รีเซต

พิชิตโรค NCDs ด้วย "Lifestyle Medicine" หายจากโรคได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

พิชิตโรค NCDs ด้วย "Lifestyle Medicine" หายจากโรคได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
TNN ช่อง16
7 กรกฎาคม 2568 ( 17:26 )
11

คนไทยป่วยเป็นกลุ่มโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งเกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ทานอาหารไม่มีประโยชน์ นอนไม่พอ ไม่ออกกำลังกาย และภาวะความเครียดจากการทำงาน แท้จริงแล้ว โรคเหล่านี้ สามารถป้องกัน ควบคุม หรือรักษาได้ โดยเริ่มจากที่ตัวคนไข้เอง นำมาสู่แนวคิด Lifestyle Medicine หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต เพื่อรักษาโรค โดยไม่ต้องพึ่งยา

Lifestyle Medicine คืออะไร

Lifestyle Medicine หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต เป็นการแพทย์แนวใหม่ที่นำองค์ความรู้หลากหลายแขนงเช่น แพทยศาสตร์ โภชนวิทยา จิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์การกีฬา ฯลฯ มาบูรณาการเชื่อมโยงกัน เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างยั่งยืน

ทำไม Lifestyle Medicine จึงเป็นกุญแจหลักที่สำคัญ

แน่นอนว่าการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องได้อย่างเท่าเทียม แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่จะมีสุขภาพที่ดีและมีสุขภาวะ (wellness) ที่สมบูรณ์ ต้องเริ่มมาจากพื้นฐานคือ การไม่เป็นโรค Lifestyle Medicine จึงเป็นหนึ่งในแนวทางป้องกัยความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ที่ส่วนใหญ่เป็นแล้วหายยาก

Lifestyle Medicine 6 ด้าน

  • กิจกรรมทางกาย

ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ออกกำลังกายให้เพียงพอ ทั้งการออกกำลังเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ และการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

  • การนอนหลับ

นอนหลับอย่างมีคุณภาพให้เพียงพอ เป็นเวลา และต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม หากนอนดี จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ส่งผลให้ระบบเผาผลาญอาหารดีขึ้น อารมณ์สดใส เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยหลักของการควบคุมระบบต่อมไร้ท่อ และฮอร์โมนต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ 

  • ลดเลิกการใช้สารเสพติด

เวชศาสตร์วิถีชีวิตจะมุ่งเน้นการลด ละ เลิก สารเสพติดที่ใช้กันแพร่หลายและก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดคือบุหรี่และแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตและความพิการจากโรคทางกาย โรคทางจิตเวช และอุบัติเหตุ

  • การจัดการกับความเครียด

เป็นธรรมดาที่ มนุษย์ต้องเจอกับความเครียด แต่ความเครียดจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม

  • ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง

การมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ กลับกันหากรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีสังคม เป็นสิ่งที่ผิดจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ก็จะนำมาสู่ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้า สมองเสื่อม โรคหัวใจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 

Lifestyle Medicine กับการรักษาโรค 

ปัจจุบัน Lifestyle Medicine ถูกนำมาใช้ในการดูแลและรักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มโรค NCDs เนื่องจากเป็นโรคที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง หรือ เรียกง่ายๆ ว่า "โรคทำเอง" ดังนั้น การจะรักษาหรือทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคเหล่านี้ได้ นอกจากการรักษาตามแนวทางปฏิบัติทั่วไป เช่น ทานยา การบำบัดต่างๆ การให้ผู้ป่วยเข้าใจ Lifestyle Medicine เพื่อนำมาปรับใช้กับอาการของตัวเองอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้อาการของโรคดีขึ้น ไปจนถึงการหายจากโรคไม่กลับมาเป็นซ้ำ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง