รีเซต

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับการติดเชื้อโควิด-19

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับการติดเชื้อโควิด-19
TrueID
21 เมษายน 2564 ( 14:03 )
2.5K
อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับการติดเชื้อโควิด-19

การศึกษาชิ้นใหม่พบ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าที่จะเสียชีวิตจากการติดเชื้อ ที่มีความดันโลหิตสูง (High Pressure) นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า มีความเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะมีอาการรุนแรง แต่การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารโรคหัวใจยุโรป แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงนั้นเลวร้ายกว่าที่คิด วันนี้ trueID จึงได้รวบรวมข้อมูลของโรคความดันโลหิต กับการติดเชื้อโควิด-19 ว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างไร

 

 

ความดันโลหิตสูงคืออะไร?

 

ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ความดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทต่อปี 

 

 

ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

 

1. ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ กรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน ทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด เป็นต้น 

 

2. ชนิดที่ทราบสาเหตุ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก ที่เป็นโรคอื่นมาก่อนและมักต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย เช่น เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในส่วนของช่องอก รวมถึงผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี 

 

 

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 

 

  • ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

1. กรรมพันธุ์ จากการสำรวจความถี่ในการเกิดโรค พบว่า ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า
2. เพศและอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีข้อมูลบ่งบอกว่า พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ซึ่งมีผลต่อความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบความดันโลหิตสูงเท่ากันทั้ง 2 เพศ  

  • ปัจจัยที่ควบคุมได้

1. อ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน 
2. ไขมันในเลือดสูง
3. ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
4. กินเค็มเป็นประจำ
5. ขาดการออกกำลังกาย
6. มีภาวะดื้ออินซูลินหรือเป็นเบาหวาน

 

 

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคความดันโลหิตสูง 

 

ภาวะโรคความดันโลหิตสูง เปรียบเหมือนฆาตกรเงียบ หากความดันสูงเล็กน้อยหรือปานกลาง มักไม่มีอาการเตือนให้รู้ตัว แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก อาจมีอาการเหล่านี้ได้ เช่น 

  • ปวดศีรษะตุบๆบริเวณท้ายทอย 
  • เวียนศีรษะตอนตื่นนอนใหม่ๆ 
  • ตาพร่ามัว 
  • มีเลือดกำเดาไหล 
  • เหนื่อยง่าย 
  • เจ็บหน้าอก

 

 

ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง อยู่นานจะเกิดอะไรขึ้น

 

ถ้าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงและปล่อยให้ตนเองมีค่าความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือต่อเนื่อง อีกทั้งควบคุมไม่ได้จนกระทั่งเกินกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ในที่สุดอาจเกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน โรคเลือดสมอง ไตวาย และหัวใจวาย

 

 

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับ โควิด-19

 

ทีมนักวิจัยระหว่างประเทศนำโดยหลี่เฟย (Li Fei) และเทาหลิง (Tao Ling) ของภาควิชาโรคหัวใจที่โรงพยาบาลซีจิง (Xijing) ในซีอาน ประเทศจีน ศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 2,866 รายที่ได้รับการรักษาในหวู่ฮั่น น้อยกว่า 30% มีความดันโลหิตสูง

 

เทากล่าวว่า “ไม่นานหลังจากที่เราเริ่มรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่หวู่ฮั่น เราสังเกตว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เสียชีวิตมีความดันโลหิตสูง”

 

ทีมวิจัยพบว่า 4% ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความดันโลหิตสูงเสียชีวิต เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันโลหิตปกติจะเสียชีวิตเพียง 1.1% และ 7.9% ของผู้ป่วยที่หยุดรับยาลดความดันโลหิต ก็เสียชีวิตเช่นกัน

 

จากนั้นนักวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยอีก 2,300 ราย เพื่อดูว่ายาความดันโลหิตที่พวกเขาใช้มีผลกับอัตราการเสียชีวิตหรือไม่ มีความกังวลเกี่ยวกับยาที่รู้จักกันในชื่อ ACE-2 และ ARBs ซึ่งใช้กลไกที่คล้ายคลึงกับโควิด-19 ในการเข้าถึงเซลล์ แพทย์บางคนกลัวว่า ยาเหล่านั้นจะทำให้ไวรัสเข้ามาติดเชื้อในเซลล์ได้ง่ายขึ้น เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ถึงร้อยละ 9 แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดในประเด็นดังกล่าว

 

กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจําตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เมื่อป่วยด้วยโรคโควิต-19 ควรมีความตระหนักและมีความระมัดระวังเป็น พิเศษ เพราะอาจมีความเสี่ยงนําไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้สูง เนื่องจากเชื้อไวรัส SARs-Cov-2 ส่งผลให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 17%, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 7% ส่งผลให้เกิดระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว 9%


ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ
ผู้มีความดันโลหิตสูงจึงควรหมั่นตรวจวัดระดับความดันโลหิตอย่างสม่ําเสมอเป็นประจํา หมั่นดูแลสุขภาพจิตให้ดี ผ่อนคลายความตึงเครียดวัตกกังวล เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

 

 

 

 

ที่มา : กรมวิทย์ , กระทรวงสาธารณสุข , CNN , กรมควบคุมโรค

ภาพโดย Pera Detlic จาก Pixabay 

 

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

โควิด-19 : เรื่องวัคซีนโควิด ที่ผู้ป่วยโรคประจําตัวต่อไปนี้ควรรู้

สถานการณ์โควิด-19: รู้จัก "โรคอ้วน" หนึ่งในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนระยะแรก

8 โรคประจำตัว หากติดโควิด-19 เสี่ยงมีอาการรุนแรง

ระวัง 5 โรคหน้าหนาว ยอดเสียชีวิตมากกว่า COVID-19

อันตรายจาก "โรคเบาหวาน" กับการติดเชื้อโควิด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง