รีเซต

นั่งรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ใช้เวลากี่นาที?

นั่งรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ใช้เวลากี่นาที?
TrueID
14 ธันวาคม 2563 ( 11:32 )
47.4K

หลายครั้งที่ต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าทั้ง MRT และBTS บ้างครั้งมีหลายภาระกิจที่เวลากระชั้นชิด แต่ก็ไม่ทราบว่าขบวนรถแต่ละสายใช้เวลากี่นาทีในการเดินทาง วันนี้ trueID news ได้หาข้อมูลมาให้เพื่อช่วยให้ท่านได้สามารถจัดสรรเวลาที่มีค่าได้ลงตัวที่สุด

 

รถไฟฟ้าทั้งหมด

เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมดในกรุงเทพฯ ตามแผนการพัฒนา

 

 

หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (สายสีเขียว):เชื่อมกรุงเทพฯ ตอนเหนือ สู่ใจกลางเมือง แบบไร้รอยต่อ

ระยะทางรวม: 25 ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 30 นาที

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานี BTS หมอชิต ที่ทอดยาวบนถนนพหลโยธิน ผ่านสถานที่สำคัญอย่างแยกรัชโยธิน ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศรีปทุม กรมทหารราบที่ 11 กองทัพอากาศ จนไปสุดที่สถานี BTS คูคต แม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับสนามบินดอนเมืองโดยตรง แต่ก็ช่วยให้การเดินทางง่ายขึ้น จุดเด่นสำคัญคือ เป็นเส้นทางที่ยิงตรงสู่ BTS สายสุขุมวิท หนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่สำคัญที่สุดเชื่อมย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ เข้าด้วยกัน โดยล่าสุดบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จะปรับรูปแบบการเดินรถไฟฟ้า เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายใหม่สายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต​ เพิ่มอีก 7 สถานี ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 59 สถานีสายหยุด สถานีสะพานใหม่ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

 

โดยบริษัทฯ จะจัดรูปแบบการเดินรถ และแบ่งระยะเวลาการให้บริการเป็น 2 ช่วงหลักดังนี้

 

1. ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า ตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 น. และช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น ตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.00 น. ในวันจันทร์-ศุกร์ การให้บริการระหว่างสถานีหมอชิต (N8) ถึงสถานีสำโรง (E15) จะมีความถี่ระหว่างขบวน 2 นาที 40 วินาที


ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถสังเกตจากป้ายด้านหน้า และด้านข้างขบวนรถ เสียงประกาศบนชั้นชานชาลา ในขบวนรถ และจอประกาศบนสถานี

 

2. ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. และเวลา 20.00 น. จนถึงเวลาปิดให้บริการ ในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ รถทุกขบวนจะวิ่งตั้งแต่สถานีเคหะฯ ถึงสถานีคูคต โดยจะมีความถี่ 6 นาที 30 วินาที

 

ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีลมนั้น รูปแบบและความถี่ในการเดินรถยังคงเหมือนเดิม โดยช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น จะมีความถี่ของการเดินรถ 3 นาที 45 วินาที

 

 

 

 

 

หมอชิต-สำโรง (สายสีเขียว): BTS สายสุขุมวิท

ระยะทางรวม: 22.5 ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 41นาที

รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2543 ผ่านย่านธุรกิจ และทำเลยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพฯ หลายจุด ผ่าน 22 สถานี แต่ในปัจจุบัน เส้นทางนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึง คนที่อยู่นอกเมือง ต้องรีบขับรถมาแต่เช้า เพื่อแย่งที่จอดรถ BTS หมอชิต ที่ไม่ค่อยเพียงพอต่อความต้องการ แถมคอนโดบนเส้นทางนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระดับ High – Luxury ที่มีราคาสูง ความโชคดีคือ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายกำลังจะเสร็จ ซึ่งจะช่วยให้การเข้าถึง และการเดินทางบนเส้นทางนี้สะดวกขึ้นมาก

 

แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (สายสีเขียว): BTS สุขุมวิทสายเก่า และย่านสุขุมวิท

ระยะทางรวม: 25 ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 20 นาที

 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงนี้ จะเป็นสายใหม่ที่จะเปิดให้บริการก่อนใครในช่วงปลายปี 2561 – ต้นปี 2562 เส้นทางนี้ไม่ได้มีดีแค่การเชื่อมต่อแบบตรงเหมือนกันสายสีเขียวเหนือ แต่ยังเป็นศูนย์รวมทำเลยุทธศาสตร์ เชื่อมต่อย่านที่สำคัญของสมุทรปราการ สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์การค้า และนิคมอุตสาหกรรมสู่ใจกลางเมือง เมื่อมาถึงสถานีแบริ่งแล้ว คุณสามารถนั่งต่ออีก 20 นาทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนรถ เพื่อไปถึงสถานีอโศก หนึ่งในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นสถานีที่อยู่กึ่งกลางของสาย และเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ MRT อีกด้วย

 

บางหว้า-สนามกีฬาแห่งชาติ (สายสีเขียวอ่อน): BTS สายสีลม 

ระยะทางรวม: 14.67ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 23 นาที

 

เป็นอีกหนึ่งเส้นทางยอดนิยมของชาวฝั่งธนบุรี แม้ในปัจจุบัน เส้นทางนี้จะมีระยะที่ไม่ยาวนัก แต่ตามแผนจะมีส่วนต่อขยายยาวออกไปจนถึงย่านตลิ่งชัน และมี Interchange กับสายสีแดงที่จะยิงยาวถึงจังหวัดสมุทรสาครที่สถานี BTS สะพานตากสิน แม้โซนนอกของเส้นทางนี้จะไม่มีสถานที่สำคัญมากเท่าสายสีเขียว แต่ก็เป็นโซนพักอาศัยที่เงียบสงบ เดินทางง่าย แถมยังผ่านย่านธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ อย่างสถานี BTS ช่องนนทรี และศาลาแดง จนมาสุดที่สถานีสยาม

 

 

 

เตาปูน-หัวลำโพง(สายสีน้ำเงิน):MRT สายแรก

ระยะทางรวม: 21.2ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 37นาที

นี่คือหนึ่งในไม่กี่เส้นทางของระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดที่เดินรถใต้พื้นดิน หลายคนมองว่าลักษณะการเดินรถของเส้นทางนี้ จะดูเหมือนอ้อม นั่นเป็นเพราะสายนี้ จะเดินรถเป็นรูปครึ่งวงกลม เพื่อเชื่อมทุกจุดของกรุงเทพฯ เป็นวงกว้าง ผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง มักจะมาต่อรถที่นี่เพื่อเข้าสู่ย่านธุรกิจ หรือเปลี่ยนรถไป BTS สายสุขุมวิท

 

คลองบางไผ่-เตาปูน (สายสีม่วง): MRT เชื่อมต่อเขตนนทบุรี

ระยะทางรวม: 23.6 ก.ม.

เวลาเฉลี่ยจากต้น-ปลายทาง: 40 นาที

ด้วยความที่เป็นเส้นทางนอกเมืองเส้นแรกๆ ที่มีความยาวมาก ทำให้แต่ละช่วงของเส้นทางนี้ มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเส้นทางโซนนอกจะมีความหนาแน่นต่ำ สามารถขึ้นรถ และหาที่นั่งได้สบายๆ แม้ในช่วงเช้า ก่อนจะมาหนาแน่นในสถานีแรกๆ และหนาแน่นที่สุดในสถานีเตาปูน สำหรับคนที่พักอาศัยอยู่โซนต้นทางของสายนี้ เช่น สถานีกระทรวงสาธารณสุข ก็สามารถเดินทางสู่ย่านใจกลางอย่างสถานีพระราม 9 และอโศก ได้ภายในเวลา 30-40 นาที

 

แม้จะยังไม่มีใครรับประกันว่า การเดินทางโดยรถไฟฟ้าในปัจจุบัน จะสบาย และรวดเร็วกว่าการใช้รถยนต์ที่สามารถพาคุณถึงที่หมายได้ทุกที่ โดยไม่จำกัดเส้นทาง สิ่งหนึ่งที่การเดินทางโดยรถไฟฟ้าสามารถให้ได้คือ ความแน่นอนที่มากกว่า เพราะไม่ว่าการจราจรจะหนาแน่นแค่ไหน รถไฟฟ้าก็ยังวิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิมเสมอ ง่ายต่อการคำนวนเวลา btsและเมื่อวันที่รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายในเขตชานเมืองเปิดให้บริการมากขึ้น เราจะสามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าได้ง่าย แม้ว่าจะอาศัยอยู่ชานเมือง ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาที่รถไฟฟ้านานๆ อีกต่อไป

 

ข้อมูล : MRT , BTS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง