รีเซต

ระดับความรุนแรงของพายุ และชนิดของพายุ พายุระดับไหนที่ต้องระวัง

ระดับความรุนแรงของพายุ และชนิดของพายุ พายุระดับไหนที่ต้องระวัง
TrueID
28 กันยายน 2565 ( 14:43 )
134.3K
ระดับความรุนแรงของพายุ และชนิดของพายุ พายุระดับไหนที่ต้องระวัง

ความรุนแรงของพายุโซนร้อนที่เกิดในบ้านเรา สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการแจ้งเตือนมีระดับความรุนแรงต่างๆ เคยสงสัยไหมว่าแต่ละระดับความรุนแรงเป็นอย่างไร วันนี้ trueID news จะมาพาทุกท่านไปรู้จักกับลักษณะพายุว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละระดับจะต่างกันขนาดไหน

 

นิยาม "พายุหมุนเขตร้อน" (TROPICAL CYCLONE)


            พายุหมุนเขตร้อน คือคำทั่วๆไปที่ใช้สาหรับเรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาพที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก มีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางเดียวกับเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุดบางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางบางครั้งต่ำกว่า 900 เฮกโตปาสคาล (hPa) มีลักษณะอากาศร้ายเกิดขึ้น มีฝนตกหนักมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนอง ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในแต่ละลูก ส่วนใหญ่เป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลาง มีเมฆคิวมูลัส และคิวมูโลนิบัสที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้าขึ้นสูง ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลมมองเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมเรียกว่า "ตาพายุ" เส้นผ่าศูนย์กลางตาพายุเพียงแค่เป็นสิบๆกิโลเมตรเท่านั้น (ประมาณ 15-60 กิโลเมตร) ภายในตาพายุนี้อากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อย ลมพัดอ่อน

 


            พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันตามบริเวณที่เกิดขึ้น เช่น ในอ่าวเบงกอล และในมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน" (CYCLONE) ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกและทางด้านทะเลฝั่งตะวันตกของเม็กซิโกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" (HURRICANE) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกกับมหาสมุทรแปซิฟิกใต้และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" (TYPHOON)


ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้แบ่งพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุดังนี้


            1. พายุดีเปรสชั่น (DEPRESSION) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)


            2. พายุโซนร้อน (TROPICAL STORM) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)


            3. ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน (TYPHOON OR HURRICANE) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง
            ตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

 

แต่เมื่อพายุหมุนเขตร้อนพัฒนาจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ไซโคลน หรือ เฮอร์ริเคน จะมีการจัดระดับความรุนแรงภายในขึ้นอีกครั้ง โดยพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า “ไต้ฝุ่น” จะถูกจัดระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ESCAP/WMO) รวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยาของแต่ละประเทศในภูมิภาคดังกล่าว

 

 

 

เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับ หรือที่เรียกกันว่า “ไซโคลน” จะถูกจัดระดับความรุนแรงในเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยเกณฑ์การวัดความรุนแรงของทั้งไต้ฝุ่นและไซโคลน มีพื้นฐานจากการอ้างอิงความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณของพายุ ซึ่งพัดต่อเนื่องใน 10 นาที ที่ความสูง 10 เมตร เช่นเดียวกัน

 

ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในซีกโลกเหนือแทบมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า “เฮอร์ริเคน” จะถูกจัดระดับความรุนแรงด้วย มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ – ซิมป์สัน” (Saffir – Simpson Hurricane Wind Scale) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดย เฮอร์เบิร์ต แซฟเฟอร์ (Herbert Saffir) และโรเบิร์ต ซิมป์สัน (Robert Simpson) ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ – ซิมป์สันทำการจัดระดับความรุนแรง โดยการอ้างอิงความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณของพายุ ซึ่งพัดต่อเนื่องใน 1 นาที ที่ความสูง 10 เมตร

 

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ซิมป์สัน

 

ระดับ

ความเร็วลมสูงสุด (กิโลเมตร/ชั่วโมง)

1

119 – 153

2

154 – 177

3

178 – 208

4

209 – 251

5

มากกว่าหรือเท่ากับ 252

 

นอกจากพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแล้ว พายุทอร์นาโด (Tornado) ที่มักก่อตัวบนพื้นดินฝั่งทวีปอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติกล้วนได้รับการจัดระดับความรุนแรงเช่นเดียวกัน พายุทอร์นาโดจะถูกวัดด้วยมาตรวัดฟูจิตะ (Fujita Scale) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย ทัตสึยะ ทีโอดอร์ ฟูจิตะ (Tetsuya Theodore Fujita) และอัลเลน เพียร์สัน (Allen Pearson) หัวหน้าศูนย์ทำนายพายุแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Storm Prediction Center: SPC) ตั้งแต่ปี 1971

 

พายุทอร์นาโดถูกจำแนกความรุนแรงไว้ 6 ระดับ คือ F0 ถึง F5 เป็นการกำหนดช่วงความเร็วลมโดยประมาณ ผ่านการคำนวณจากสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นบนภาคพื้นดินหลังพายุสงบลง ซึ่งในช่วงเวลานั้น การวัดความเร็วลมสูงสุดของพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นจริงมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ส่งผลให้เกิดการศึกษาและพัฒนามาตราวัดฟูจิตะแบบดั้งเดิมจนกลายเป็น มาตรวัดฟูจิตะฉบับปรับปรุง” (Enhanced Fujita Scale)

 

 

ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28

ภาพโดย FelixMittermeier จาก Pixabay 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง