รีเซต

รวม 5 ไฟไหม้ล่าสุด เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณต้องรู้จัก!

รวม 5 ไฟไหม้ล่าสุด เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณต้องรู้จัก!
TeaC
5 สิงหาคม 2565 ( 11:02 )
11.6K
1
รวม 5 ไฟไหม้ล่าสุด เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณต้องรู้จัก!

ข่าววันนี้ ไฟไหม้ล่าสุด ไฟไหม้ผับชลบุรี ที่คร่าชีวิตแล้ว 13 ราย โดยไฟไหม้ ระเบิด เพลิงไหม้ ถือเป็น อัคคีภัย ภัยที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด มากถึง  48 ครั้ง

 

รวม 5 ไฟไหม้ล่าสุด

ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณต้องรู้จัก!

 

จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานประจําปี พ.ศ. 2562 (ม.ค.-ธ.ค. 2562) และหลายเหตุการณ์กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่คนไทยไม่มีวันลืมกับความสูญเสียต่าง ๆ ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุด โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ตั้งอยู่ในซอยกิ่งแก้ว ย่านบางพลี สมุทรปราการ เป็นโรงงานเม็ดพลาสติก เกิดระเบิด เพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 

 

โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ หวั่นซ้ำรอยเหตุจากความประมาท

สำหรับเหตุการณ์ โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สังคมออนไลน์ต่างสนใจ ติดตามว่าเมื่อไหร่ทะเลเพลิงจะสงบลง หลังผ่านมากว่า 7 ชั่วโมงแล้วยังไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ และหลายฝ่ายต่างห่วงว่าจะเกิดระเบิดซ้ำจนกลายเป็นโศกนาฎกรรมที่สร้างความเสียหายและความสูญเสีย โดยเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วนี้ ย้อนให้นึกถึงเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย TrueID รวบรวมเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในอดีตของไทยที่คุณอาจไม่รู้จัก หรือรู้จักกัน เพื่อสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 

 

โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ เพลิงทะเลที่ยากจะลืม

เริ่มที่ เพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ จังหวัดนครปฐม เกิดขึ้นเมื่อแปี 2536 ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม โศกนาฏกรรมครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของคนไทย เพราะคร่าชีวิตผู้คนมากถึง 189 ชีวิตด้วยกัน ส่วนผู้บาดเจ็บมีมากร่วม 500 คน สำหรับโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ หรือ บริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จำกัด เป็นโรงงานตุ๊กตาขนาดใหญ่ ที่ถูกพูดถึงอย่างมากหากมีการจัดอันดับเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งที่เลวร้ายที่สุดของประเทศไทย เพราะเรื่องนี้ถูกฝังในความรู้สึกที่ไม่สามารถลบลืมเลือนได้

 

เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนคนงานกว่า 1,400 คนเลิกงานได้ไม่นาน จู่ ๆ เกิดไฟไหม้ตรงขั้นล่างของอาคาร  1 เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง โดยที่พนักงานเพิ่งรู้ตัวว่า ทะเลเพลิงกำลังคืบคลานชีวิต เนื่องจากโรงงานดังกล่าวมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนวนทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว เกินจะควบคุมไว้ได้ทัน ภาพพนักงานต่างวิ่งหนีตายอลม่าน เหยียบกันตายบ้าง กระโดดหนีออกจากอาคารตายบ้าง เพื่อหนีตายออกจากอาคารให้ได้ แต่นอกจากทะเลเพลิงที่โหมกระหน่ำว่าร้ายแล้วยังถูกซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเมื่อตัวอาคารเกิดพังครืนถล่มลงมาในพริบตา ทับและฝังคนงานไว้ใต้ซากปรักหักพังที่กำลังถูกไฟไหม้โหมอย่างรุนแรง โดยสาเหตุการเกิดไฟไหม้ครั้งนี้ นั่นคือ ความประมาทของพนักงานที่สูบบุหรี่ในโรงงาน แล้วทิ้งก้นบุหรี่โดยไม่ได้ดับ 

 

เพลิงไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน รีสอร์ท พัทยา

ถัดมาอีกหนึ่งโศกนาฎกรรม เพลิงไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน รีสอร์ท พัทยา ซึ่งวันเกิดเหตุเป็นวันที่ 11 กรกฎาคม 2536 เป็นข่าวที่โด่งดังที่คนไทยลืมไม่ลง เพราะเหตุไฟไหม้เกิดขึ้นในขณะที่มีผู้เข้าพักและร่วมงานสัมมนากว่า 800 คน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 90 ราย บาดเจ็บอีก 74 คน โดยจุดเริ่มต้นของเพลิงไหม้เป็นบริเวณค๊อฟฟี่ช็อป สาเหตุเกิดจากความประมาทที่พนักงานถอดสายแก๊ส แต่ปิดวาล์วที่ถังแก๊สไม่สนิท ทำให้เกิดการรั่วซึมออกมา ส่งผลให้แก๊สพุ่งออกมาจากถังปริมาณมากและมีการอุ่นอาหารบนเตาอยู่ข้าง ๆ  จึงเกิดระเบิดขึ้นอย่ารุนแรง ลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังชั้น 2-3 และเพียง 2 ชั่วโมง ไฟไหม้ลามถึงชั้น 16 ของโรงแรม เคราะห์ซ้ำเติมอีกเมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของโรงแรมไม่ทำงาน ส่งผลให้นักท่องเที่ยว ผู้คนที่พักผ่อนนอนกันอย่างสบายไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีต่างวิ่งหนีตายทางบันไดหนีไฟ แต่ไม่รอด เพราะประตูทางหนีไฟล็อคและเก้าอี้ที่กองอยู่ พร้อมสิ่งของมากมายที่ทางโรงแรมนำไปจัดเก็บไว้กีดขวางทางหนี ทำให้คนที่วิ่งก่อนหน้าและอีกหลายสิบคนต้องจบชีวิตลงตรงนั้น และโศกนาฎกรรมที่ปรากฎคือ พบศพของผู้เสียชีวิตจำนวนมากบริเวณประตูหนีไฟที่ถูกปิดตาย

 

เหตุการณ์ครั้งนี้ยังดุเดือด เมื่อเพลิงไหม้โหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง ผู้เคราะห์ร้ายบางคนพยายามเปิดหน้าต่างของโรงแรมโบกมือขอความช่วยเหลือ หลายคนทนความร้อนรุนแรงไม่ไหวตัดสินใจกระโดดออกจากตึกและร่วงหล่นลงมาเสียชีวิตด้านล่างอย่างน่าสลด และหลายคนที่ติดตามข่าวรู้สึกเศร้าเมื่อมีการรายงานว่า พบว่าอุปกรณ์ท่อน้ำดับเพลิงของโรงแรมไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ปั๊มน้ำดับเพลิงของโรงแรมเสียจนระบบดับเพลิงทั้งหมดใช้การไม่ได้ อีกทั้งไม่มีสปริงเกอร์ดับไฟอัตโนมัติอีกด้วย เป็นโศกนาฎกรรมที่คงสะท้อนให้ผู้ประกอบการที่พัก โรงแรมได้ฉุกคิดถึงมาตรการความปลอดภัยที่ต้องรัดกุมได้บ้าง

 

เพลิงไหม้ที่ซานติก้าผับ กรุงเทพฯ

ชื่อสถานที่ที่เสมือนเป็นฝันร้ายของครอบครัวผู้เสียชีวิตในคืนแห่งการส่งท้ายปี เพื่อเริ่มเข้าสู่ปีแห่งการเริ่มต้นการใช้ชีวิตใหม่ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นทะเลเพลิงที่คร่าชีวิตผู้คนให้ดับสิ้น ไม่มีโอกาสได้เอ่ย "สวัสดีปีใหม่" กับคนรัก หรือคนในครอบครัว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จากสถานที่เคาท์ดาวน์กลายเป็นสุสานคร่านักท่องราตรียามค่ำคืนไปมากถึง 66 คน 

 

31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีผู้คนจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างทยอยเดินทางมาที่ผับเพื่อฉลองปีใหม่ ในค่ำคืนนั้น มีการจุดไฟเย็น ดื่มเหล้า กินอาหารและแสดงดนตรี จำนวนคนร่วมงานคาดการณ์ว่ามากถึง 1,000 คน ซึ่งเกินกว่าขีดจำกัดของทางผับที่รับได้ประมาณ 500 คนเท่านั้น นักท่องเที่ยวทั้งหมดเข้ามาจากทางประตูหน้าที่มีความกว้างสองเมตรครึ่ง จำนวนคนในผับแน่นขนัดทั้งสองชั้นและบริเวณบันได เมื่อล่วงเลยข้ามเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 นักท่องเที่ยวได้จุดพลุไฟเย็นในขณะที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อมีการแจกพลุกระดาษให้กับนักท่องเที่ยวพวกเขาจุดพลุกระดาษจนไปติดไฟสปอร์ตไลท์

 

ขณะที่ ต้นเหตุการเกิดไฟไหม้ครั้งนี้​ เกิดจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ของเวทีและเกิดจากระบบไฟฟ้า ไม่ใช่พลุกระดาษที่ตำรวจกล่าวหาว่านักร้องนำวงเบิร์นเป็นคนจุด ภายหลังจากนั้นไฟฟ้าในอาคารได้ดับลง กว่าจะทราบว่าเป็นเพลิงไหม้ เพลิงก็ได้ทำการลุกไหม้จากบริเวณชั้นสอง ทำให้โครงสร้างถล่มลงมา นักท่องเที่ยวพยายามหนีออกมาทางประตูด้านหน้า ซึ่งมีขนาดเพียงสองเมตรครึ่ง ด้วยจำนวนคนที่มีจำนวนมากต่างล้มและถูกเหยียบตายทับกันในเพลิงทะเลแห่งนี้  และที่น่าสลดหดหู่คือ นักท่องเที่ยวไม่ทราบทางออกอื่น 

 

บ้านกฤษดานคร 31

ปิดท้าย เหตุไฟไหม้ที่สะเทือนใจไม่แพ้กัน เพลิงไหม้อาคารถล่ม หมู่บ้านกฤษดานคร 31 โดยเหตุไฟไหม้ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษยน 2564 ในสถานการณ์ที่โควิดระบาด เมื่อเวลา 05.51 น. ศูนย์วิทยุพระราม 199 รับแจ้งจากสายด่วน 199 เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน หมู่บ้านหรู กฤษดานคร 31 เขตทวีวัฒนา เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยทวีวัฒนากำลังไปที่เกิดเหตุ โดยตัวบ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้าน 3 ชั้น มีได้รับผู้บาดเจ็บ และติดค้างภายในบ้าน เจ้าหน้าที่ได้ทำการช่วยเหลือผู้อาศัยในบ้านออกมาได้ส่วนหนึ่ง และขณะที่เจ้าหน้าที่อาสากู้ภัยช่วยเหลือกลับต้องพลีชีพเมื่อตัวอาคารเกิดถล่มลงมาพอดีอย่างไม่มีใครคาดฝัน สร้างความสูญเสียต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และยังมีการข้อสังเกตว่า สาเหตุอะไรทำไมอาคารจึงทรุดตัวถล่มลงมาอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เป็นอาคารสร้างใหม่

 

อย่างไรก็ตาม การเกิดอัคคีภัยนั้น ต้องยอมรับว่า เกิดจากความประมาทที่ทุกคนเป็นต้นเหตุได้ สิ่งที่สำคัญคือ ทุกคนต้องระมัดระวังไม่เพิ่มโศกนาฎกรรมให้เกิดขึ้นซ้ำซากอีก

 

ข้อมูลและภาพ : มติชน, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, คมชัดลึก

 

ข่าวเกี่ยวข้อง : 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง