สถานการณ์โควิด-19: รู้จัก "โรคอ้วน" หนึ่งในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนระยะแรก
วันที่ 28 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 ว่า วัคซีนล็อตแรกที่จะเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 50,000 โดส เกิดจากสถาบันวัคซีนเจราจาร้องขอไปยังบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ไม่เกี่ยวกับล็อตที่จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์
ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าเห็นถึงการระบาดในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น จึงตกลงส่งมอบ 2 แสนโดสให้กับเรา และล็อตแรกจะเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 50,000 โดส
นายอนุทิน กล่าวว่า ส่วนเรื่องการฉีดเข็มแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ได้หรือไม่ ขอให้เป็นไปตามกระบวนการ เนื่องจากเมื่อวัคซีนมาถึงไทยแล้ว ก็จะต้องส่งมอบให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตรวจสอบวัคซีนก่อนถึงจะนำมาฉีดได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สหภาพยุโรป หรือ อียู(EU) เริ่มจำกัดการส่งออกวัคซีน ดังนั้นต้องดูว่าล็อตที่จะเข้ามานั้นถูกจำกัดหรือไม่ ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าจะต้องเจราจาเพื่อให้ส่งมาถึงไทยในเดือนกุมภาพันธ์ตามสัญญา
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการ วัคซีนป้องกันโควิด-19 กล่าวว่า แผนการบริหารวัคซีนจะฉีดใน 4 กลุ่มเสี่ยง ดังนี้
1.กลุ่มบุคลากรด้านหน้าในการป้องกันโควิด-19 ทั้งภาครัฐ และเอกชน
2.กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตเรื้อรังระยะ 5 ขึ้นไป หลอดเลือดสมอง มะเร็งที่ให้เคมีบำบัดรังสีรักษา หรือภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน
โดยวันนี้คณะกรรมการฯ พิจารณาเพิ่มขึ้นมาคือ โรคอ้วน ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เนื่องจากต่างประเทศเริ่มพบว่าผู้ที่มีภาวะอ้วนอาการป่วยจากโควิดเริ่มรุนแรงขึ้น เพราะปอดและการหายใจยากกว่าคนปกติ เมื่อติดเชื้อก็จะมีปัญหามากขึ้น
และ 4.กลุ่มเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 อาทิ ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
วันนี้ trueID news จะพาไปรู้จัก"โรคอ้วน"กันว่าลักษณะไหนถึงเข้าข่ายโรคดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรก ไปติดตามกัน
ภาวะโรคอ้วน (obesity)
1. ภาวะโรคอ้วน (obesity) คือะไร?
คนที่มีภาวะอ้วน คือผู้ที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพในอัตราส่วนที่สูงในร่างกาย วิธีการวัดภาวะโรคอ้วนโดยมากจะคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ที่เรียกว่า "ดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI)"
นอกจากนี้ค่า BMI ยังแสดงถึงภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินได้แม่ยำกว่าการประเมินจากน้ำหนักอย่างเดียว แนวทางการประเมินค่า BMI ในผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 20 ปี มีดังนี้
<18.5 | ผอม (underweight) |
18.5-24.9 | สมส่วน (healthy) |
25-29.9 | น้ำหนักเกิน (overweight) |
>30 | ภาวะอ้วน (obese) |
แผนภูมิแสดงการวัดค่า BMI จากน้ำหนักและส่วนสูงในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่รูปร่างสมส่วนแล้ว ผู้ที่น้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจหลอดเหลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้อายุขัยสั้นลงด้วย
2. น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนพบบ่อยเพียงใด?
ผลจากการสำรวจในปี 1999-2000 ของสถาบัน National Health Examination Survey (NHANES) พบว่าประมาณ 64% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐ
อเมริกาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเพิ่มขึ้นประมาณ 8% เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจก่อนหน้านี้ของ NHANES III ในปี 1988-1994
เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่จัดอยู่ในกลุ่มอ้วน มีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 7.6% จากในปี 1994 และจากข้อมูลพบว่า 30% ในประชากรที่อายุมากกว่าหนือเท่ากับ
20 ปี (ประมาณ 59 ล้านคน) มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 (เปรียบเทียบกับปี 1994 มีประชากรเพียง 23% ที่อยู่ในภาวะดังกล่าว)
นอกจากนี้ในเด็กพบว่าภาวะน้ำหนักเกินมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปี 1999-2000 พบว่าประมาณ 15% ในเด็กอายุ 6-19 ปี (ประมาณ 9 ล้านคน) อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน
ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1980 สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล
3. สาเหตุของโรคอ้วนคืออะไร?
ผู้เชี่ยวชาญได้สรุปสาเหตุหลักของโรคอ้วนไว้ว่า เกิดจากวิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ และการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง (high-calorie food) มากเกินไป
- วิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ (sedentary lifestyle): จากงานวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างสูงระหว่างการขาดการออกกำลังกาย (physical activity) และโรคอ้วน
- อาหาร (died): การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงหรือมีไขมันเป็นส่วนประกอบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- กลุ่มผู้ประกันตน 50 ปี ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี63ฟรี ที่ไหน ฉีดอย่างไร วัคซีนมีกี่ประเภท?
- เปิดไทม์ไลน์วัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย
- รวมความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ของโลก และประเทศไทย
- เปิดขั้นตอนกว่าจะได้วัคซีนมาใช้ป้องกันโรค
ข้อมูล:
- https://www.youtube.com/watch?v=xEX6RJJv3Aw
- https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=330
- https://www.matichon.co.th/covid19/news_2551961
ภาพโดย Michal Jarmoluk , Mirko Sajkov จาก Pixabay
++++++++++