รีเซต

'เลิก ลด' 10 พฤติกรรมเคยชิน เสี่ยงโควิด-19

'เลิก ลด' 10 พฤติกรรมเคยชิน เสี่ยงโควิด-19
TrueID
20 เมษายน 2564 ( 10:47 )
495

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หากเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ต้วเราอาจเป็นพาหนะนำเชื้อไปติดคนใกล้ชิดของเราได้

 

วันนี้ trueID จะมาแนะนำวิธีการใช้ชีวิตในภาวะการณ์ปัจจุบันให้มีความเสี่ยงลดลง หากทำได้ตามนี้การระบาดก็จะลดน้อยลงไปด้วย

 

 

"เลิก ลด" 10 พฤติกรรมเคยชิน ดังต่อไปนี้

 

 

1.ขยี้ตา แคะจมูก

 

เหตุที่พฤติกรรมชอบจับใบหน้าได้กลายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยง และสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของตนเองและผู้อื่น ทำให้มนุษย์เริ่มมีพฤติกรรมนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย และทำซ้ำเรื่อยมาจนกลายเป็นนิสัยที่เลิกไม่ได้ แม้ต้องตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงติดโรคระบาดก็ตาม

 

นักพฤติกรรมบำบัดบางคนแนะนำให้ลองพยายามทำ "มือไม่ว่าง" ระหว่างช่วงที่จะเกิดอาการเผลอไผลได้ง่าย เช่นอาจใช้ท่านั่งหรือยืนกอดอก กำสิ่งของที่เหมาะมือเช่นลูกบอลเพื่อการผ่อนคลายเอาไว้ เพียงเท่านี้ก็จะลดการเอาเอามือไปสัมผัสจับต้องใบหน้าโดยไม่ตั้งใจได้แล้ว

 

 


2.ถึงบ้านแล้ว ทิ้งตัวลงนอน ไม่อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที

 

 

 

 

3.หยิบจับสารพัด แต่ไม่ล้างมือ

 

การที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่น หรือเครื่องใช้ในที่สาธารณะ เช่น ลูกบิดประตูราวโหนรถเมล์หรือราวบันได แล้วมาแคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่โพรงจมูกส่วนหน้า เมื่อหายใจเข้าไป ก็ทําให้เกิดติดเชื้อได้

 

 

 

4.ไม่พกหน้ากากผ้า เจลล้างมือ

 

หน้ากากผ้าไม่ป้องกันเชื้อโรค ระบุมาตรการหลักคือต้องล้างมือ พร้อมระบุหน้ากากผ้าป้องกันเชื้อได้ 54-59% แต่ก็สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ เพราะขนาดผ้าเล็กกว่าเชื้อไวรัส

ข้อแนะนำ ควรล้างมือก่อนการสัมผัสหน้ากากทุกครั้ง ตรวจสอบดูหน้ากากก่อนใช้งาน หากมีความชื้นหรือสิ่งสกปรก ไม่ควรนำมาใช้ - เมื่อสวมใส่หน้ากากควรปรับให้กระชับเข้ารูปหน้าโดยไม่มีช่องว่างระหว่างผิวหน้า จัดให้หน้ากากครอบคลุมทั้งส่วนของจมูก ปากและคาง

 


5.อยู่ใกล้กัน ลืมห่าง 1-2 เมตร

 

ปกติอนุภาคของไวรัสนั้นสามารถแพร่กระจายระหว่างผู้คน ผ่านละอองฝอย (Droplet) ขนาดเล็กของน้ำลายหรือน้ำมูก ซึ่งปกติแล้วจะแพร่กระจายได้ไกลประมาณ 90 เซนติเมตร ถึง 1.5 เมตร และหากผู้ติดเชื้อไวรัสเกิดจาม ไอ หรือทานอาหารใกล้กับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปกติภายในระยะห่างดังกล่าว ก็อาจทำให้อนุภาคไวรัสแพร่กระจายไปถึงพวกเขาเหล่านั้นได้ และหากอนุภาคไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสดวงตา จมูก หรือปาก ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ในที่สุด

 

 


6.กอด หอม จับมือ คนรัก/ครอบครัว

 

ผู้คนในแต่ละประเทศทั่วโลก ต่างมีวิธีในการแสดงออกเพื่อทักทายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการกอด หอมแก้ม จับมือ หรือกระทั่งชนจมูกกัน แต่ในยุคที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัสและโรค COVID-19 อยู่ในขณะนี้ การสัมผัสตัวของคนอื่นต่างเป็นวิธีที่มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเรา ไม่ต้องจับมือ ไม่ต้องหอมแก้ม ไม่ต้องกอดกัน ไม่ต้องสัมผัสตัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

 

 

7.ป่วยแล้ว ไม่กักตัวเองอยู่บ้าน

 

ผู้ติดโควิด-19 ต้องกักตัวเองที่บ้าน ให้หยุดออกไปนอกบ้านเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีความผิด  ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ใกล้ชิด

 

 

8.ใช้ของส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น

 

สิ่งที่ทุกคนจะช่วยลดการแพร่เชื้อได้คือต้องใส่ใจสุขอนามัยส่วนบุคคล ซึ่งนอกจากการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อย ๆ แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องไม่ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น จาน ชาม ช้อนส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ และสิ่งของที่เป็นของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อลดแพร่เชื้อโรคด้วยการสัมผัสด้วย 

 


9.กินอาหารที่ปรุง ทิ้งไว้นานแล้ว/อาหารดิบ

 

อาหารที่มีการปะปนเชื้อโควิด-19 ไปกับอาหารที่รับประทานจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อนั้นเป็นเรื่องจริง แต่อาจจะไม่รุนแรงหรือรวดเร็วกว่าการสัมผัสปกติ เพราะการที่เรารับประทานอาหารที่ปนเปื้อนก็เหมือนกับเรายื่นมือที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าปากโดยตรง มีความความเสี่ยงไม่ต่างกับการจับหรือสัมผัสเชื้อภายนอก ในช่วงสถานการณ์แบบนี้หากสามารถทำอาหารรับประทานเองได้ก็เป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด เพราะนอกจากปลอดภัยจากปนเปื้อนของเชื้อไวรัสแล้ว ยังปลอดภัยจากการแพร่ระบาดไวรัส และยังเป็นการหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงตามที่รัฐบาลประกาศอีกด้วย

 


10.ปาร์ตี้สังสรรค์ กับเพื่อนฝูง

จากข่าวผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการติดจากเพื่อนกลุ่มเดียวกันในการเลี้ยงสังสรรค์ มีการดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน  จึงทำให้ติดเชื้อ การปาร์ตี้ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้เราควรเลี่ยงการรวมกลุ่มเพื่อนเพื่อสังสรรค์ หากต้องการพบปะเพื่อนๆ การใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้าช่วย เช่น App ประชุมทางไกลก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการรวมกลุ่มเพื่อน

 

 

 

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ภาพโดย iXimus จาก Pixabay 

 

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง