เคยติดโควิด-19 แล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกทีเมื่อไหร่
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน อาจไม่แน่ใจว่าเราควรต้องไปรับวัคซีนอีกหรือไม่ เพราะการติดเชื้อก็เปรียบเสมือนเรามีภูมิแล้วรึเปล่า หรือถ้าต้องฉีดวัคซีน ควรฉีดเมื่อไหร่ถึงจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม จะมีผลข้างเคียงไหม
คำถามเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมากมาย TrueID จึงมาร่วมไขคำตอบเพื่อให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 เตรียมปฏิบัติตัวให้พร้อมเมื่อต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด
หากติดเชื้อโควิด-19 จนรักษาหายแล้ว สามารถกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกายแต่ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เสมอ แม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อนก็ตาม
โดยหลักการทางไวรัสวิทยาแล้ว ในโคโรนาไวรัส การเป็นแล้วควรจะมีภูมิต้านทานที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นใหม่ได้ แต่ต้องมีการศึกษาในระยะต่อไปว่าตัวไวรัส จะมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเหมือนเช่นในกรณีไข้หวัดใหญ่ที่สามารถเป็นแล้วเป็นอีกได้ เนื่องจากสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปี แต่สำหรับโควิด-19 ขณะนี้ยังไม่เห็นพฤติกรรมของไวรัสนี้ เป็นแบบไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใด
สาเหตุที่ติดเชื้อโควิดซ้ำ
หลังการติดเชื้อโควิด ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจะลดระดับลงอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงจุดหนึ่งมีโอกาสติดซ้ำได้อีก แต่ไม่ได้แปลว่าติดเชื้อแล้วจะต้องติดอีก 100% ขึ้นกับหลายปัจจัย เพียงแต่เป็นการบอกว่าระดับภูมิคุ้มกันต่ำถึงจุดหนึ่ง เมื่อติดแล้วติดใหม่ได้
นานแค่ไหนที่ผู้รักษาโควิดหายแล้วจะติดโควิดซ้ำอีก
ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ยังสามารถตรวจพบสารพันธุกรรม RT-PCR ได้อยู่ บางรายอาจใช้เวลานานถึง 1 เดือน หรือ เดือนครึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ที่มีการตรวจพบซ้ำตามที่เราเห็นข่าว ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือในประเทศจีนก็ตาม มักจะเป็นการตรวจพบซากเชื้อไวรัสเท่านั้น และยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สารพันธุกรรมที่ตรวจพบนั้นจะสามารถแพร่เชื้อได้อีก แต่ภูมิต้านทางโรคโควิดจะลดลงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
การติดเชื้อซ้ำรุนแรงมากกว่าติดเชื้อครั้งแรกหรือไม่
ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่น ปริมาณของไวรัสหรือโด๊สที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ไวรัสที่กลายพันธุ์แขนงต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จะมีผลต่อความรุนแรงของการติดเชอ
ต้องฉีดวัคซีนโควิดเมื่อไหร่
โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม เพราะจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากอย่างเพียงพอ
ต้องฉีดกี่เข็ม หรือต้องครบ 2 เข็มเหมือนคนทั่วไป
วารสาร Nature Medicine พบว่าการให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจาก โรคโควิด-19 แล้ว อาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม เพราะจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากอย่างเพียงพอ และมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง ผู้ที่หายป่วย ส่วนจะให้ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจนแต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทาน ของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อยๆ
หายป่วยโควิดแล้วต้องทำอย่างไรต่อ
คำแนะนำในการปฏิบัติตนเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล หลังแพทย์จำหน่ายให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน
1.ไม่จำเป็นต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่นเพราะหายจากโรคแล้ว (ซึ่งต่างจากกรณีเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงหรือเพิ่งจะได้รับการวินิจฉัย บุคคลเหล่านี้ยังอยู่ในระยะแพร่เชื้อ จึงต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่น)
2.การดูแลสุขอนามัย ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
4.ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
5.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
6.หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจ ไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมาสถานพยาบาล แนะนำให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา
เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เมื่อเป็นโรคมีอาการรุนแรงน้อยลงหรือไม่
วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ป้องกันโรครุนแรงได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงยังจำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ หลีกเลี่ยงการไปยังที่ที่มีคนหนาแน่น และล้างมือบ่อย ๆ ต่อไปอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีความมั่นใจว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว จึงจะสามารถลดหย่อนมาตรการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้ให้คำแนะนำต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า โรคโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นแล้วจากการติดเชื้อ แล้วเป็นโรค หรือฉีดวัคซีน ก็ยังมีโอกาสที่จะเป็นได้อีก แต่อาการจะลดลง และมีโอกาสสูงมากที่จะต้องให้วัคซีนเข็มที่ 3 และต่อไปอาจจะต้องให้เป็นระยะ ก็เป็นไปได้
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊กนพ.ยง ภู่วรวรรณ , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , รายงานการติดไวรัสโคโรนาซ้ำอีกครั้ง: ผลต่อการควบคุมการะบาดและการพัฒนาวัคซีน , Drama-addict , กรมการแพทย์
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมตัวให้พร้อม! ก่อนเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19
- สรุปทุกปัญหา “การฉีดวัคซีนโควิด-19” ปลอดภัยไหม? ใครต้องควรระวัง?
- รู้ไว้! ผลข้างเคียงจากวัคซีน 'แอสตร้าเซนเนก้า'
- รวม มี โรงพยาบาล เอกชน ที่ไหนบ้าง? เปิดขั้นตอนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด
- เช็ก! ข้อปฏิบัติที่ต้องทำ “หลังฉีดวัคซีนโควิด-19”
- ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง
- ห้ามกิน-ดื่มอะไร ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด-19
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ ประกาศ กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้และยาอะไรไม่ควรกินก่อนฉีด
- เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนซิโนแวค
- ปวดหัวหนัก แขนขาชา หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มาจากความเครียดรึเปล่า