในอาคารบ้านพักของทางราชการ แล้วเอาไปให้ผู้อื่นเช่า

ไล่ออก 

๑๔. เกี่ยวกับงานการเงิน

๑๔.๑ เจ้าหน้าที่ยักยอกเงินของทางราชการเป็นเหตุให้เงินขาดบัญชี

ไล่ออก- เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันกับ ข้อมูลของ ตร. ซึ่งรายงาน สํานักงานปลัดสํานักนายก รัฐมนตรี ตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการ เร่งรัดติดตามเกี่ยวกับกรณี เงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุจริต พ.ศ.๒๕๔๖

๑๔.๒ เป็นเจ้าหน้าที่กระทําการโดยทุจริตปลอมหรือใช้เอกสารปลอม หรือจัด ทํารายงานอันเป็นเท็จเพื่อเบิกเงิน หรือเบียดบังเอาเงินของทางราชการ ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น ทําให้เงินขาดบัญชี

ไล่ออก 

๑๔.๓ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลเงินของทางราชการเบียดบังเอา เงินเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต และเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นเหตุให้เงินขาดบัญชี

ไล่ออก 

๑๔.๔ เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้ เงินขาดบัญชี เป็นเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับ รับเงิน และออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับแล้ว โดยมีเจตนาไม่นําส่งเจ้าหน้าที่การเงิน เป็นเหตุให้เงินขาดบัญชี

ไล่ออก 

๑๔.๖ ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการเกี่ยว กับการเงินที่ไม่ใช่เงินของทางราชการ เบียดบังไปเป็นประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบถือว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี 

๑๕. เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้

๑๕.๑ ให้ความคุ้มครองผู้ทําไม่ผิดกฎหมาย

 

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

- มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๔ มี.ค. ๒๕๔๖ (หนังสือกรมเลขาธิการ ค.ร.ม. ด่วนมากที่ น.ว.๖๙/ ๒๔๔๖ ลง ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๖)ลงโทษสถานหนัก

๑๕.๒ ขนไม้ผิดกฎหมาย หรือมีไม้ผิดกฎหมายไว้ในความครอบครอง

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี- มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๕มี.ค. ๒๕๔๖

๑๕.๓ ทําไม้หรือค้าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือ การกระทําดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี- มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๕มี.ค. ๒๕๔๖

๑๕.๔ บุกรุกแผ้วถางป่าโดยผิดกฎหมายเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ หรือให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือ การกระทําดังกล่าวไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม

 

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

- มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๓๑ (หนังสือสํานักเลขาธิการ ค.ร.ม.ที่ น.ร.๐๒๐๓/ว.๑๙๔ ลง ๑๕ ธ.ค. ๒๕๓๑)

๑๖. เกี่ยวกับการเสพหรือติดยาเสพติด

๑๖.๑ กรณีได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕

๑๖.๑.๑ ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่ พอใจของคณะอนุกรรม การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด

 

- มติ ค.ร.ม. เมื่อ ๕ ส.ค. ๒๕๔๖ เรื่องการให้โอกาสผู้เสพ/ผู้ติด ยาเสพติดซึ่งพ้นจากสภาพการใช้ ยาเสพติดเข้าทํางานหรือรับการ ศึกษาต่อในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีมติให้ดําเนินการตาม หนังสือศูนย์อํานวยการต่อสู้ เพื่อ เอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ สํานักงาน ป.ป.ส. ด่วนที่สุด ที่ ศตส./๑๕๑๒ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่องการให้ โอกาสผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดซึ่ง | พ้นจากสภาพการใช้ยาเสพติด เข้าทํางานหรือรับการศึกษาต่อ ในหน่วยงานภาครัฐ (ด่วนที่สุดที่ นร ๐๕๐๔/ว ๒๐๘ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖)

- กรณี ผู้บังคับบัญชาสุ่มตรวจร่างกายและผลการ ตรวจพบสารเสพติด

ปลดออก

 

- กรณีผู้บังคับบัญชา สืบสวนพบหรือตรวจพบ ว่ากระทําความผิดฐาน เสพยาเสพติด เสพและมีไว้ ในครอบครอง เสพและมีไว้ ในครอบครองเพื่อจําหน่าย หรือเสพ และจําหน่าย ยาเสพติด หรือถูกจับกุมตามข้อกล่าวหาดังกล่าว

ไล่ออก

 

๑๖.๑.๒ ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่ พอใจของคณะอนุกรรมการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติด

- กรณีผู้บังคับบัญชาสุ่มตรวจร่างกายและผลการตรวจพบสารเสพติด

 

 

ไล่ออก

 

- กรณี ผู้บังคับบัญชาสืบสวนพบหรือตรวจ พบว่ากระทําความผิด ฐานเสพยาเสพติด เสพ และมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่ายหรือเสพ และจําหน่ายยาเสพติด หรือถูกจับกุมตามข้อกล่าวหาดังกล่าว 

ไล่ออก

 

๑๖.๒ กรณีไม่ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕

- เสพหรือติดยาเสพติด เสพ และมีไว้ในครอบครอง เสพ และมีไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่ายหรือเสพ และจําหน่ายยาเสพติด

 

ไล่ออก

 

๑๖.๓ มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๒

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของ รัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดพ.ศ.๒๕๔๒ ข้อ ๑๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด

(๑) สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยรู้หรือควรจะได้รู้ว่า ผู้นั้นเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดเฉพาะในการ กระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้น

(๒) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่หรือวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์หรือให้ ความสะดวกแก่ผู้ที่ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยรู้หรือควรจะได้รู้ว่า ผู้นั้นเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดเฉพาะในการ กระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้น

(๓) รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ที่ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยรู้หรือควรจะได้รู้ว่า ผู้นั้นเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด

(๔) คบค้าสมาคมเป็นอาจิณกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด โดยรู้หรือ ควรจะได้รู้ว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

(๕) เป็นผู้ประกันผู้ต้องหาหรือจําเลย โดยใช้หลักทรัพย์ หรือสถานะการเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐในชั้น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือ ศาลในความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดในข้อหา ผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในความครอบครอง เพื่อจําหน่ายซึ่งยาเสพติด หรือในข้อหามีไว้ใน ครอบครองซึ่งวัตถุ ออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือ ๒ เกินปริมาณที่ รัฐมนตรีประกาศ กําหนดอันเป็นความผิด ตามกฎหมายว่าด้วย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาทให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของ รัฐนั้นเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นการกระทําของ เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นตาม (๓) หรือ (๔) อันเป็นการกระทําตาม หน้าที่ในกฎหมายหรือตามธรรม จรรยาหรือเป็นการกระทําของ เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นตาม (๕)

ทั้งนี้กับบุคคลซึ่งเป็นสามีหรือภรรยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ไม่ว่าชั้นใดๆ ของเจ้าหน้าที่ ของรัฐนั้น

๑๗. ประพฤติผิดวินัยอื่นๆ

๑๗.๑ เขียนบัตรสนเท่ห์กล่าวหาผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาเขียนบัตรสนเท่ห์ กล่าวโทษผู้ใต้บังคับบัญชา สอบสวนแล้วไม่เป็นความจริง

ปลดออก

 

๑๗.๒ รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา และเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ปลดออก

 

๑๗.๓ ยอมให้บุคคลต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายเข้าพักอาศัยในบ้านพัก

ปลดออก

 

๑๗.๔ ช่วยซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่บุคคลต่างด้าวที่เข้า มาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย

ปลดออกหรือ ไล่ออกตามความ ร้ายแรงแห่งกรณี

 

 

ข้อมูล : สง.กตร.

รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง