รีเซต

ปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่ “กักตัวที่บ้าน” ได้ หากอาการดีแล้ว

ปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่ “กักตัวที่บ้าน” ได้ หากอาการดีแล้ว
Ingonn
7 พฤษภาคม 2564 ( 14:40 )
883
ปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่ “กักตัวที่บ้าน” ได้ หากอาการดีแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยใหม่ กรณีอาการดีขึ้น แพทย์เห็นว่าไม่มีอาการ ระหว่าง 24-48 ชั่วโมง ให้อยู่ รพ. 10 วัน และกลับไปกักตัวที่บ้านต่ออีก 4 วัน จนครบ 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน โดยยึดหลักการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อตามมาตรฐานวิถีใหม่

 

แนวทางการรักษาผู้ป่วยใหม่ กรณีอาการดีขึ้น

 

1. ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ - พักในโรงพยาบาลหรือ SQ อย่างน้อย 14 วัน (ในจังหวัดที่มีปัญหาการบริหารเตียง อาจให้อยู่ รพ. 10 วัน และกลับไปกักตัวต่อที่บ้านอีก 4 วัน จนครบ 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ)

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย - พักในโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่มีอาการ เมื่อครบหากยังมีอาการให้อยู่ในโรงพยาบาลต่อ หรือใน SQ จนไม่มีอาการแล้วอย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น (ในจังหวัดที่มีปัญหาการบริหารเตียง อาจให้อยู่โรงพยาบาล 10 วัน หากอาการดีขึ้นเป็นปกติให้กลับไปกักตัวต่อที่บ้านจนครบ 14 วัน นับจากวันที่มีอาการ)

 

โดยแนวทางดังกล่าว เป็นการบริหารตามสถานการณ์ที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่คงที่เท่าไหร่ และเป็นการเปิดช่องให้แพทย์หรือหน่วยงานผู้ดูแล สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ครองเตียงตรงนั้นได้

 

 

แล้วกักตัวเองที่บ้าน ต้องทำอย่างไรบ้างล่ะ?

 

 

เมื่อต้องกักตัว 14 วัน


Step 1 เตรียมที่พักและอุปกรณ์อย่างไรให้พร้อม


1.แยกห้องนอนและห้องนํ้าออกจากผู้อื่น (ห้องพัก โปร่ง มีอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง)


2.แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้า) แยกทําความสะอาด


3.มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70% หน้ากากอนามัย สบู่


4.มีอุปกรณ์ทําความสะอาด เช่น ถุงขยะ โดยจัดถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดไว้นอกบ้าน สารฟอกขาว นํ้ายาทําความสะอาด

 

 

 

Step 2 ข้อปฏิบัติกรณีอยู่บ้านคนเดียว


1.วัดอุณหภูมิทุกวัน ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส


2.ล้างมือด้วยนํ้าและฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์


3.ปิดปากจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอ จาม ทิ้งทิชชูในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท และทําความสะอาดมือทันที


4.หากจําเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากาก อนามัย รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร และใช้เวลาให้สั้นที่สุด


5.แยกขยะที่ถูกสารคัดหลั่งเช่นหน้ากากอนามัย กระดาษทิชชูโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ราดด้วย นํ้ายาฟอกขาว มัดปากถุงให้แน่นก่อนนําไปทิ้ง


6.ทําความสะอาดโถส้วม อ่างล้างมือ หลังใช้งาน


7.งดกิจกรรมนอกบ้าน หยุดงาน หยุดเรียน งดไปในที่ชุมชน งดใช้ขนส่งสาธารณะ

 

 

 

ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัว กรณีอยู่ร่วมกับครอบครัว / พักร่วมกับผู้อื่น


1.วัดอุณหภูมิทุกวัน ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส


2.ล้างมือด้วยนํ้าและฟอกสบู่


3.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร


4.แยกห้องนอน แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้าโทรศัพท์) รวมทั้งแยกทําความสะอาด


5.แยกรับประทานอาหาร ตักแบ่งอาหาร มารับประทานต่างหาก ล้างภาชนะด้วย นํ้ายาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด


6.แยกห้องนํ้า หากแยกไม่ได้ควรใช้ห้องส้วม เป็นคนสุดท้ายและทําความสะอาดทันที ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรค


7.แยกขยะที่ถูกสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากาก อนามัย กระดาษทิชชูโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ราดด้วยนํ้ายาฟอกขาว มัดปากถุงให้แน่น


8.หากจําเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากาก- อนามัย ที่ใช้แล้วให้ทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด มิดชิด และทําความสะอาดมือทันที


9.งดกิจกรรมนอกบ้าน หยุดงาน หยุดเรียน งดไปในที่ชุมชน งดใช้ขนส่งสาธารณะ

 

 

 

 


ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , สู้โควิดไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน กระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง