รีเซต

วิธีตรวจสอบบ้านทรุด เสี่ยงถล่ม! จากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว

วิธีตรวจสอบบ้านทรุด เสี่ยงถล่ม! จากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว
Ingonn
6 กรกฎาคม 2564 ( 11:15 )
383

จากเหตุระเบิดโรงงานกิ่งแก้วเมื่อวาน ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 70 หลังคาเรือน ซึ่งบ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ในรัศมี 5-10 กิโลเมตรได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดค่อนข้างรุนแรง ทั้งกระจกแตก ประตู หน้าต่างชำรุดเสียหาย ซึ่งการสั่นสะเทือนในครั้งนี้ส่งผลต่อโครงสร้างของบ้านที่อาจเกิดรอยร้าว เสี่ยงต่อการทรุดตัวของบ้านได้

 

 

วันนี้ TrueID จะมาแนะนำวิธีเช็กรอยร้าว ป้องกันบ้านทรุดจากแรงระเบิดของโรงงานกิ่งแก้ว เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนั้นได้สำรวจความเสียหายเพิ่มเติมหลังเหตุการณ์สงบลง

 

 

 

วิธีสังเกตบ้านทรุด

 

1.ตรวจสอบรอยร้าวในบ้าน

 

รอยร้าวของผนัง ถ้ามีลักษณะเป็นเส้นทแยงมุม อาจสันนิษฐานได้ว่ามีการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากด้านใดด้านหนึ่ง หากรอยร้าวเฉียงบนผนัง 45 องศา แบบเป็นเส้นเดียว เป็นสัญญาณเตือนว่าบ้านมีความเสี่ยงทรุดตัว ถ้าแตกเป็นลายน้ำปรากฏทั่วไปอาจเป็นแค่การหดตัวของปูนฉาบธรรมดา

 

วิธีตรวจสอบ ว่ารอยแตกร้าวนั้นเกิดจากการทรุดตัวของฐานราก ให้ใช้เทปติดกระดาษ หรือที่เรียกว่า สก๊อตเทป ติดในแนวตั้งฉากกับรอยร้าวนั้นหลายๆอัน ถ้ารอยแตกร้าวเพิ่มขึ้นจะดึงเทปขาด

 

 

รอยร้าวที่คานบริเวณใต้ท้องคานและหลังคาน โดยเป็นรอยร้าวแนวตั้งตั้งแต่เพดานลงมาจนถึงผนัง เกิดจากการทรุดตัวของเสาแต่ละต้นไม่เท่ากันทำโครงสร้างเกิดการรั้ง ผนังเปราะบาง การทรุดตัวของฐานราก ควรรีบให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและแก้ไข

 


รอยร้าวผนังแยกส่วนต่อเติม ส่วนต่อเติมจะแยกโครงสร้างกับตัวอาคาร แต่การใช้เสาเข็มสั้น ทำให้มีการแตกร้าวระหว่างรอยต่ออาคารหลักและส่วนต่อเติม หากรอยร้าวมีลักษณะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อการใช้งานอาคารตามมาได้

 


รอยร้าวที่หัวเสา รอยร้าวที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งในบ้าน คือ รอยร้าวลักษณะเฉียงๆ ที่หัวเสา ตรงส่วนที่คานไปติดกับเสาทั้งสองด้าน อาจจะเป็นรอยเฉียงๆที่ปลายคานหรือที่หัวเสา แสดงว่าโครงสร้างของอาคาร (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ในแต่ละส่วนกำลังแยกออกจากกัน อาคารที่ถล่มลงมา มักเกิดอาการเช่นนี้ให้เห็นก่อนเสมอเมื่อคานโครงสร้างตัวนั้น (ตัวที่มีรอยออกจากหัวเสา) ไม่สามารถจะรับน้ำหนักได้ เกิดแรงเฉือนขึ้น และคานอาจจะหลุดออกจากหัวเสา

 


2.ประตูและหน้าต่างเปิด-ปิดไม่สะดวก

 

 

3.มุมเสาภายในบริเวณมีรอยแตกร้าว

 

 

4.มีเศษปูนหลุดล่อนจากลบริเวณบนคาน เสาบ้าน รวมถึงพื้นบ้าน

 

 

5.ระบบท่อน้ำภายในบ้านเกิดการชำรุด

 

 

6.กระเบื้องพื้นหรือผนังแตกร้าวโก่งตัวผิดรูป

 

 

7.พบเจอโพรงที่พื้นดิน หากเจอโพรงที่ใต้ดิน หรือโพรงใต้บ้านก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าพื้นดินรอบบ้านกำลังทรุดตัว แต่จะกระทบกับตัวบ้านมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงของเสาเข็ม ส่วนใหญ่จะพบปัญหานี้กับบ้านพื้นปูนที่ไม่มีเสาเข็ม

 

 

 

สาเหตุที่ทำให้บ้านทรุด

 

1.เสาเข็มชำรุด

 

กรณีที่เสาเข็มเกิดการชำรุด อาทิ แตกหัก หรือขาดออกจากกัน ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัวลง โดยมักเกิดการแตกหักในระหว่างที่ติตั้งลงดิน ซึ่งมีส่วนทำให้ส่งผ่านน้ำหนักลงไปยังดินที่แข็งตัวบริเวนด้านล่างไม่ได้ นอกจากนี้การทีเสาเข็มชำรุดยังสามารถเกิดได้จากการที่ตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่มีค่า SPT หลายครั้ง โดยถือเป็นชั้นดินที่หนามาก

 


2.เสาเข็มมีขนาดสั้น

 

หากใช้เสาเข็มที่สั้นเกินไปมีส่วนทำให้ดินรอบๆ เกิดการยุบตัว จึงเป็นเหตุให้เสาเข็มทรุดตัวลงในภายหลัง

 


3.ปลายเสาเข็มอยู่บดินที่ชนิดต่างกัน

 

หากเสาเข็มอยู่มนดินที่ต่างชนิด อาทิ เสาเข็มของตัวบ้านอยู่ในดินเหนียว หรือชันทรายแน่น แต่ปลายเสาเข็มอยู่ในดินอ่อนร ก็มีส่วนทำให้ฐานของตัวบ้านเกิดการทรุดตัวเช่นกัน

 


4.เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้

 

หากไม่ตราจสภาพพื้นดินก่อนลงเสาเข็ม ก็มีส่วนทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ และเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดในภายหลัง

 


5.เสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน

 

ในกรณีที่ศูนย์กลางเสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน หรือจากฐานเยื้องศูนย์ มักเกิดขึ้นกับบ้านที่ใช้เสาบ้านไม่ตรงกับเสาเข็ม จึงทำให้ฐานเกิดการพลิกตัว และทำให้บ้านทรุดเอียในภายหลัง

 


6.ดินเกิดการเคลื่อนตัว

 

ในกรณีที่ดินเคลื่อนตัวก็ส่งผลให้เสาเข็มเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม และเป็นเหตุให้บ้านเกิดการทรุดตัวได้เช่นกัน

 

 

 

วิธีป้องกันบ้านทรุด

 

1.ดีดบ้านเพื่อปรับฐานราก

 

ในกรณีที่พื้นดินทรุดตัวหนักหรือฐานรากเสียหายจนต้องเกินซ่อมแซม วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุด ได้แบบไม่ต้องทุบทิ้ง คือ การดีดบ้าน โดยปกติแล้วบ้านจะถูกตัดออกจากฐานรากเดิม แล้วยกขึ้นจนลอยตัวเพื่อรื้อฐานรากใหม่ ก่อนจะประกบตัวบ้านให้ติดกับฐานรากใหม่ ซึ่งวิธีนี้ต้องดำเนินการโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะปลอดภัย

 


2.ทำแผงป้องกันดินไหล

 

ถ้าโพรงใต้บ้านมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีดินไหลลงไป แก้ไขได้โดยการอุดปิดด้วยแผ่นพื้นคอนกรีต แผ่นพื้นสำเร็จ แผ่นโฟม หรือแผ่น Metal Sheet ผิวเรียบ โดยวิธีการปรับแก้เริ่มขุดดินโดยรอบโพรงให้ลึกกว่าดินใต้ตัวบ้าน จากนั้นนำแผ่นวัสดุมาเสียบในดินให้แน่น (ลึกประมาณ 50-80 เซนติเมตร)  อาจก่ออิฐปิดทับอีกชั้น เพื่อกันดินจากด้านนอกไหลเข้าไปในโพรง

 


เติมดินและทราย

 

วิธีนี้ใช้ได้ดีกับโพรงใหญ่ๆ ที่เพิ่งเริ่มทรุดตัว โดยมักจะปิดโพรงด้วยการเติมดินหรือทราย โดยขุดรอบๆ รอยแยกให้เห็นแนวโพรง แล้วอัดดินหรือฉีดน้ำไล่ทรายเข้าไป เสร็จแล้วถมดินรอบบ้านให้สูงขึ้นจนเลยโพรงใต้บ้าน แต่การอัดดินต้องระวังเรื่องการกระทบระบบท่อต่างๆ ใต้อาคารและการเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างบ้านด้วยนะ

 


การซ่อมรอยต่อระหว่างผนัง

 

ในกรณีที่ไม่พบโพรงใต้ดิน แต่ตัวบ้านเริ่มมีรอยแยกระหว่างผนังบ้าน วิธีส่วนใหญ่ที่สามารถซ่อมแซมได้ชั่วคราวคือการนำเอาปูนทรายไปอุดบริเวณรอยร้าว ซึ่งถ้าเป็นการแก้ไขในระยะยาว แนะนำให้ตัดรอยต่อของผนังทั้งแนวให้แยกขาดออกจากกันทั้งด้านในและด้านนอก เพื่อป้องกันการดึงโครงสร้างหลักให้ทรุดตัว จากนั้นให้อุดรอยต่อด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่างซิลิโคน หรือโพลียูริเทน (PU) แล้วเก็บความเรียบร้อยต่อด้วยไม้หรือไม้เทียมบริเวณรอยต่อผนัง โดยในขั้นตอนนี้ให้ยึดไม้ไว้กับผนังเพียงฝั่งเดียว เพื่อให้รอยต่อสามารถขยับตัวได้ เป็นการป้องกันการแตกร้าวในอนาคต

 

 

 

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการตรวจสอบรอยร้าวภายในบ้าน เพราะรอยร้าวเป็นสัญญาณเตือนของบ้านทรุดตัว เช่น รอยร้าวมุมเฉียง 45 องศา , รอยร้าวที่มีขนาดกว้างตั้งแต่ 0.5 มม. , รอยราวเล็กๆ ที่ค่อยเริ่มขยายตัวขึ้น หรือแม้กระทั่งบ้านมีเสียงสั่น แนะนำให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการซ่อมแซมโดยด่วน ก่อนที่บ้านจะมีปัญหาทรุดตัว

 

 


ข้อมูลจาก homeguru.homepro , บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด , SIAM ENGINEER GROUP

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง