รีเซต

“เบาหวาน-ความดัน-โรคหัวใจ” กลุ่มโรค NCDs ที่ร้ายแรงกว่าโควิด-19

“เบาหวาน-ความดัน-โรคหัวใจ” กลุ่มโรค NCDs ที่ร้ายแรงกว่าโควิด-19
Ingonn
10 พฤษภาคม 2564 ( 15:43 )
220
“เบาหวาน-ความดัน-โรคหัวใจ” กลุ่มโรค NCDs ที่ร้ายแรงกว่าโควิด-19

เชื่อหรือไม่! โควิด-19 ที่ว่าเป็นศัตรูตัวร้ายต่อร่างกายเราในตอนนี้ อาจไม่ได้ร้ายกาจที่สุดต่อสุขภาพ แต่หากเป็นศัตรูเงียบที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานอย่าง กลุ่มโรค NCDs เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ที่บางโรคก็เหมือนจะหายได้ บางโรคก็เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตเสียอีก

 

 

วันนี้ True ID จะมาทำความรู้จักกลุ่มโรค NCDs ที่เป็นภัยเงียบต่อร่างกาย และหากร่วมมือกับโรคโควิด-19 เมื่อไหร่ อาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

 

 


รู้จักกลุ่มโรค NCDs ตัวร้าย


กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆสะสมอาการ และทวีความรุนแรง 
เมื่อมีอาการของโรคแล้วจะเกิดการเรื้อรังของโรคตามมาด้วย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ซึ่งผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มนี้ หากติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าปกติ

 

 

 

โรคร้ายแรงในกลุ่มมีอะไรบ้าง

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) หรือ NCDs หากติดโควิด-19 แล้วเสี่ยงมีอาการรุนแรง ได้แก่


1.โรคเบาหวาน อ่านเพิ่มเติม


2.โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ อ่านเพิ่มเติม


3.โรคหลอดเลือดสมอง อ่านเพิ่มเติม


4.โรคหัวใจ


5.โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อ่านเพิ่มเติม


6.โรคไตวายเรื้อรัง อ่านเพิ่มเติม


7.โรคอ้วน อ่านเพิ่มเติม


8.โรคมะเร็งต่างๆ 

 

 

 

ร้ายแรงกว่าโควิด-19


จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

 

กลุ่มโรคNCDs ร้ายแรงกว่าโควิด-19 เพราะว่ามีจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มโรค NCDs จำนวนมาก และเป็นโรคที่เรื้อรังนาน การดูแลรักษาพยาบาลจำเป็นต้องใช้ทั้งทรัพยากรบุคคล ยา เครื่องมือแพทย์เป็นจำนวนมากส่งผลให้ปอดทำงานได้น้อยลง ตับทำงานได้น้อยลง เป็นต้อกระจก สิ่งเหล่านี้จะถูกทำลายจากเชื้อไวรัสไปบ้างแล้วบางส่วน 

 

ในกรณีที่ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงในผู้ที่มีโรคประจำ จะไม่เพียงทำลายปอด แต่อาจเสียชีวิตเพราะอาการไตวาย เลือดไม่ไปเลี้ยงแขนขา เพราะความรุนแรงของไวรัส ไปกระทบกับอวัยวะอื่นจึงสรุปได้ว่า หากเป็นโรคในกลุ่ม NCDs เมื่อเจอเชื้อไวรัสโควิด-19 จะยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

 

 

 

พฤติกรรมเสี่ยงก่อโรค NCDs


สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ
 

 


ลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น


1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้


2.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง


3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง


4.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


5.ไม่สูบบุหรี่


6.พักผ่อนให้เพียงพอ


7.ผ่อนคลายความเครียด อารมณ์ดี คิดบวก 


8.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ


9.รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร


10.หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

 


หากไม่อยากป่วยเป็นโรคที่น่ากลัวนี้ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น เพื่อป้องกันตนเอง และเตรียมร่างกายให้พร้อม หากมีอาการป่วยหรือติดเชื้อโควิด-19 อาการของโรคต่างๆจะได้ไม่รุนแรง

 

 

 

ข้อมูลจาก สสส. , ศูนย์จัดการความรู้ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง