รีเซต

ทดสอบ "ความเครียด" จากวิกฤตโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ใจพัง

ทดสอบ "ความเครียด" จากวิกฤตโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ใจพัง
Ingonn
4 สิงหาคม 2564 ( 14:51 )
777
ทดสอบ "ความเครียด" จากวิกฤตโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ใจพัง

 

กรมสุขภาพจิตระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ พบกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเครียด ไม่สบายใจ กังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 64.7% มีอาการนอนไม่หลับ 23.5% หูแว่ว หวาดระแวง 5.9% อื่นๆ 5.9% ในขณะที่บางรายไม่สามารถผ่านความสูญเสียนี้ไปได้โดยปกติ

 

 


วันนี้ TrueID จึงจัดชวนทุกคนมาทดสอบจิตใจตัวเองด้วยการจับสัญญาณเตือนพร้อมกับการทำแบบทดสอบประเมินความเครียดจากช่วงโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น พร้อมความสูญเสียที่ไม่มีวันกลับของครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อโควิด

 

 


สาเหตุความเครียดจากมาตรการล็อกดาวน์


1.ความกังวลว่าจะติดเชื้อ เพราะตระหนักได้ว่าโอกาสติดใกล้ตัวมากขึ้น แม้ต้องเรียนรู้การอยู่กับโรคโควิด แต่ขณะเดียวกันก็มีความกลัว โดยเฉพาะการระบาดระลอกนี้มีการระบาดวงกว้างมากขึ้น

 


2.การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตใหม่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย สำหรับตัวเราเองและคนที่เรารัก

 

 


คนที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากมาตรการล็อกดาวน์โควิด


1.เด็กที่สูญเสียผู้ปกครอง แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้


- กรณีเด็กเล็ก เด็กอนุบาล ซึ่งยังแยกไม่ได้ระหว่างการมีชีวิตอยู่กับการเสียชีวิต


จะมีการพูดหรือปฏิบัติต่อคนที่จากไปแล้วเสมือนคนๆ นั้นยังไม่เสียชีวิต เช่น เรียกชื่อ คุยด้วย ชวนกินอาหาร อาจจะทำให้ญาติผู้ดูแลเกิดความสะเทือนใจ แต่ภาวะอารมณ์ของผู้ใหญ่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ โดยขอให้ใช้คำอธิบายแบบง่ายๆ ให้เข้าใจว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วไม่สามารถทำอะไรบางอย่างที่เคยทำได้ แต่เราสามารถเก็บสิ่งของบางอย่างแทนความรู้สึกได้ เช่น การนอนกอดหมอน ซึ่งผู้ใหญ่สามารถทำร่วมกับเด็กได้

 

 

- กรณีเด็กโต หรือวัยรุ่น


จะเข้าใจแล้วว่าการเสียชีวิตหมายความว่าอย่างไร แต่ผู้ใหญ่ต้องให้โอกาสในการพูดคุย เพราะเด็กก็กังวลใจต่อการสูญเสียคนที่รัก โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มโตจะเริ่มคิดถึงอนาคตตัวเอง และเริ่มคิดถึงผลกระทบจากการเสียคนที่จะดูแลเขา หากมีผู้ใหญ่คนที่เขาเชื่อมั่น มีคนที่ยังพูดคุยให้เขาเข้าใจความรู้สึกของความสูญเสีย เขาจะผ่านสถานการณ์เหล่านี้ได้ดีขึ้น

 

 

 

2.ผู้ใหญ่ที่สูญเสียคนในครอบครัว


สำหรับผู้ใหญ่ เราพบว่าส่วนใหญ่คือสมาชิกในครอบครัวป่วยพร้อมกัน แต่บางคนเสียชีวิต บางคนยังอยู่ระหว่างการรักษา ทำให้เกิดสถานการณ์ที่อยากจะทำอะไรบางอย่างแต่ทำไม่ได้ คือ ไม่ได้ร่ำลาคนที่สูญเสีย และความรู้สึกว่าไม่ได้ไปส่งเขาในวันที่จากไป เนื่องจากการจัดการเรื่องศพ โดยให้ยึดมั่นว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วเขายังคงเป็นที่รักของเรา และเรายังสามารถทำกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเขาได้

 

 


สัญญาณความเครียด


อาการทางร่างกาย


- ปวดหัว ปวดตามร่างกาย


- ใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น


- ความดันโลหิตสูง


- หายใจลำบาก


- ปัสสาวะบ่อย


- เหงื่อออกมาก


- ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย


- ชอบดึงผม กัดเล็บ

 

 


อาการทางจิตใจ


- ย้ำคิดย้ำทำ


- มองโลกในแง่ร้าย


- ไม่มั่นใจตัวเอง


- ไม่มีสมาธิ

 

 

 

อาการทางอารมณ์


- ตื่นเต้น


- รู้สึกซึมเศร้า


- หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย


- เบื่อหน่ายง่าย


- อ่อนล้า ไม่อยากทำอะไร


- วิตกกังวล


- เมื่อเครียดแล้วอยากดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่

 

 

หากมีอาการเหล่านี้สัก 2- 3 อย่าง คุณอาจกำลังโดนโรคเครียดเล่นงานอยู่ และหากปล่อยให้ตัวเองมีความเครียดเรื้อรัง อาการต่างๆ ข้างต้นอาจรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะผลกระทบทางร่างกาย เช่น โรคกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะไมเกรน ความดันโลหิตสูง หากปล่อยให้กระทบร่างกายไปนานๆ อาจเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ในระยะยาว

 

 

 

ทดสอบความเครียดในตัวคุณ


1.แบบประเมินความเครียด (ST5) กรมสุขภาพจิต


https://www.dmh.go.th/covid19/test/qtest5/

 

 

2.แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


https://med.mahidol.ac.th/th/depression_risk

 

 

3.แบบทดสอบระดับความเครียด อูก้า


https://app.ooca.co/user/stress-test

 

 

4.แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) กรมสุขภาพจิต


https://www.dmh.go.th/covid19/test/8q/

 

 

หากไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือไม่ เราอยากให้ลองทำแบบประเมินสภาพจิตใจ เพื่อวัดระดับความเครียด และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ได้เข้าใจตัวเอง พร้อมรับมือกับความเครียดที่ต้องเผชิญได้มากขึ้น 

 

 

 

การป้องกันโรคเครียด


โรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์อันตรายอันเป็นสาเหตุของโรคเครียดนั้น ควบคุมไม่ได้ 


1.ปรึกษาจิตแพทย์ เป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดอาการรุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้

 


2.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

 


3.ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย รวมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส

 


4.พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว

 


5.หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง

 


6.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน

 


7.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ

 


8.ใช้ยารักษาโรคเครียด เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคเครียด

 

 

 


โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  , กรมสุขภาพจิต , โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , อู้ก้า , พบแพทย์

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง