รู้จัก โฟมเม็ดโฟมพอลีสไตรีน (Polystyrene: PS) เหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว
จากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ย่านกิ่งแก้ว ซึ่งเป็นโรงงานผลิตโฟมเม็ดพลาสติกที่เราใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยโฟมที่ผลิตเหล่านี้ มีชื่อว่า “พอลิสไตรีน” ( Polystyrene, PS ) และมีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนประกอบ รวมถึงมีสารตั้งต้นติดไฟ ที่เป็นอันตรายต่อการสูดดมเมื่อเกิดการเผาไหม้อีกด้วย
วันนี้ TrueID จึงจะพามารู้จัก โฟม“พอลิสไตรีน” ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักของโรงงานหมิงตี้ ซึ่งในโฟมล้วนมีแต่สารอันตราย เมื่อเจอความร้อนและละลายจึงเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก
“พอลิสไตรีน” เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจาก “สารสไตรีนโมโนเมอร์” สามารถหลอมเป็นของเหลวได้เมื่อถูกความร้อน และจะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิเย็นลง ลักษณะไม่มีสี แต่สามารถใส่สีได้ และมีความยืดหยุ่นจำกัด
พอลิสไตรีนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นชนิดที่เรียกว่า expanded polystyrene (EPS) เป็นชนิดที่ได้จากการผสมพอลิสไตรีนร้อยละ 90-95 กับสารทำให้ขยายตัว เช่น เพนเทน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5-10 โดยพลาสติกที่แข็งถูกทำให้เป็นโฟมด้วยการใช้ความร้อน
พอลิสไตรีนอีกชนิดหนึ่งคือ Extruded polystyrene (XPS) มีชื่อทางการค้าที่แพร่หลายคือ Styrofoam เป็นชนิดที่มีการเติมอากาศไว้ในช่องว่างตามเนื้อโฟมทำให้มีค่าการนำความร้อนต่ำ ใช้ในงานก่อสร้าง และใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในอาคาร และยังมีชนิดที่เป็นแผ่นเรียกว่า Polystyrene Paper Foam (PSP) ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่องหรือถาดใส่อาหาร
สารพิษที่ออกมาระหว่างการผลิตพอลิสไตรีน
1.เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม
2.สารสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นของเหลวใสและข้นเหนียว ติดไฟและกลายเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่ายหากถูกเผาไหม้จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)จำนวนมากมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
3.บิวทาไดอีน มาจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้ทำยางสังเคราะห์ อีกส่วนหนึ่งเอาไปทำพลาสติก เช่นพวกอะคริลิก บิวทาไดอีนเป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นน้ำมันจางๆ เวลารั่วจะระเหยง่าย และสลายได้เร็วในอากาศและแสงแดด
4.คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เป็นสารในกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย ชะล้างคราบมัน เป็นน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นสารตัวกลางในการผลิตสารเคมีอื่นๆ
5.โครเมียมออกไซด์ เป็นสารชุบโลหะ เคลือบโลหะ รวมถึงพลาสติกเพื่อให้เกิดความมันเงา ป้องกันการกัดกร่อน
วัสดุที่ทำจากพอลิสไตรีน
1.แก้วโฟมที่ใช้แล้วทิ้ง จานหรือถาดพลาสติกใส่อาหาร
2.โฟมที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์กันกระแทกสำหรับใส่ขวดไวน์ ผลไม้ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3.วัสดุช่วยพยุงให้ลอยน้ำ
4.แผ่นฉนวนกันความร้อนในอาคาร
5.อื่น ๆ เช่น ไม้บรรทัด ไม้แขวนเสื้อ ม้วนวิดีโอ ตลับเทป เป็นต้น
ระวังการใช้พลาสติกจากพอลิสไตรีน
1.การใช้ภาชนะโฟมพลาสติก EPS ใส่อาหารที่ร้อน ความร้อนอาจทำให้โฟมละลายปนเปื้อนสารเคมีได้
2.การเผาโฟมพลาสติกพอลิสไตรีน ทำให้เกิดก๊าซพิษสไตรีนออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของของมะเร็ง
3.ไม่ควรรีไซเคิลโฟมพอลิสไตรีน เนื่องจากพลาสติกที่รีไซเคิลได้จะมีคุณภาพต่ำ
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
- ด่วน! รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เลื่อนนัดฉีดวัคซีน เหตุอยู่ใกล้ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว
- ด่วน! อพยพชาวบ้านรัศมี 5 กม. โรงงานซอยกิ่งแก้ว หวั่นเกิดระเบิดซ้ำ
- เปิดภาพความเสียหาย จากแรงระเบิด โรงงานกิ่งแก้ว เร่งอพยพคนออกนอกพื้นที่ด่วน
- ไฟไหม้โรงงานย่านกิ่งแก้ว ระเบิดเพลิงแดงฉาน เจ็บไม่ต่ำกว่า 30 ราย
- รวม 5 ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณต้องรู้จัก!
- ระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว รุนแรงกว่าราชประสงค์ร้อยเท่า! อ.อ๊อดเตือน แหล่งน้ำในรัศมี 5 กิโลเมตร อาจเป็นกรดอ่อน
- เปิดข้อมูล เฮลิคอปเตอร์ KA-32 กับภาระกิจการดับเพลิงทางอากาศ
- เพื่อผู้ประสบภัยกิ่งแก้ว รวมช่องทางบริจาค-ช่วยเหลือ จากเหตุ 'โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้'
- วิธี! 'เอาตัวรอด' เบื้องต้นด้วยตัวเองขณะเกิด 'ไฟไหม้'
- รวมความช่วยเหลือ 'ทาสแมว-ทาสหมา-สัตว์เลี้ยง' จากเหตุ 'โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้'
- วิธี! ช่วยเหลือเมื่อเจอคนได้รับ 'สารเคมี'
- วิธีใช้ Longdo Map หาจุดที่เราอยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยง 'โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้' หรือไม่?
- เช็กที่นี่! รวมมาตรการช่วยเหลือประชาชน จากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว
- วิธีตรวจสอบบ้านทรุด เสี่ยงถล่ม! จากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว
- เดือดร้อนจากเหตุ 'โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้' ยกหูโทร 'เบอร์สายด่วน' นี้!
- เตือน 4 กลุ่มโรคต้องระวัง ควันพิษจากสารเคมีโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้
- อย่าลืมเช็ก! ก่อน 'อพยพ' ออกจากบ้าน เหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้
- ทำไมต้องดับไฟด้วยโฟมแทนการใช้ฝน #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว