รีเซต

'โรคอ้วน' เสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด

'โรคอ้วน' เสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด
TrueID
23 เมษายน 2564 ( 11:08 )
509
'โรคอ้วน' เสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด

จากข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด–19 เพศหญิง อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อจากลุ่มสถานบันเทิง จากจ.สุราษฎร์ธานี ผู้ป่วยได้ตัวต่อเข้ารับการรักษาตัวโรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะโรคอ้วน และจากภาวะปอดอับเสบอย่างรุนแรง และได้เสียชีวิตในช่วงบ่ายของวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่าน

 

วันนี้ trueID จะพาไปรู้จักกับ"โรคอ้วน"สาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายดังกล่าว

 

โรคอ้วนคืออะไร?

 

คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ จึงมีการสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆและนำมาซึ่งสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ

 

 

ผลกระทบจากโรคอ้วน มีอะไรบ้าง?

 

- ขาดความมั่นใจในการเดินและทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน

 

- มีอาการปวดหลัง ข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกต่างๆ

 

- เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

 

โรคอ้วน กับความเสี่ยงขั้นรุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19

 

งานวิจัยนำโดยดร. ฟรองซัวส์ ปาตู หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไปและต่อมไร้ท่อของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยลีล (Lille University) ในฝรั่งเศส ชี้ว่าผู้มีโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ขั้นรุนแรง

 

“หลายเดือนที่เกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เราสามารถเห็นความเสี่ยงต่อไวรัสของผู้มีโรคอ้วนได้อย่างชัดเจน” ปาตูกล่าว “ข้อมูลของเราชี้ว่าโอกาสที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นนั้นเพิ่มขึ้นตามค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในแผนกผู้ป่วยหนักที่มีโรคอ้วนร้ายแรงจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเกือบทั้งหมด”

 

คณะนักวิจัยพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มต้องการออกซิเจนมากกว่า และมีแน้วโน้มต้องการเครื่องช่วยหายใจผ่านทางท่อเจาะคอมากกว่าถึงร้อยละ 73 ขณะผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมีผลลัพธ์คล้ายคลึงกันแต่รุนแรงน้อยกว่า

 

“โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับอาการสุขภาพไม่ดีหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ และโรคติดต่อทางเชื้อไวรัสที่รุนแรงกว่า เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคโควิด-19”

 

 

วิธีป้องกันโรคอ้วน

 

- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะช่วยลดการสะสมของพลังงานในร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

- เมื่อเริ่มรู้สึกว่าน้ำหนักเพิ่มมากจนเกินไป ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป

 

- ควรลดอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น อาหารจำพวกของมันของทอดทอด และอาหารรสหวาน

 

- ควรจำกัดปริมาณการทานอาหารในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมอาหารให้แก่ร่างกายได้มีน้ำหนักที่อยู่ในระดับปกติ

 

- ใส่ใจและหมั่นดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) คืออะไร?

 

คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป

 

BMIการแปรผล
< 18.5ผอม
18.5-22.9ปกติ
18.5-22.9น้ำหนักเกิน
25.29.9อ้วนระดับ 1
30 ขึ้นไปอ้วนระดับ 2

 

 

วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย

 

การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือเป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยใช้โปรแกรมวัดค่าความอ้วนที่นี่

 

 

ที่มา : Xinhua , Lovefitt , รพ.จุฬารัตน์3อินเตอร์

ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay 

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง