รีเซต

ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง

ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง
Ingonn
8 มิถุนายน 2564 ( 10:20 )
12.5K
ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง

ทำความเข้าใจกันใหม่อีกครั้ง หลังเพจเฟซบุ๊กเพจ “สมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย (The Neurological Society Of Thailand ) โพสต์ว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 หากผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดความกังวลใจ สามารถทำตามคำแนะนำของทางสมาคมได้ ตามประกาศดังนี้

 

 

1.เนื่องจากมีรายงานผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา หรืออาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่าง ๆ ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) อย่างชัดเจน อาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น

 

 

2.จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนำเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่างๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline, Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกินอยู่เป็นประจำ

 

 

3.หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรน หรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแนะนำอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น

 

 

 

 


วันนี้ TrueID จึงได้สรุปข้อมูลจากสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทยเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดกับการใช้ยาไมเกรนมาฝากกัน

 

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกชนิดและอาการทางระบบประสาทที่พบในขณะนี้ 

 

1. โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง สามารถทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิตได้

 

2. การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อ ลดการแพร่เชื้อ ลดความรุนแรงของโรค และลดการเสียชีวิตอย่างชัดเจน

 

3. การฉีดวัคซีนทุกชนิด ไม่เฉพาะแต่โควิดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคชีนป้องกันคอตีบ ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้ ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด ชาเป็นหย่อม ๆ สามารถหายเองได้ 

 

4. สำหรับอาการชาบางส่วนของร่างกาย หรือข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย หรือมีอาการอ่อนแรงเล็กน้อยทำให้รู้สึกใช้งานได้ไม่เป็นปกติ ที่พบในผู้ที่ใด้รับวัคซีนโควิดในขณะนี้ พบว่าไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต) และตรวจไม่พบลิ่มเลือดอุดตันหรือเลือดออกในสมอง อาการดังกล่าวหายเองได้ 

 

5. อาการข้างเคียงทางระบบประสาทที่พบรุนแรง พบได้น้อยมากประมาณ 1-2 คนต่อการฉีด 1 ล้านครั้ง และสามารถรักษาได้

 

 


การฉีดวัคซีนโควิดทำให้เส้นเลือดเกิดการหดตัวจริงหรือไม่

 

เนื่องจากมีรายงานผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทชั่วคราว ซึ่งหลายรายมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง โดยมีข้อสันนิษฐานว่า วัคซีนโควิด อาจทำให้เส้นเลือดหดตัวชั่วคราว นั้น

 

ทางสมาคมประสาทวิทยา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคระบบประสาท ได้รวบรวมกรณีผู้ป่วยจากหลายแห่งทั่วประเทศและทำการทบทวนกรณีผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มีการตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และ ฉีดสีเพื่อตรวจเส้นเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) พบว่า ไม่พบความผิดปกติของเนื้อสมองและหลอดเลือดตีบหรือหดตัวอย่างชัดเจน อาการความผิดปกติของสมองต่อการฉีดวัคซีนดังกล่าว เกิดจากการตอบสนองในเชิงการทำงานจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิด-ขึ้นชั่วคราว เท่านั้น

 

 

 

ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยไมเกรนและการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน

 

จากหลักฐานทางการแพทย์ที่มีการตรวจหลอดเลือดสมองและไม่พบความผิดปกติหรือหดตัวของหลอดเลือดอย่างชัดเจน จึงมีคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไมเกรนดังนี้

 

1. ยากลุ่ม NSAIDs , ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่ม ทริปแทน เป็นยาแก้ปวดศีรษะ ทานเฉพาะเวลามีอาการปวดศีรษะ ไม่มีความจำเป็นต้องหยุดยาก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 

 

2. หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 หากมีอาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้น สามารถรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนได้ โดย ในกรณีที่มีอาการปวดศีรษะน้อยหรือปานกลาง เลือกใช้ยาในกลุ่ม acetaminophen หรือ NSAIDs และ หากมีอาการปวดศีรษะปานกลางหรือรุนแรง ให้เลือกใช้ยาแก้ปวดที่จำเพาะต่อไมเกรนได้แก่ ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่ม ทริปแทน

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่เคยรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน โดยเฉพาะในกลุ่ม Ergotamine และ ทริปแทน อาจต้องระวังอาการผลข้างเคียงจากยาซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการใจสั่น และ อาการชา

 

 

3. สำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมีมีการใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน (mecicaiton overused) ไม่แนะนำให้มีการหยุดยา เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะกำเริบ (rebound headache) เกิดขึ้นได้

 

 

4. ยาป้องกันไมเกรน ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptylline , Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม ได้แก่ Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า ได้แก่ Propranolol และ ยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ  ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ ไม่แนะนำให้มีการหยุดยา เนื่องจากอาจทำให้ไมเกรนกำเริบได้

 

 

5. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนโควิด -19 และ อาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น

 

 

 

ผู้ป่วยไมเกรนต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนอย่างไร


1. ให้ผู้ป่วยไมเกรน หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรนให้กำเริบ เช่น ความเครียด การนอนไม่ตรงเวลา การทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มผสมอัลกอฮอล์ เป็นต้น

 

 

2. ในวันที่ฉีดวัคซีน ให้ดื่มน้ำ ทานอาหารให้เพียงพอ และลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นไมเกรนได้

 

 

3. เนื่องจากในสถานที่ฉีดวัคซีน อาจมีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะกำเริบ เช่น อากาศร้อน ความแออัด ความเครียด เสียงดัง ซึ่งอาจทำให้อาการปวดศีรษะกำเริบได้ ให้เตรียมยาแก้ปวดไมเกรนไปด้วย กรณีที่มีอาการปวดศีรษะ สามารถใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวดได้

 

 

 


ข้อมูลจาก สมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย (The Neurological Society Of Thailand ) , เพจ Smile Migraine นักประสาทวิทยา

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง