รีเซต

อันตรายจาก "โรคเบาหวาน" กับการติดเชื้อโควิด

อันตรายจาก "โรคเบาหวาน" กับการติดเชื้อโควิด
TrueID
21 เมษายน 2564 ( 12:11 )
849
อันตรายจาก "โรคเบาหวาน" กับการติดเชื้อโควิด

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ที่ช่วงนี้ ที่มีอาการผลข้างเคียงที่อันตรายขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสจะมีอาการที่หนักกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว วันนี้ trueID จะพาไปรู้จักกับอันตรายของหนึ่งในโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการรุนแรงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเป็นอย่างไรมาดูกัน

 

 

ทำความรู้จักกับ "โรคเบาหวาน"

 

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น

 

 

อาการของโรคเบาหวาน

 

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์

 

 

สาเหตุของโรคเบาหวาน

 

โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

 

  • เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้

 

  • เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)

 

  • และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน

 

  • นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ด้วย

 

 

การป้องกันโรคเบาหวาน

 

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ

 

  • ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ

 

  • เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

 

  • รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

  • หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์

 

 

อันตรายของผู้เป็นเบาหวานกับการติดเชื้อไวรัส COVID-19

 

ผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติและเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

 

มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3

 

 

 

 

ที่มา : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย , พบแพทย์

ภาพโดย Tesa Robbins จาก Pixabay 

 

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

โควิด-19 : เรื่องวัคซีนโควิด ที่ผู้ป่วยโรคประจําตัวต่อไปนี้ควรรู้

สถานการณ์โควิด-19: รู้จัก "โรคอ้วน" หนึ่งในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนระยะแรก

8 โรคประจำตัว หากติดโควิด-19 เสี่ยงมีอาการรุนแรง

ระวัง 5 โรคหน้าหนาว ยอดเสียชีวิตมากกว่า COVID-19

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับการติดเชื้อโควิด-19

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง