พายุฤดูร้อน 2566 อันตรายที่ต้องระวัง!
ข่าววันนี้ สภาพอากาศวันนี้ จะเห็นว่าประเทศไทยในช่วงนี้กำลังเผชิญหน้ากับ พายุฤดูร้อน 2566 และบางพื้นที่อาจเจอลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกจนสร้างความเสียหายหนัก
พายุฤดูร้อน 2566 รับมือได้!
ย้อนอดีตใครจำได้บ้าง? จากเหตุการณ์ พายุฤดูร้อน พัดถล่มพัทยาน้อย ในครั้งนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำอยู่ราว 10 นาทีเท่านั้นจึงสงบลง แต่ได้ทิ้งร่องรอยความเสียหายให้แหล่งท่องเที่ยวพัทยาน้อยอย่างหนัก เพราะคลื่นลมแรงได้ซัดเรือ และสิ่งของขึ้นไปบนแพ ทำให้แพล่มหลายหลัง แต่โชคดีที่นักท่องเที่ยวหนีรอดได้อย่างหวิดหวุดไม่เกิดความสูญเสียใด ๆ
จากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนถล่มซัดพัทยาน้อย วันนี้ TrueID พามารู้จักถึงอันตรายของ พายุฤดูร้อน 2566 เมื่อใดที่ต้องเผชิญหน้าจะได้รับมือ และเลี่ยงอันตรายได้ทัน
พายุฤดูร้อน 2566 อันตรายแค่ไหน ?
สำหรับความรุนแรงของพายุฤดูร้อนเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกัน โดยความรุนแรงนี้จะปรากฎออกมารูปแบบทั้งลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก ผลกระทบที่อาจคุ้นเคยกันดี หรือกรณีตัวอย่าง แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศพัทยาน้อย ที่แพอาหารถูกพายุฤดูร้อนพัดถล่มจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม และที่หลายคนอาจคุ้นเคยเมื่อเจอเหตุการณ์ลมกรรฌชกรุนแรง มักจะพบเหตุลักษณะนี้
ไม่ว่าจะเป็น แผ่นป้ายโฆษณาและต้นไม้ยักษ์โค่นล้ม แผ่นกระเบื้องหลังคาหลุดปลิวลอยว่อน บ้านเรือนที่โครงสร้างไม่ดีพังทลาย และมักจะเจอฝนกระหน่ำตกหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็สงบลง ในบางพื้นที่อาจมีลูกเห็บตก พัดกระหน่ำจนสร้างความเสียหายให้บ้านเรือน สัตว์ และคนจนได้รับบาดเจ็บ แถมยังเกิดเสียงฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ทำให้คนและสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
พายุฤดูร้อน อันตรายขนาดนี้ สาเหตุเกิดจากอะไร ?
พายุฤดูร้อน จะก่อตัวจากเมฆคิวมูลัสก่อน เมื่อเมฆดังกล่าวขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะยิ่งทำให้เกิดการขยายตัวสูงใหญ่ เปลี่ยนจากเมฆคิวมูลัส เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง ที่มีสาเหตุเกิดจากอากาศร้อนและมีความชื้นมาก หรืออากาศไม่มีเสถียรภาพ รวมทั้ง มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน
เมื่อต้องเผชิญหน้า พายุฤดูร้อน ต้องทำตามนี้
หากเมื่อต้องเดินทางไปพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง อย่าลืมนำบทเรียนภาพเหตุการณ์ที่ พัทยาน้อย ซึ่งถือเป็นเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถูกพายุฤดูร้อนถล่มอย่างหนัก โดยมีวิธีป้องกันเมื่อเผชิญหน้ากับพายุฤดูร้อน ดังนี้
นักท่องเที่ยว รับมือตามนี้!
- ควรอยู่แต่ภายในอาคาร จนกว่าพายุฝนฟ้าคะนองจะยุติลง
- หากอยู่ในรถยนต์ ควรจอดรถให้อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำอาจท่วมได้
- อยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นน้ำ ขึ้นจากเรือ ออกห่างจากชายหาด
- หากอยู่ในป่า ในทุ่งราบ หรือในที่โล่ง ควรคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า
- ออกให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน ต้นไม้สูง ฯลฯ
- ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ฯลฯ และงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
ผู้ประกอบการร้านค้า ป้องกันพายุฤดูร้อนได้
ส่วนผู้ประกอบการร้านค้า ที่อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อภัย พายุฤดูร้อน ควรเตรียมรับมือ ดังนี้
- หมั่นติดตามสภาวะอากาศ และฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ
- ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่า
- หากมีประกาศเตือนภัยให้เก็บสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาให้มิดชิด ป้องกันสิ่งของถูกพายุพัดเสียหายและได้รับอันตรายจากการถูกสิ่งของพัดกระแทก
- ตรวจสอบความแข็งแรงมั่นคงของบ้านเรือน ร้านค้า หลังคา อาคารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ซึ่งอาจทำให้หลังคาบ้านปลิว หรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาทะลุหลังคาบ้านได้
- ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมลิสต์เอาไว้เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติเมื่อต้องเดินทาง หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน ในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน จะได้เลี่ยงและป้องกันสถานการณ์ได้อย่างปลอดภัย และท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 ได้สนุกสนานอีกด้วย
ข้อมูล : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
บทความเกี่ยวกับ พายุฤดูร้อน
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี