รีเซต

รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน

รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน
TrueID
26 กันยายน 2565 ( 12:16 )
12.8K
รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน

ข่าววันนี้ รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้อยากให้มันเกิดขึ้น ในไทยเราเองก็มีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆ ที่สร้างความสูญเสียให้กับพี่น้องประชาชนของเรา ไม่ว่าจะเป็น อัคคีภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ไฟป่า ความแห้งแล้ง แต่ในฤดูฝนนี้สิ่งที่เราต้องตื่นตัวรับมือก็คือ อุทกภัย ซึ่งเกิดขึ้นเกือบทุกปี วันนี้ trueID จะย้อนไปดูในอดีตว่าไทยเคยพบกับอุทกภัยใหญ่เมื่อไหร่บ้าง และมีความเสียหายเท่าไหร่ ไปติดตามกัน

 

รวม เหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน

 

  • น้ำท่วม พ.ศ. 2328

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วม(ใหญ่)ครั้งแรกซึ่งมีปรากฏอยู่ในบันทึกนั้น เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2328 อันเป็นปีมะเส็ง หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จไม่นานนัก พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 บันทึกว่า

 

“ลุจุลศักราช 1147 ปีมะเส็ง สัปตศก การสร้างพระนครการสร้างพระนคร และ พระมหาปราสาทราชนิเวศน์สำเร็จดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระราชดำริว่าเมื่อปีขาลจัตวาศก ได้ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ยังไม่พร้อมมูลเต็มตามตำรา และบัดนี้ก็ได้ทรงสร้างพระนครและพระราชมนเทียรสถานขึ้นใหม่ ควรจะทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้เต็มตามแบบแผนโบราณราชประเพณี จะได้เป็นพระเกียรติยศและเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง เป็นที่เจริญสุขแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาเขต

 

จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ และเสนาพฤฒามาตย์กระวีชาติราชบัณฑิตยาจารย์ ชีพ่อพราหมณ์ปรึกษาพร้อมกันเห็นสมควรแล้ว จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

 

อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารไม่ได้บรรยายถึงเหตุการณ์น้ำท่วมแบบชัดเจนนัก สมบัติ พลายน้อย บรรยายว่า ในจดหมายเหตุที่ค้นพบเล่าอุทกภัยครั้งนั้น (พ.ศ. 2328) ทำให้ระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว นักวิชาการและนักเขียนด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานสาเหตุที่น้ำลึกขนาดนั้นว่า อาจเป็นเพราะสนามหลวงในช่วงเวลานั้นยังเป็นที่ลุ่ม

 

ขณะที่สภาพของพระบรมมหาราชวังก็มีสภาพน้ำท่วมท้องพระโรง ระดับน้ำที่ท่วมพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานวัดได้ 4 ศอก 8 นิ้ว สภาพแบบนี้ย่อมทำให้เสด็จออกขุนนางไม่ได้แล้ว และย้ายไปว่าราชการบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทที่พื้นพระที่นั่งสูงกว่าระดับน้ำ

 

  • พ.ศ.2362

ในรัชกาลที่ 2 น้ำท่วมเดือน ตุลาคมข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

 

  • พ.ศ.2374 

ในรัชกาลที่ 3 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนคราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

 

  • พ.ศ.2402 

ในรัชกาลที่ 4 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนและปีพ.ศ. 2410 น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายนอีกเช่นกัน แต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น

 

  • พ.ศ.2422 

ในรัชกาลที่ 5 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนน้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี

 

  • พ.ศ.2460 

ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้

 

  • พ.ศ. 2362

น้ำท่วมใหญ่ครั้งต่อมาเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2362 ปีเถาะ น้ำท่วมพระนคร ระดับน้ำที่ท่วมสนามหลวง น้ำลึก 6 ศอก 8 นิ้ว และยังท่วมพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานจนเสด็จออกว่าราชการไม่ได้อีกด้วย และย้ายไปว่าราชการที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมบัติ พลายน้อย บรรยายว่า น้ำท่วมครั้งนี้ยังตามมาด้วยปัญหาข้าวแพงจนประชาชนอดอยากกันด้วย

 

  • พ.ศ. 2485

ขณะที่น้ำท่วมเมื่อ พ.ศ. 2485 เป็นอีกครั้งที่หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง สถิติส่วนหนึ่งจากระดับน้ำหน้ากองรังวัดที่ดินธนบุรี ระดับน้ำสูง 2.27 เมตร

 

น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 / ขอบคุณภาพ silpa-mag

 

ปี 2485 น้ำท่วมไปเกือบทั่วกรุงเทพฯ / ขอบคุณภาพ silpa-mag

 

  • พ.ศ.2518

เกิดน้ำท่วม เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพฯ

 

  • พ.ศ.2521 

พายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่านขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมากทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออก และ เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ

 

  • พ.ศ.2523 

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วง 4 วันทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

 

  • พ.ศ.2526 

น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ และภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน- ตุลาคมประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม

 

  • พ.ศ.2529 

เกิดฝนตกหนักมาก และตกติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในกรุงเทพฯ

 

  • พ.ศ. 2529 

ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

 

Kraipit PHANVUT / AFP

 

  • พ.ศ.2533 

ในเดือนตุลาคม พายุโซนร้อน "อีรา" และ"โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมที่กรุงเทพฯ

 

  • พ.ศ.2537 

เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝน ได้มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพฯ

 

  • น้ำท่วม พ.ศ. 2538 

มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 - 100 ซ.ม

 

แม่ค้าขายอาหารกลางแยกน้ำท่วม 17 ก.ย. 38 จว.อยุธยา / STR / AFP

 

  • พ.ศ.2539 

มีน้ำท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

 

  • มหาอุทกภัย พ.ศ.2554

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท

 

อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ (6 ล้านเฮกตาร์) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 65 จังหวัด 684 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน /คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา / บ่อกุ้ง / หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิต 813 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน

 

อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ"

 

ชาวบ้านไทยพายเรือผ่านพระพุทธรูปใน อยุธยา / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP

 

พายเรือฝ่าน้ำท่วมกรุงเทพฯ 25 พ.ย. 54 / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP

 

ข้อมูล : silpa-mag , wikipedia , สสส.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง