รีเซต

“ล็อกดาวน์” อีกครั้ง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

“ล็อกดาวน์” อีกครั้ง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
Ingonn
9 กรกฎาคม 2564 ( 09:53 )
814

 

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทวีคูณยอดติดเชื้อเฉียดหลักหมื่น ทำให้หลายฝ่ายทั้งแพทย์ สาธารณสุข ประชาชน ต่างรอประกาศมาตรการล็อกดาวน์จากภาครัฐ เพื่อสกัดโควิด-19 ระบาด ซึ่งวันนี้ศบค.ชุดใหญ่ พิจารณาเป็นมติออกมา "ล็อกดาวน์" 14 วัน จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่สีแดง

 

 

นายกฯ ได้เน้นย้ำว่าจะมีมาตรการเยียวยา จะต้องดูแลทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม เพียงพอ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.เป็นต้นไป และตั้งเป้าลดจำนวนผู้ป่วยให้ได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ 

 

 

โดยยกระดับมาตรการจำกัดการเดินทาง 14 วัน พร้อมกำหนดเป้าหมายลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์ และขอให้ทำงานจากที่บ้าน หรือเวิร์คฟอร์มโฮม (WFH) 100% ยกเว้นงานบริการที่จำเป็น และงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค และขอให้ประชาชน งดการเดินทางโดยไม่จำเป็น ยกเว้น เดินทางไปซื้ออาหาร ไปโรงพยาบาล และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

 

 

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ประกาศไม่รับเงินเดือน 3 เดือน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการแก้สถานการณ์ โควิด-19

 

 

วันนี้ TrueID จึงทำคู่มือ "ล็อกดาวน์" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ซื้ออะไรตุนเสบียง กักตัวอย่างไรกับครอบครัวไม่ให้เพิ่มการติดเชื้อโควิด-19 และปลอดภัย ผ่านพ้นไปได้ใน 14 วัน ต่อจากนี้

 

 


ตุนเสบียงอะไรบ้างที่ขาดไม่ได้ช่วง "ล็อกดาวน์"


1.หาซื้อสินค้า อุปโภค บริโภค ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารกระป๋อง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นขอสำคัญ ถ้าต้องกักตัวอยู่ในคอนโด บ้านพักได้เป็นเวลานาน สิ่งที่เราควรมีติดบ้านไว้ คือ "น้ำ" อาจจะเป็นน้ำดื่มแพ็คจากซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ซื้อพอประมาณมาเก็บไว้จะดีที่สุด

 


2.หน้ากากอนามัย อุปกรณ์จำเป็นที่ควรซื้อติดบ้านไว้ เพราะเมื่อต้องออกนอกบ้าน ต้องสวมตลอดเวลาเพื่อป้องกันโควิด-19

 


3.เจล หรือ สเปรย์ แอลกอฮอล์ล้างมือเข้มข้นอย่างน้อย 70% เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นในช่วงนี้ เพื่อล้างมือเมื่อต้องสัมผัสสิ่งของ หรือไปพื้นที่เสี่ยงมา

 


4.ยารักษาโรค โดยเฉพาะ คนที่มีโรคประจำตัว ต้องมียาติดตัวตลอด รวมถึงยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวด, ยาแก้ไข้, ยาแก้แพ้ และยาแก้ไอ รวมถึงปรอทวัดไข้ เพื่อใช้กักตัว

 


5.อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด อาทิ จำพวก ถ่านไฟฉาย, ไฟฉาย,ถุงขยะ อุปกรณ์ทำความสะอาด และแบตเตอรี่สำรอง

 


6.ประกันโควิด เป็นอีกหนึ่งความคุ้มครองสุขภาพที่ควรซื้อไว้ ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ะบาดของโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีหลายแผนประกันให้เลือก ทั้งการคุ้มครองแบบเหมาจ่าย ครั้งเดียวจบ หรือจ่ายเงินก้อนเมื่อตรวจพบว่าเป็นโควิด-19 ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ 

 


7.ของหวาน เช่น ช็อคโกแลต ไว้สำหรับแก้เครียด

 

 


เมื่อ "ล็อกดาวน์" อยู่บ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง


1.แยกห้องนอนและห้องนํ้าออกจากผู้อื่น (ห้องพัก โปร่ง มีอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง)

 


2.แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้า) แยกทําความสะอาด

 


3.มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70%  หน้ากากอนามัย สบู่

 


4.มีอุปกรณ์ทําความสะอาด เช่น ถุงขยะ โดยจัดถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดไว้นอกบ้าน สารฟอกขาว นํ้ายาทําความสะอาด

 

 


เมื่อต้องกักตัวร่วมกับครอบครัวต้องทำอย่างไรบ้าง


1.วัดอุณหภูมิทุกวัน ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส

 


2.ล้างมือด้วยน้ำและฟอกสบู่

 


3.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร

 


4.แยกห้องนอน แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำโทรศัพท์) รวมทั้งแยกทำความสะอาด

 


5.แยกรับประทานอาหาร ตักแบ่งอาหาร มารับประทานต่างหาก ล้างภาชนะด้วย น้ำยาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด

 


6.แยกห้องน้ำ หากแยกไม่ได้ควรใช้ห้องส้วมเป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดทันที ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค กรณีใช้ห้องน้ำร่วมกัน ระมัดระวังจุดเสี่ยงสำคัญ เช่น บริเวณโถส้วม อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตูและล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ทุกครั้ง

 


7.แยกขยะที่ถูกสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชูโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ราดด้วยนำยาฟอกขาว มัดปากถุงให้แน่น

 


8.หากจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากาก- อนามัย ที่ใช้แล้วให้ทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด มิดชิด และทำความสะอาดมือทันที

 


9.งดกิจกรรมนอกบ้าน หยุดงาน หยุดเรียน งดไปในที่ชุมชน งดใช้ขนส่งสาธารณะ

 


10.คนในครอบครัวสามารถไปทำงานเรียนหนังสือได้ตามปกติแต่ทั้งนี้อาจต้องให้ข้อมูลกับ สถานที่ทำงาน สถานศึกษา ตามเงื่อนไข ที่สถานที่เหล่านั้นกำหนด

 

 

 

สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ต้องการจะเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อเข้ารับการรักษา ขอให้ประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือโรงพยาบาลปลายทางเพื่อความปลอดภัยของท่านและลดการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้อื่น

 

 

 

 

 

 

 


ข้อมูลจาก คู่มือดูแลตัวเอง ฉบับประชาชน จาก สสส. , PPTV

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง