รีเซต

รู้ไว้! ผลข้างเคียงจากวัคซีน 'แอสตร้าเซนเนก้า'

รู้ไว้! ผลข้างเคียงจากวัคซีน 'แอสตร้าเซนเนก้า'
TeaC
8 มิถุนายน 2564 ( 19:46 )
14.7K

 

ข่าววันนี้ หลังจาก 7 มิถุนายน 2564 วันแรกคิกออฟเริ่มฉีดวัคซีนโควิดทั่วไทย ประชาชนคนทั่วไปและกลุ่มผู้สูงอายุกำลังทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากโรงพยาบาล ศูนย์ฉีดวัคซีนต่าง ๆ และจุดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ซึ่งผลข้างเคียงจากวัคซีนเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้เข้ารับวัคซีนอย่างมาก ดังนั้น แอสตร้าเซนเนก้า หรือ AstraZeneca หนึ่งในวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติใช้งานแล้วกว่า 168 ประเทศทั่วโลก และสามารถฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

 

 

สำหรับการรับวัคซีน AstraZeneca เพื่อป้องกันโควิด-19 นั้น ไม่เพียงช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) เมื่อมีการฉีดวัคซีนมากกว่า 70% ของจำนวนประชากร แต่ยังป้องกันอาการป่วยจากโควิด ป้องกันการติดเชื้อรุนแรงที่ต้องเข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19  ได้ถึง 100% หลังฉีดเข็มแรก 22 วันไปแล้ว และจากการศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนไทย พบว่าหลังฉีดเข็มแรก 30 วัน ผู้ใช้วัคซีนมีภูมิคุ้มกันถึง 96.7% รวมทั้งยังช่วยลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาได่สูงถึง 63.0% หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์

 

อีกทั้ง AstraZeneca ยังระบุเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ดังนี้

 

อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป

  • น้อยกว่า 60% มีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีด
  • น้อยกว่า 50% มีอาการปวดศรีษะ และ อ่อนเพลีย
  • น้อยกว่า 40% มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • น้อยกว่า 30% มีอาการไข้ หนาวสั่น
  • น้อยกว่า 20% มีอาการปวดข้อ และ คลื่นไส้  

 

ส่วนอาการข้างเคียงที่พบได้ยาก ข้อมูล AstraZeneca ระบุว่า มีน้อยกว่า 1% ที่มีอาการดังต่อไปนี้

 

  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เบื่ออาหาร
  • มึนหรือเวียนศรีษะ
  • ปวดท้อง
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • มีผื่นคัน

 

รวมทั้ง จากข้อมูลการใช้วัคซีนในสหราชอาณาจักพบภาวะลิ่มเลือก 0.000013% ใน 1,000,000 คน7 และจากข้อมูลการใช้วัคซีนในประเทศอินเดียพบภาวะลิ่มเลือด 0.61 ใน 1,000,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564)

 

ก่อนฉีดวัคซีน จะได้รับการตรวจสอบ ดังนี้

 

  • เป็นผู้ที่ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูงเกิน 37.5 องศา ในวันที่เข้ารับการฉีดวัคซีนฯ
  • ไม่มีโรคประจำตัวขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ได้แก่ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้องรัง กลุ่มโรคระบบประสาท กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • ไม่มีประวัติแพ้ยาหรือสารประกอบในกลุ่มที่ระบุ
  • ผู้มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถฉีดวัคซีนได้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ฯ

 

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html 

 

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง