รีเซต

กลุ่มผู้ประกันตน 50 ปี ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี63ฟรี ที่ไหน ฉีดอย่างไร วัคซีนมีกี่ประเภท?

กลุ่มผู้ประกันตน 50 ปี ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี63ฟรี ที่ไหน ฉีดอย่างไร วัคซีนมีกี่ประเภท?
TrueID
22 มกราคม 2564 ( 12:53 )
4.7K
กลุ่มผู้ประกันตน 50 ปี ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี63ฟรี ที่ไหน ฉีดอย่างไร วัคซีนมีกี่ประเภท?

วันที่ 21 มกราคม นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงสิทธิการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ในระบบประกันสังคมว่า ขณะนี้ สปส. ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2563 เพิ่มสิทธิผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ดังนี้

1.ผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในปี 2563 ให้มีสิทธิได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564

2. ปี 2564 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องโรค กรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564

3. ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป มีสิทธิได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง วันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถได้รับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ชนิด 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยจะจ่ายให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดในอัตราอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ชนิด 3 สายพันธุ์ ในอัตรา 250 บาท ต่อคนต่อปี และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ในอัตรา 450 บาท ต่อคนต่อปี โดยผู้ประกันตนสามารถไปใช้สิทธิได้ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้บริการฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ทันที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/ สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

 

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ไหน?

 

รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ปี 2563
1. กบินทร์บุรี 
2. กระทุ่มแบน 
3. กระบี่ 
4. กรุงไทย 
5. กลาง 
6. กล้วยน้ําไท 
7. การุญเวช ปทุมธานี 
8. การุญเวช อยุธยา 
9. กาฬสินธุ์ 
10. กําแพงเพชร 
11. เกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา 
12. เกษมราษฎร์ บางแค  
13. เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์  
14. เกษมราษฎร์ รามคําแหง 
15. เกษมราษฎร์ สระบุรี
16. เกษมราษฎร์ ประชาชื่น
17. เกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์
18. เกาะสมุย
19. ขอนแก่น
20. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล 
21. ค่ายจักรพงษ์ 
22. ค่ายธนะรัตน์
23. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 
24. ค่ายวชิราวุธ 
25. ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  
26. ค่ายสรรพสิทธิประสงค์  
27. ค่ายสุรนารี 
28. ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
29. ค่ายสุรสีห์
30. จันทรุเบกษา 
31. จุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ 
32. จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 
33. จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต  
34. จุฬารัตน์ระยอง  
35. จุฬาลงกรณ์ 
36. เจริญกรุงประชารักษ์  
37. เจ้าพระยายมราช  
38. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร 
39. ชลบุรี 
40. ชัยนาทนเรนทร 
41. ชัยภูมิ
42. ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 
43. ชุมแพ 
44. เชียงคํา 
45. เชียงรายประชานุเคราะห์
46. เชียงใหม่ใกล้หมอ 
47. ซานคามิลโล  
48. เซ็นทรัล ปาร์ค 
49. ดําเนินสะดวก 
50. ตรัง
51. ตราด 
52. ตะกั่วป่า 
53. ตากสิน 
54. ตํารวจ  
55. ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์  
56. ทุ่งสง 
57. ท่าศาลา 
58. เทพปัญญา 
59. เทพรัตน์นครราชสีมา
60. เทพากร
61. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
62. นครนายก
63. นครปฐม 
64. นครพนม 
65. นครพิงค์ 
66. นพรัตนราชธานี 
67. นราธิวาสราชนครินทร์ 
68. นวมินทร์ 
69. นวมินทร์ 9  
70. นางรอง 
71. น่าน
72. บางนา 1
73. บางนา 2 
74. บางนา 5 
75. บางบ่อ
76. บางประกอก 3
77. บางประกอก 8
78. บางพลี 
79. บางมด
80. บางสะพาน 
81. บางไผ่ 
82. บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ 
83. บึงกาฬ 
84. บุรีรัมย์ 
85. บ้านหมี่ 
86. บ้านแพ้ว 
87. บ้านโป่ง
88. เบตง
89. ป. การแพทย์ 
90. ปทุมธานี
91. ปทุมเวช 
92. ประจวบคีรีขันธ์ 
93. ประชาพัฒน์ 
94. ปัตตานี 
95. ปากช่องนานา 
96. ปิยะเวชบ่อวิน 
97. ป่าตอง 
98. เปาโล พระประแดง 
99. เปาโล สมุทรปราการ 
100. เปาโล เกษตร 
101. เปาโล โชคชัย 4 
102. พญาไทศรีราชา  
103. พนัสนิคม 
104. พระจอมเกล้า 
105. พระนครศรีอยุธยา
106. พระนั่งเกล้า 
107. พระนารายณ์มหาราช 
108. พระปกเกล้า
109. พระพุทธบาท 
110. พระมงกุฎเกล้า 
111. พระราม 2
112. พหลพลพยุหเสนา
113. พะเยา
114. พังงา
115. พัทลุง 
116. พิจิตร
117. พุทธชินราช 
118. พุทธโสธร 
119. เพชรบูรณ์
120. เพชรเกษม 2
121. เพชรเวช
122. แพทย์ปัญญา 
123. แพทย์รังสิต
124. แพร่
125. โพธาราม
126. ภัทร - ธนบุรี  
127. ภูมิพลอดุลยเดช  
128. มงกุฎระยอง 
129. มงกุฏวัฒนะ 
130. มหาชัย 2  
131. มหาชัย 3 
132. มหาราชนครราชสีมา 
133. มหาราชนครศรีธรรมราช 
134. มหาราชนครเชียงใหม่  
135. มหาวิทยาลัยนเรศวร 
136. มหาวิทยาลัยบูรพา 
137. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
138. มหาสารคาม 
139. มะการักษ์ 
140, มิชชั่น 
141. มิชชั่นภูเก็ต  
142. มุกดาหาร 
143. มเหสักข์ 
144. เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) 
145. เมืองพัทยา 
146. เมืองสมุทรปากน้ํา 
147. เมืองสมุทรปู่เจ้าฯ 
148. แม่สอด 
149. ยะลา 
150. ยโสธร
151. รวมชัยประชารักษ์ 
152. ระนอง
153. ระยอง
154. รัทรินทร์ 
155. ราชธานี  
156. ราชธานี โรจนะ 
157. ราชบุรี 
158. ราชพิพัฒน์ 
159. ราชวิถี  
160. ราชเวชอุบลราชธานี 
161. ราชเวชเชียงใหม่ 
162. รามาธิบดี  
163. ราษฎร์บูรณะ 
164. ร่มฉัตร 
165. ร้อยเอ็ด
166. ลาดพร้าว 
167. ลานนา  
168. ลําปาง 
169. ลําพูน 
170. เลย 
171. เลิดสิน 
172. วชิระภูเก็ต 
173. วารินชําราบ 
174 วิชัยเวชฯ สมุทรสาคร 
175. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย 
176. วิภาราม ปากเกร็ด 
177. วิภาราม สมุทรสาคร 
178. วิภาราม อมตะนคร
179. วิภาราม
180. วิภาราม แหลมฉบัง
181. เวชการุณย์รัศมี 
182. ศรีนครินทร์  
183. ศรีสะเกษ 
184. ศรีสังวรสุโขทัย 
185. ศรีสังวาลย์ 
186. ศิครินทร์ 
187. ศิริราช  
188. ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน  
189. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  
190. สกลนคร
191. สงขลา 
192. สงขลานครินทร์  
193. สตูล 
194. สถาบันบําราศนราดูร  
195. สมุทรปราการ
196. สมุทรสาคร 
197. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 
198. สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 
199. สมเด็จพระปิ่นเกล้า  
200. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า 

201. สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ  
202. สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว 
203. สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน 
204. สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 
205. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
206. สรรพสิทธิประสงค์
207. สระบุรี
208. สวรรค์ประชารักษ์ 
209. สันป่าตอง 
210. สายไหม
211. สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  
212. สําโรงการแพทย์
213. สิงห์บุรี
214. สิชล
215. สิรินธร
216. สุขสวัสดิ์
217. สุราษฎร์ธานี
218. สุรินทร์
219. สุโขทัย
220. สุไหงโก-ลก
221. เสนา
222. หนองคาย
222. หนองคาย
223. หนองบัวลําภู
224. หริภุญชัย เมโมเรียล 
225. หลวงพ่อทวีศักดิ์ 
226. หัวหิน
227. หัวเฉียว 
228. หาดใหญ่ 
229. แหลมฉบัง 
230. องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
231. อานันทมหิดล 
232. อํานาจเจริญ 
233. อินทร์บุรี 
234. อุดรธานี 
235. อุตรดิตถ์ 
236. อุทัยธานี 
237. อู่ทอง 
238. อ่างทอง ชุตินธโร อุทิศ
239. เอกชล 2

 

 

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรทำเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไปสักระยะ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคจะค่อย ๆ ลดลง นอกจากนี้ ในแต่ละปีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องฉีดวัคซีนซ้ำเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น และป้องกันได้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด

 

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อไร ?

ปกติแล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นควรฉีดตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ฤดูแพร่ระบาดของโรค เพื่อให้วัคซีนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในช่วงที่มีการระบาด ซึ่งในประเทศไทยมักเป็นช่วงฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และฤดูหนาวในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม

 

เหตุผลที่ไม่ควรมารับวัคซีนก่อนกำหนด

จากการที่ร่างกายจดจำแอนติเจนได้  เพราะฉะนั้น  ถ้าเด็กมารับวัคซีนล่าช้ากว่ากำหนด  ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่  แต่ถ้าให้วัคซีนใกล้กันเกินไปอาจทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเพราะระดับแอนติบอดีในร่างกายที่สูงอยู่จะจับกับแอนติเจน(วัคซีน)ที่ได้รับเข้าไปใหม่ ทำให้แอนติเจนนั้นซึ่งก็คือวัคซีน  สูญเสียประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (neutralization)

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ปฏิบัติงานคงได้รู้จักวัคซีนกันมากขึ้นโดยแบ่งประเภทของวัคซีนได้ถูกต้อง สามารถอธิบายถึงกลไกการออกฤทธิ์หรือการเกิดภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายจากการได้รับวัคซีนได้ และสามารถอธิบายเหตุผลของการให้วัคซีนในระยะที่กำหนดและเหตุผลของการปฏิบัติเมื่อมีกรณีมารับวัคซีนล่าช้าได้อย่างชัดเจน

 

ข้อมูล : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

 

ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

จากการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ตรงกับวัคซีน นอกจากนี้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบันยังมีแนวโน้มช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บีและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (H1N1) ได้ดี แต่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ เช่น ไข้หวัดใหญ่ H3N2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ใครไม่ควรฉีดวัคซีนหรือควรเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
  • คนที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะ วัคซีนผลิตในไข่ไก่
  • ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
  • หากมีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือโรคประจำตัว มีอาการกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน

กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้

 

ประเภทวัคซีนตามการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. วัคซีนเชื้อตาย (killed vaccine) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัว (whole cell) ที่ตายแล้ว ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนอหิวาตกโรคชนิดฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด และผลิตจากส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อโรค (subunit) ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนฮิบ วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ วัคซีนไทฟอยด์ชนิดฉีด และวัคซีนนิวโมคอคคัส หรือผลิตจากโปรตีนส่วนประกอบของเชื้อที่ผลิตมาใหม่โดยอาศัยหลักวิศวพันธุศาสตร์
  2. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรคแต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ วัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนวัณโรค วัคซีนไทฟอยด์ชนิดรับประทาน วัคซีนโรต้า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก
  3. วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (toxoid) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตโดยการนำพิษของจุลชีพที่เป็นส่วนสำคัญในการก่อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ เช่นวัคซีนคอตีบ และวัคซีนบาดทะยัก

 

ข้อมูล : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

 

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มี 2 ชนิด คือ

- วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ซึ่งจะให้วัคซีนโดยการฉีด วัคซีนชนิดนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย และ ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว

- วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Alive, weakened vaccine) ซึ่งจะให้วัคซีนโดยการพ่นบริเวณรูจมูก

เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองบ่อย ดังนั้นวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีตามเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่มีการระบาด ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว และอาจอยู่ได้นานกว่า 1 ปี แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังสามารถที่จะเกิดโรคได้ แต่มักจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถได้รับร่วมกับวัคซีนอื่นได้ ซึ่งรวมถึง pneumococal vaccine ด้วย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

>>>สิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

>>> มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ที่เราจะได้รับจากประกันสังคม

>>>สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ดัดฟัน จ่ายหรือไม่?

>>> สิทธิประกันสังคมกรณี ลาออก เลิกจ้าง ว่างงาน และเหตุโควิด-19 อย่าลืมขอเงินทดแทน

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ภาพโดย Katja Fuhlert จาก Pixabay 

++++++++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง