รีเซต

จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อ 'ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร' ข้อมูลส่วนตัวตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ

จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อ 'ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร' ข้อมูลส่วนตัวตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ
TeaC
9 กันยายน 2564 ( 14:21 )
37K
1
จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อ 'ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร' ข้อมูลส่วนตัวตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ

จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อ "ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร" ข้อมูลส่วนตัวของเราตกไปอยู่ในมือของเหล่ามิจฉาชีพ ทั้งที่เมื่อสำรวจเบื้องต้นบางคนไม่ได้ให้ข้อมูลส่วนตัวไปกับคนแปลกหน้าที่ไม่มีที่มาที่ไป ส่วนใหญ่ก็ทำธุรกรรมทางการเงิน หรือหน่วยงานภาครัฐที่มั่นใจว่า "ข้อมูลส่วนตัว" ที่สำคัญจะไม่รั่วไหลอย่างเด็ดขาด แต่เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดข่าวการโจรกรรมทางออนไลน์ ซึ่งระบบที่มีรายชื่อผู้ป่วยกว่า 16 ล้านคนของกระทรวงสาธารณสุขไทย ถูกแฮกเกอร์แฮกข้อมูลไป

 

คำถามที่หลายคนเกิดความสงสัยและเกิดความวิตกกังวล นั่นคือ จะเกิดอะไรขึ้น! เมื่อ "ชือ-ที่อยู่-เบอร์โทร" ส่วนตัวตกไปอยู่ในมือมิจฉาชีพ ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวมีรูปแบบการหลอกลวงมากมายที่มีเทคนิคทันยุค ทันสมัยแถมแนบเนียนจนถึงขนาดหากใครไม่เท่าทันและอัปเดตวิธีการของเหล่ามิจฉาชีพทั้ให้รู้ทัน ย่อมมีโอกาสที่จะตกเป็น "เหยื่อ" ได้ง่าย

 

สำหรับการหลอกลวงเพื่อโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว หรือที่เรียกกันว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) มีเทคนิคและรูปแบบในการหลอกลวงทั้งเว็บไซต์ปลอมหลอกให้ลงทะเบียน หรือส่ง SMS ปลอมยืนยันข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีแล้วล่ะก็ ข้อมูลส่วนตัวของเราอาจอยู่ในมือมิจฉาชีพทั้งหมดแล้วก็เป็นได้ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเราก็ตามมาในที่สุด วันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้รับมือและป้องกันก่อนตกเป็น "เหยื่อ" ของเหล่ามิจฉาชีพที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นและมาหลายรูปแบบของเทคนิคต่าง ๆ 

 

จากข้อมูลเว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์ได้สรุปคำแนะนำเมื่อข้อมูลส่วนตัวของเราตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ ความเสียงและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเรานั้น มี 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 

 

1. เงินหายไปจากบัญชี


เชื่อว่าต้องเคยผ่านหูผ่านตาของข่าวที่มีผู้ร้องเรียน หรือแจ้งความว่าเงินหายไปจากบัญชี และนี่คือวิธีหลอกลวงของเหล่ามิจฉาชีพอันดับต้น ๆ ที่พบได้บ่อย มีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก เนื่องจากเมื่อเราถูกโจรกรรมข้อมูล ทั้งชื่อผู้ใช้ (Username)  รหัสผ่าน (Password) หรือ รหัส OTP มิจฉาชีพจะนำข้อมูลส่วนตัวไปทำธุรกรรมทางออนไลน์ โดยสามารถโอนเงินออกจากบัญชีของเราไปยังบัญชีของมิจฉาชีพได้อย่างรวดเร็ว มารู้ตัวอีกทีเงินก้เกลี้ยงบัญชีแล้ว
 

 

2. ถูกนำข้อมูลบัตรไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์

 

หมายเลขบัตร วันที่บัตรหมดอายุ (Exp.) และเลข CVV หลังบัตร เป็นข้อมูลสำคัญมาก ๆ ที่ผู้ถือบัตรต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูล เพราะหากมิจฉาชีพรู้ข้อมูลที่กล่าวข้างต้น สามารำนบัตรของเราไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์ ทไให้เหยื่อที่เป็นเจ้าของบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต เป็นหนี้ที่ไม่ได้ก่อโดยไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีตอนที่ใบแจ้งนี้ส่งมาถึงบ้าน

 

3. สร้างบัญชีปลอม ไปทำธุรกรรมอื่น ๆ


อีกหนึ่งความเสียหายที่บางคนอาจเคยเจอมาแล้ว เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูลส่วนบุคคลไป มิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเราไปสร้างบัญชีปลอมในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือสมัครสินเชื่อ สมัครบัตรเครดิตต่าง ๆ แม้กระทั่งสร้างเว็บไซต์ หรือสร้างเฟซบุ๊กส่วนตัวในการหลอกลวงคนอื่นให้โอนเงิน โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัวได้

 

และนี่คือ 3 ความเสียหายเมื่อข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิตต่าง ๆ ล้วนเป็นข้อมลสำคัญที่ต้องระมัดระวังอย่างมากที่ต้องตั้งสติก่อนกด Link ที่ได้รับผ่านข้อความ SMS หรือก่อนลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่ตั้งข้อสังเกต หรือเช็คให้แน่ใจก่อนว่า ใช่เว็บไซต์จริง หรือจากหน่วยงานที่มีตัวตนจริงหรือไม่ 

 

เมื่อรู้ตัวว่าให้ข้อมูลกับมิจฉาชีพไปแล้ว รีบทำ 3 ขั้นตอนนี้

 

แต่เมื่อรู้ตัวว่าให้ข้อมูลกับมิจฉาชีพไปแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำ คือ 

 

1. เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ ทั้งหมด


หากมีการใช้ชื่อผู้ใช้ (User) หรือ รหัสผ่าน (Password) เดียวกันในระบบอื่น ๆ ก็ควรเปลี่ยน รหัสผ่าน (Password) ให้ครบทุกระบบ เพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยมีเทคนิคการตั้งรหัสผ่านใหม่ง่าย ๆ 2 ข้อดังนี้

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ ชื่อภาษาอังกฤษ, เลขบัตรประชาชน, วัน/เดือน/ปี เกิด, เลขเรียง และ เลขซ้ำกันเกิน 3 ตัว (เลขตอง) เป็นส่วนประกอบในการตั้งรหัส
  • ตั้งรหัสผ่านใหม่ให้แตกต่างกันในแต่ละระบบ

 

2. ระงับการใช้บัตรเดบิต / บัตรเครดิต (กรณีให้ข้อมูลบัตรไป)


เมื่อรู้ว่าให้ข้อมูลบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต กับเหล่ามิจฉาชีพไป ควรรีบติดต่อสถาบันการเงิน หรือโทรสายด่วนของธนาคารที่ได้ทำบัตรไว้ ให้ดำเนินการอายัดบัตรดังกล่าวชั่วคราวไว้ก่อน

 


3. ติดต่อหน่วยงาน ขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษา หากถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว

 

และควรติดต่อเจ้าหน้าเพื่อขอคำแนะนำ ขอความช่วยเหลือ รวมถึงศึกษาขั้นตอนการตรวจสอบความเสียหายให้เมื่อปัญหาอาชญากรรมทางการเงิน หรือขอหลักฐานต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป

 


4. รวบรวมหลักฐานแจ้งความที่สถานีตำรวจ


รวบรวมหลักฐานแจ้งความที่สถานีตำรวจ ตามคำแนะนำของ Call Center โดยเร็วที่สุด เพื่อระงับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยเว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์ได้อธิบายถึงมีเทคนิคการแจ้งความดังต่อไปนี้

 

  • แจ้งความที่สถานีตำรวจในบริเวณใกล้เคียง โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า “ขอแจ้งความเพื่อขอออกหมายเรียกพยานเอกสาร”
  • ให้หมายเรียกพยานเอกสาร ครอบคลุมความเสียหายให้ได้มากที่สุด โดยต้องมีคำว่า “ให้ดำเนินการระงับบัญชี...... รวมทั้งบัญชีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนยอดเงินดังกล่าว” อยู่ในหมายเรียกพยานเอกสารด้วย

 

อย่าลืมศึกษาและนำวิธีเหล่านี้ไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันเหล่ามิจฉาชีพที่ทุกวันนี้ปรับเปลี่ยนวิธีการในการหลอกลวง หรือโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ไม่ควรรั่วไหล แต่เมื่อรั่วไหลแล้วรีบจัดการตามคำแนะนำกันด้วยนะ จากผลเสียที่มากอาจลดน้อยลง หรือเกิดผลเสียน้อยที่สุดกับตัวเรา

 

 

ข้อมูล : ธนาคารไทยพาณิชย์

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง