จะรู้ได้ยังไง? เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
TeaC
22 เมษายน 2564 ( 15:43 )
241
ข่าววันนี้ หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาแถลงถึงกรณีผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมีอาการ อัมพฤกษ์ ซึงเป็นโรคที่สามารถเป็นได้ แต่ก็สามารถหายได้ปกติเช่นกัน เพียงแค่หมั่นสังเกต และป้องกันก่อนที่จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
วันนี้ TrueID ขอชวนทุกคนมารวมสังเกตและเช็ก อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต คนในครอบครัว รู้ทัน รักษาทัน ป้องกันได้
แม้ว่า อัมพฤกษ์ เป็นหนึ่งโรคฮอตฮิตที่น่ากลัวในกลุ่มของผู้สุงอายุที่มีภาวะเสี่ยงมากกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า กลุ่มวันรุ่น วัยทำงาน และวัยกลางคน ต่างมีโอกาสเป็น อัมพฤกษ์ ได้เช่นเดียวกัน
อัมพฤกษ์ อัมพาต สาเหตุมาจากอะไร ?
- โรคที่เกี่ยวกับสมอง ไม่ว่าจะเป็น เส้นเลือดในสมองอุดตันที่ทำให้สมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง มะเร็งในสมอง หรือหลอดเลือดในสมองแตกจากโรคความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดโป่งพองในสมอง
- โรคที่ไขสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังเคลื่อน ติดเชื้อที่กระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง เนื้องอกที่กระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง
อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากปัจจัยเสี่ยงอะไรได้บ้าง ?
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือวัยสูงอายุ
- ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าผู้หญิง
- ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นอัมพาตถึง 3 เท่า เนื่องจากผนังหลอดเลือดอ่อนแอจึงเกิดการแตกง่าย ทำไปสู่การเป็นอัมพาตได้
- ผู้ที่มีโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและตีบแคบ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้ก้อนไขมันเกาะติดกับผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวแข็งขึ้น และหลอดเลือดตีบแคบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะไปทำลายอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ปอด หัวใจ และหลอดเลือด ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในหลอดเลือดลดน้อยลงจึงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ
5 สัญญาณ! อัมพฤกษ์ อัมพาต รีบไปพบแพทย์
- ชา หรืออ่อนแรงที่หน้า แขน หรือขา ซีกใดซีกหนึ่ง อย่างทันทีทันใด
- พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำพูด อย่างทันทีทันใด
- มีปัญหาการมองเห็น ตามัว หรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อย่างทันทีทันใด
- มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินไม่ได้ เดินลำบาก เดินเซ หรือสูญเสียการทรงตัวในการยืนและเดิน อย่างทันทีทันใด
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างทันทีทันใด โดยไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ?
- อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะเป็นทั้งแขนและขา
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือการเดินไม่ได้ แม้ว่ากล้ามเนื้อยังคงมีแรงอยู่
- ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสาร ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน (global aphasia) บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง (motor aphasia) บางรายพูดลำบาก (dysarthria)
- ไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่ง มักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย
- มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
- มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้
- มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
- มีปัญหาเกี่ยวการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
- มีอาการเหนื่อยง่าย
- มีอารมณ์ผันผวน เช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง
การรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มีวิธีการอย่างไร ?
การรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ขึ้นอยู่กับสาเหตุและโรคต้นเหตุของผู้ป่วย เช่น
- ผ่าตัดสมอง เมื่อเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก
- ใส่สารอุดตันเข้าหลอดเลือด เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
- ให้ยาละลายลิ่มเลือด เมื่อเกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน
- ให้ยาลดการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด
- ควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
- การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อแขน/ขา หรือการฝึกพูด
เราสามารกป้องกันการเกิดโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างไร?
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุในการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และลดอาหารประเภทไขมัน แป้ง น้ำตาล
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
ข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท