รีเซต

ไฟไหม้ล่าสุด เปิดวิธีวิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ที่ต้องรู้ไว้!

ไฟไหม้ล่าสุด เปิดวิธีวิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ที่ต้องรู้ไว้!
TeaC
5 สิงหาคม 2565 ( 11:14 )
1K
ไฟไหม้ล่าสุด เปิดวิธีวิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ที่ต้องรู้ไว้!

ข่าววันนี้ ไฟไหม้ล่าสุด มีให้เห็นข่าวล่อยครั้ง! ซึ่งไฟไหม้ นับเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ อีกหนึ่งเหตุการณ์ครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2562 เกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากความกล้าหายในการช่วยดับไฟเพื่อช่วยเหลือคนอื่นถึง 2 ราย

ไฟไหม้ล่าสุด

เปิดวิธี! 'เอาตัวรอด' จากไฟไหม้ที่ต้องรู้ไว้

 

และอีกหนึ่งสถานการณ์ในช่วงเกิดโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 เกิดเพลิงใหม่ครั้งใหญ่ เมื่อวัน 18 ก.ย.2563 เวลา 21.30 น. ศูนย์วิทยุอุรุพงษ์ รายงานเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ใกล้โรงเรียนจารุจินดา ซอยเชิดวุฒากาศ 7 ถนนเชิดวุฒกาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง มีการระดมรถดับเพลิงหลายคันกว่าจะควบคุมเพลิงได้ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนถูกไฟไหม้วอด และล่าสุด โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ 

 

เมื่อค้นหาข้อมูล สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานประจําปี พ.ศ. 2562 (ม.ค.-ธ.ค. 2562) พบว่า มีจํานวน
โรงงานที่เกิดอุบัติเหตุ จํานวน 64 ครั้ง แบ่งเป็นประเภทอุบัติเหตุ ดังนี้

  1. อัคคีภัย จํานวน 48 ครั้ง
  2. สารเคมีรั่วไหล จํานวน 5 ครั้ง
  3. การระเบิด จํานวน 3 ครั้ง
  4. อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร จํานวน 3 ครั้ง
  5. อื่น ๆ จํานวน 5 ครั้ง

 

โดยสามารถแบ่งกลุ่มประเภทโรงงานที่เกิดเหตุเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ สิ่งทอ เส้นใยจากพืช ฟอกย้อมผ้า
  2. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปไม้
  3. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ พลาสติก โฟม กระดาษ ยาง
  4. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี สารเคมี สารอันตราย
  5. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสารไวไฟ เช่น สี ทินเนอร์ก๊าซ วัตถุระเบิด ต้ม กลั่นสุรา สกัดน้ํามันจากพืชหรือสัตว์
  6. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ กากหรือขยะอุตสาหกรรม รีไซเคิลของเสีย
  7. กลุ่มโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ อาหาร แป้ง มันสําปะหลัง อาหารสัตว์
  8. อื่น ๆ ทั่วไป เช่น งานซ่อม งานโลหะ หล่อหลอม โกดังเก็บสินค้า 

 

เมื่อดูจากข้อมูลแล้วพบว่า การเกิดอัคคีภัย เช่น ไฟไหม้โรงงาน ไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน


และ TrueID ขอนำประสบการณ์และวิธีเอาตัวรอดเบื้องต้นด้วยตัวเองจะเกิดไฟไหม้เมื่ออยู่ในสถานที่ต่าง ๆ โดยขอยกตัวอย่าง การเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ในห้างสรรพสินค้าที่รุ่นพี่ของผู้เขียนเคยเจอเองกับตัว


เมื่อครั้งเกิดเหตุระเบิดคาร์บอมไฟไหม้ลีการ์เด้นท์ เมื่อปี 2555 เป็นเหตุการณ์เพลิงใหม่ครั้งใหญ่ของไทยและโด่งดังอย่างมาก เพื่อเป็นอีกหนึ่งคู่มือที่อาจจะพอมีประโยชน์ได้บ้าง ในการนำไปปรับใช้เมื่อต้องตกอยู่ในเพลิงไหม้ทั้งที่บ้าน ที่พัก โรงแรม หรือโรงงานต่าง ๆ เพราะอัคคีภัยเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกที่ ทุกเวลา 

 

ไฟไหม้ล่าสุด ต้องเจอเหตุการณ์อะไรบ้าง?

  • เสียงระเบิดของต้นเพลิงที่ดังจนทำให้ทุกคนกรี๊ด
  • ความมืดของห้างเพราะไฟทุกดวงจะดับ
  • ควัน และความร้อนที่เริ่มลอยขึ้นมา
  • ความตื่นกลัวของผู้คนที่พยายามวิ่งไปจุดที่มีแสงสว่างโดยไม่รู้ว่ามีทางออกหรือไม่
  • คนที่ล้ม และถูกเหยียบเพราะวิ่งไม่ทัน
  • ความสับสนของทิศทางในห้าง โรงแรม โรงงาน หรือที่พักเพราะความมืด


ไฟไหม้แล้ว! สิ่งที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

  • ตั้งสติโทรบอกรายละเอียดกับครอบครัว
  • มองสิ่งรอบตัวว่ามีอะไรบ้าง
  • พยายามมองหาสัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อหนีออกจากสถานการณ์
  • ทำตามสิ่งที่เจ้าหน้าที่ ที่เข้ามาช่วยชีวิต ช่วยอพยพ หรือเคลื่อนย้ายแนะนำ


อุปกรณ์ช่วยชีวิตเท่าที่หาได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ผ้าปิดปาก ปิดจมูก รุ่นพี่ของผู้เขียนเล่าว่าถ้าไม่มีผ้าปิดจมูก ถ้าใส่ถุงเท้า ต้องถอดถุงเท้าออกมาใช้ ส่วนเพื่อนรุ่นพี่เป็นผู้หญิงต้องถอดเสื้อในออกมาใช้ปิดปากปิดจมูก เนื่องจากสถานการณ์แบบนี้ ไม่มีคำว่าอายหรือขยะแขยงกันแล้ว

 

ไฟไหม้ล่าสุด ทำไมเป็นผู้ชายไม่ถอดเสื้อ?

คำถามต่อมาหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมเป็นผู้ชายไม่ถอดเสื้อ? เพราะในสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ อย่างไฟไหม้ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานกิ่งแก้วที่เกิดเหตุในตอนนี้ ลองนึกภาพที่เราเห็นเพลิงไหม้ก่อตัวสูงขึ้น ขยายวงกว้าง แสดงให้เห็นว่ามันจะร้อนระอุมากอย่างแน่นอน ภาพไฟไหม้ขนาดนั้น ถ้าอยู่ในพื้นที่ต้องร้อนหลายเท่าตัวแน่ ๆ ซึ่งถ้าถอดเสื้อจะทำให้บาดเจ็บได้ และสิ่งสำคัญรองเท้าก็ห้ามถอด เพราะพื้นจะร้อนมาก

 

น้ำ หาจากที่ไหนไม่มีเลย

คำตอบคือ คุ้ยถังขยะ ขวดน้ำที่มีน้ำเหลือ แก้วน้ำที่น้ำแข็งละลาย หยิบมาใช้เทลงบนเสื้อใน และถุงเท้าปิดปาก ปิดจมูก เพื่อช่วยป้องกันไปก่อนในเบื้องต้น

 

มืดแล้วเดินกันยังไง?

รุ่นพี่เล่าต่อว่า ต้องใช้เข็มขัดของทุกคนนำมาต่อกันให้เป็นเส้นน้ำทางไปที่ทางออกฉุกเฉิน


สิ่งที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้

  • อย่าเข้าลิฟท์เพราะอาจค้างและควันเข้าไปได้ทำให้เสียชีวิตได้เร็ว
  • อย่าลงบันไดเลื่อน เพราะไฟและควันจะลอยขึ้นมาจากทางนั้นมากที่สุด
  • อย่าวิ่ง, ห้ามกรี๊ด (มันอาจยากแต่ไม่ควรทำจริง ๆ) เพราะการวิ่งในที่มืด มีควันอันตรายมาก และถ้ามัวแต่กรี๊ด หรือร้องไห้ เราจะไม่ได้ยินเสียงของคนที่กำลังพยายามช่วยชีวิตว่าให้ทำอะไร หรือแนะนำวิธีหาทางหนีหรือทางรอด
  • อย่ามัวห่วงถ่ายภาพขึ้นโซเชียลฯ (รุ่นพี่เจอกับตัว ซึ่งมีจริง ๆ)
  • อย่ามัวห่วงทรัพย์สิน เอาชีวิตรอดและไม่ตายหาใหม่ได้เสมอ



อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานที่ไฟไหม้ ควันจะเยอะมาก ไฟดับมืดมากจนมองไม่เห็น อย่าคิดว่าการใช้ไฟจากสมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์ช่วยได้ เพราะไม่มีประโยชน์


ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหน ทั้งห้างสรรพสินค้า ชุมชน ตลาดสดต่าง ๆ คอนโด หรือแม้กระทั่งโรงงาน อย่างโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ต้องจำทางหนีไฟ ประตูหนีไฟ ถังดับเพลิงว่าอยู่จุดไหน ตรงไหน และสิ่งสำคัญมาก ๆ ทุกคนต่างตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย การมี "สติ" จะช่วยให้เห็น "ทางรอด" ได้

 

ขอให้ทุกคนปลอดภัย!

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง