Fake News เยอะ? เสพข่าว "โควิด19" ยังไงไม่ให้เครียดหรือเป็นโรคจิตเวชไปกว่านี้
จะไม่ให้เครียดได้ยังไง เมื่อยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทวีคูณแตะหลักหมื่นติดกันหลายวัน และยังมีข่าวผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรักษาอีกจำนวนมาก ไหนจะสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาดหนักกระจายไปทั่วประเทศ แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลต่างๆ เริ่มวิกฤต เพราะคนไข้โควิดล้น และอีกหลายๆ ข่าวที่ทำให้คนอ่านเกิดอาการเครียดโดยไม่รู้ตัว และแค่นี้ไม่พอ ในสื่อโซเชียลยังมีข่าวเฟคนิวส์เกิดขึ้นอีก ทำให้ไม่รู้ว่าต้องเลือกเสพอย่างไรให้ปลอดภัยกับสุขภาพจิตของตัวเอง
วันนี้ TrueID ขอแนะนำแนวทางการเสพข่าวช่วงโควิดระบาดอย่างมีสติ และรับสารอย่างถูกต้อง เพื่อลดภาวะความตึงเครียด และสุขภาพจิตจะได้ดีขึ้น ไม่หดหู่
เสพข่าวมากจนอาจเกิดโรคทางจิตเวช
ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มองว่า การเสพข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลโควิด-19 เช่น Time line ของผู้ติดเชื้อ , สถานที่เสี่ยงต่างๆ ที่มีการระบาด อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทางด้านร่างกายและจิตใจได้โดยที่เราไม่รู้ตัว และการตามอ่านคอมเมนต์จากคนทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล โกรธ หรือกลัว ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตที่แย่ ซึ่งถ้าหากเราอยู่ในสภาวะของอาการที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล ใบแบบที่กล่าวมานี้ไปนานๆ หลายสัปดาห์ อาจจะทำให้เกิดโรคทางจิตเวชได้ ดังนี้
1. โรควิตกกังวลทั่วไป คือ การมีความกังวลในเรื่องชีวิตประจำวันทั่วๆไปนานและมากเกินไป เช่น เรื่องงาน ครอบครัว หรือเรื่องเล็กๆน้อยๆ ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
2. โรคแพนิก คือ การที่อยู่ดีๆเกิดอาการกลัวและวิตกกังวลขึ้นมาเป็นพักๆโดยไม่มีสาเหตุหรือมีอาการ
3. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (โรคโฟเบีย) คือ การกลัวมากเกินไปเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง สถานการณ์บางอย่างหรือกิจกรรมบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวเชื้อโรค กลัวสกปรก กลัวที่แคบ
4. โรคย้ำคิดย้ำทำ คือ ความคิดวิตกกังวลที่มีการคิดซ้ำๆและมีการตอบสนองต่อความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การล็อคประตูบ้าน
การรับข้อมูลข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรรับอย่างพอดี แบ่งเวลาการติดตามข่าวสาร ไม่ควรติดตามต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะจะทำให้จิตใจไม่สงบ รู้สึกเครียด และวิตกกังวลมากขึ้น
รับข่าวสารช่วงโควิดอย่างไร ไม่ให้ป่วยใจก่อน
1. ทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวันของตนเองให้เป็นปกติ หันเหความสนใจจากข่าวสารไปเรื่องอื่นบ้าง
2. ไม่ดูข่าวหรือรับข้อมูลข่าวสาร เรื่องการเจ็บป่วย หรือจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพียงเรื่องเดียว ควรมีความเข้าใจ และเปิดกว้างและรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างมีความหลากหลาย
3. ควรจะนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนจะทำให้ ร่างกายมีความสงบและได้พักผ่อน กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
4. สนใจทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเสพข้อมูลข่าวสาร เพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล เช่น การทำกิจกรรมกับคนในครอบครัว ทำความสะอาดบ้าน หรือ ทำงานอดิเรก
5. เข้าใจความรู้สึกตัวเอง ใช้เวลาถามตัวเองว่าเราวิตกกังวล กับสถานการณ์ดังกล่าว หรือเครียดกับข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด วิธีหนึ่งในการสะท้อนความรู้สึกตัวเองออกมา อาจเป็นการตั้งสติทบทวนความคิด เขียนบันทึกบอกเล่าความรู้สึก หรือคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกตัวเองกับคนใกล้ชิด
6. ติดต่อคนใกล้ชิด พูดคุย ดูแล และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือมีอาการแล้วต้องกักตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการกำลังใจ ไม่ข่มเหง หรือ บูลี่ (bully) ด้วยคำพูดถากถาง
7. เลือกติดตาม ‘เฉพาะ’ แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ระวังการสร้างกระแสปั่นป่วน หรือข่าวลวง (Fake News)
8. การปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคลากรการแพทย์ ในการดูแลป้องกันตนเอง เช่น การล้างมืออย่างถูกวิธี ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงเข้าไปในที่ชุมชน
วิธีสังเกตแบบไหนข่าวจริงหรือข่าวปลอม
1. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหนาและเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม
2. พิจารณาลิงก์อย่างถี่ถ้วน ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ดูคล้ายลิงก์จริง อาจเป็นสัญญาณเตือนของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงก์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้
3. ตรวจสอบแหล่งข่าว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องราวนั้นมาจากแหล่งข่าวที่คุณไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้นเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
4. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง
5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้
6. ตรวจสอบวันที่ ข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
7. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่ออาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
8. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง
9. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกหรือข่าวเสียดสีได้ยาก ตรวจสอบดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนและเสียดสีข่าวหรือไม่ และพิจารณาว่ารายละเอียด ตลอดจนน้ำเสียงในการเล่าเรื่องฟังดูเป็นไปเพื่อความสนุกสนานหรือไม่
10. บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
สำหรับการรับรู้ข่าวสารและการติดตามสถานการณ์ COVID-19 อย่างใกล้ชิดนั้นเป็นเรื่องที่ดี ที่เราจะปกป้องดูแลสุขภาพของตัวเราเองและคนที่เรารัก แต่หากรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากเกินไปจะทำให้เกิดความไม่สบายใจ ซึ่งข่าวบางข่าวก็อธิบายเหตุผลได้ไม่ครบ 100% เราจึงต้องมีสติ และเข้าใจในการรับรู้ข่าวสารที่จะไม่ทำให้ตนเองไม่สบายใจ หรือต้องเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอีก หากอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น มีอาการความวิตกกังวลที่รุนแรง ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ สามารถขอรับบริการปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป
ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร , สถาบันวิจับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , megawecare
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- รายงานสถานการณ์จากทั่วประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อ ล่าสุด
- "วัคซีนป้องกันโควิดกลายพันธุ์" ที่ไทยต้องมีต้านสายพันธุ์เดลต้า-อัลฟา ที่ระบาดหนัก!
- รู้จัก “วัคซีนบูสเตอร์โดส” การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 3
- รวมช่องทางประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีเตียงโทรเลย!
- พบแพทย์ออนไลน์ "ตรวจโควิด-19" ฟรี! ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ที่นี่เลย!
- รวมเบอร์สายด่วน"โควิด-19" รู้ไว้รับมือทัน!
- เปิดสถานที่ตรวจ "โควิด-19 ฟรี" เช็คเลย!
- รู้จัก “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ” สู่ “โควิดทองหล่อ” ที่วัคซีนป้องกันได้?
- วิธีปฏิบัติ หากติดโควิด ทำตามขั้นตอนนี้เลย
- “โควิด-19” ทำให้เครียดหรือเปล่า? รับมือให้ทันก่อนจะเครียดเพราะโควิด
- Work from home อีกครั้ง ลืมไปหรือยังว่าต้องทำยังไงให้ได้งาน ?
- ไทยเซฟไทย ใช้งานต่างจาก หมอชนะ และไทยชนะ หรือเปล่า?
- 7 ประกันโควิด-19 เบี้ยไม่เกิน 500/ปี เดือนเมษา 64
- ติดโควิด-19 แต่ยังไม่ได้ไปหาหมอ ต้องกักตัวอย่างไร?
- รู้จัก"หมอพร้อม" วัคซีนโควิดพร้อม คนไทยพร้อมหรือยัง?
- หมดปัญหา นอนรอคิวตรวจโควิด กับ “Rapid Antigen Test” ชุดตรวจโควิดเร็ว ผลลบก็ติดโควิดได้
- ร้านขายชุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test ซื้อยังไง? เช็กเลย!
- Rapid Antigen Tests ประเทศไหนใช้บ้าง? ขายบ้าง? ฟรีไหมนะ