รีเซต

โรคหลอดเลือดในสมองตีบ "รักษาเร็ว ก็รอด"

โรคหลอดเลือดในสมองตีบ "รักษาเร็ว ก็รอด"
TrueID
21 เมษายน 2564 ( 15:52 )
335

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลกประกาศว่า จะมีผู้เสียชีวิต 15 ล้านคน ส่วนอีก 4 เท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตจะพิการและได้รับผลกระทบจาก "โรคหลอดเลือดสมอง" ส่วนประเทศไทยมีรายงานว่า ในปี 2550 มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว 15,000 คน และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองมีมากถึง 11 ล้านคน กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทย แต่สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วการติดเชื้อฯยิ่งทำให้อาการของโรคย่ำแย่มากกว่าเดิม จะเป็นอย่างไร trueID จะพาไปหาคำตอบกัน

 

 

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้กี่ประเภท

 

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เมื่อเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองมีปริมาณลดลง จะทำให้สมองทำงานไม่ได้ตามปกติ ซึ่งแสดงออกผ่านทางร่างกายด้วยอาการต่างๆ มากน้อยขึ้นอยู่ที่ความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด โดยมีอาการที่สำคัญคือ อาการชาตามแขนขาใบหน้าหรือซีกใดหนึ่งของร่างกายสื่อสารบกพร่องสับสน เห็นภาพซ้อนพร่ามัว (เพียงข้างเดียว) ปวดหรือเวียนศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทรงตัวไม่อยู่บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

 

 

การเสียชีวิต

 

จากรายงานขององค์การอัมพาตโลก (WSO) พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก พบผู้ป่วยจำนวน 80 ล้านคน ผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 13.7 ล้านคนต่อปี โดย 1 ใน 4   เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และร้อยละ 60 เสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรโลกปี 2562 พบว่า ทุกๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน โดยร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้

 

สำหรับประเทศไทย จากรายงานข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ปี 2556-2560 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2559 พบผู้ป่วย 293,463 รายในปี 2560 พบผู้ป่วย 304,807 ราย และจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองปีละประมาณ 30,000 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งสามารถเกิดได้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง จึงได้กำหนดคำขวัญการรณรงค์วันอัมพาตโลกในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 คือ “อย่าให้ อัมพฤกษ์ อัมพาต...เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณ” เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคดังกล่าว และรู้ถึง

 

 

โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (Stroke)

 

โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่เป็นมักมีอาการอย่างเฉียบพลัน บางรายโชคดีถึงมือแพทย์เร็วทันเวลาก็อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่บางรายต้องกลายเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต และบางรายต้องเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง คนใกล้ชิด ไปจนถึงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม

 

โรค หลอดเลือด สมองตีบตัน หรือ Stroke เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ เช่น ตามองไม่เห็น ชาครึ่งซีก หรือเป็นอัมพาตแบบครึ่งซีก พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ เป็นต้น ส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังสร้างสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม

 

 

สัญญาณเตือนเมื่อโรคนี้เข้ามาเยือน

 

สัญญาณเตือนของโรค คือ “F.A.S.T” ย่อมาจาก

F (Face) เวลายิ้มแล้วพบว่ามุมปากข้างหนึ่งตก

A (Arms) ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ขึ้น

S (Speech) มีปัญหาด้านการพูด แม้แต่ประโยคง่ายๆ

และ T (Time) เวลามีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนภายใน 4 ชั่วโมงครึ่งรวมการรักษา เพื่อจะได้รับการรักษาให้ทันเวลาและสามารถฟื้นฟูให้กลับมาได้เป็นปกติมากที่สุด หรือโทรสายด่วน 1669 ให้บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

การป้องกัน

 

อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ โดยประชาชนทุกคนต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนของการเกิดโรค และปฏิบัติตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยง ดังนี้

 

1.เลิกสูบบุหรี่

2.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3.กลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว ควรดูแลรักษาสุขภาพตามที่แพทย์แนะนำ ควรรับประทานยาและไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษา

4.ควบคุมน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์

5.ออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

6.ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย มีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม

7.ลดอาหารหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก ผลไม้  

8.ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

“อาการแทรกซ้อนทางสมองจากโรคโควิด-19”

 

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Psychiatry พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองในผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักจำนวน 125 คนที่รักษาในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักร เกือบครึ่งมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มาจากลิ่มเลือด ขณะที่อีกส่วนมีอาการสมองอักเสบ มีอาการคล้ายผู้ป่วยวิกลจริต หรือผู้มีภาวะสมองเสื่อม

 

สำนักข่าวเอบีซี (ABC News) รายงานถ้อยคำของโธมัส ออกซ์เลย์ นายแพทย์ชาวออสเตรเลีย หัวหน้าแผนกอภิบาลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลเมาท์ ไซนาย (Mount Sinai Hospital) ในนครนิวยอร์ก ที่กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า (23 เม.ย.) ว่าผู้ป่วยหลายรายมี “อาการแทรกซ้อนทางสมองจากโรคโควิด-19

 

ออกซ์เลย์ระบุว่า “เราพบว่าผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลเมาท์ไซนายมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น

 

สิ่งที่เราพบคือโรคที่อย่างน้อยได้ก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเราถึงคิดว่ามีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น

 

ออกซ์เลย์กล่าวว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอายุมากก็มีโรคหลอดเลือดสมองเช่นกัน แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า “ผู้ป่วยอายุน้อยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นมาก

 

ที่มา : Xinhua , สสส 

ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay 

++++++++++

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

โควิด-19 : เรื่องวัคซีนโควิด ที่ผู้ป่วยโรคประจําตัวต่อไปนี้ควรรู้

สถานการณ์โควิด-19: รู้จัก "โรคอ้วน" หนึ่งในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนระยะแรก

8 โรคประจำตัว หากติดโควิด-19 เสี่ยงมีอาการรุนแรง

ระวัง 5 โรคหน้าหนาว ยอดเสียชีวิตมากกว่า COVID-19

อันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง กับการติดเชื้อโควิด-19

อันตรายจาก "โรคเบาหวาน" กับการติดเชื้อโควิด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง