รีเซต

รู้จัก 'โรคไต' กับความเสี่ยง หากติดเชื้อโควิด

รู้จัก 'โรคไต' กับความเสี่ยง หากติดเชื้อโควิด
TrueID
23 เมษายน 2564 ( 09:57 )
883

จากข่าวตลกอาวุโส 'น้าค่อม' ชวนชื่น มีการติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุดอาการค่อนข้างหนัก สาเหตุมาจากมีอาการปอดอักเสบ และไตวายที่เกิดขึ้น และโรคไตก็เป็น 1 ใน 8 โรคประจำตัว หากติดโควิด-19 เสี่ยงมีอาการรุนแรง วันนี้ trueID จะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคประจำของตลกอาวุโสดังกล่าว จนทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19

 

8 กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงกับการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19

 

 

 

โรคไต กับความเสี่ยงมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19

 

ผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในขั้นที่ 3 ถึงขั้นที่ 5 ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดและผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไตอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในการมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดอาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไตต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

และไตวาย เลือดไม่ไปเลี้ยงแขนขา ความรุนแรงของเชื้อไปกระทบกับอวัยวะอื่นด้วย  ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวจึงเสี่ยงมากขึ้นไปอีก 

 

 

การเดินทางไปรับการรักษาผู้ป่วยโรคไตก็มีความเสี่ยง

 

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโตโดยเฉพาะไตวายเรื้อรัง หรือไตระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

 

กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว เนื่องจากการเดินทางมาโรงพยาบาลบางคนต้องใช้รถขนส่งสาธารณะ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นเป็นทวีคูณ ยิ่งพบปะคนมากขึ้นเท่าไหร่โอกาสเสี่ยงก็มากขึ้น ถึงได้มีมาตรการออกมาต้องเว้นระยะห่าง หรือ social distancing ต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการไอ จาม ของตัวเองและบุคคลอื่น และในกลุ่มของผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การเดินขึ้นเดินลงก็ต้องมีการจับราวบันไดหรือสิ่งใกล้มือ ถ้ามีการล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สเปรย์ทั้งก่อนและหลังก่อนจะจับสิ่งใดก็ตาม ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้

 

 

ความเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้ หากมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

 

1.เพลิดเพลินกับการกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมสูงมากเกินไป มีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งหากกินต่อเนื่องเกินพอดีจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตได้ ซึ่งปริมาณโซเดียมที่แนะนำคือ เกลือน้อยกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน และน้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน

2.การเสพข่าวตลอดเวลา ก็ทำให้เครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้ ยิ่งอ่านก็ทำให้เกิดการวิตกกังวล

3.การดื่มน้ำน้อยเกินไป หลายคนทำงานเพลินต่อเนื่อง ประชุมผ่านหน้าจอ 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ได้พัก หรือทำกิจกรรมต่างๆ จนลืมดื่มน้ำ ทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำได้

4.ไม่ออกกำลังกาย การทำงานที่บ้านทำให้มีการเดินทางน้อยลง กิจกรรมน้อยลง และอยู่ในพื้นที่จำกัดอีกด้วย ควรหาท่าออกกำลังกายที่สามารถออกได้ในพื้นที่จำกัด

5.นอนดึกเกินไป ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

 

ดังนั้น ควรลด ละ เลิก พฤติกรรมดังกล่าว เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคไต และไวรัสโควิด-19 อีกด้วย

 

ที่มา : มติชน , Hfocus

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง