รีเซต

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ ประกาศ กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้และยาอะไรไม่ควรกินก่อนฉีด

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ ประกาศ กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้และยาอะไรไม่ควรกินก่อนฉีด
Ingonn
9 มิถุนายน 2564 ( 15:46 )
16.1K
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ ประกาศ กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้และยาอะไรไม่ควรกินก่อนฉีด

เป็นที่ฮือฮาในโซเชียลสำหรับสาวๆเลยทีเดียว เมื่อเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ออกมาโพสต์เรื่องราวการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของเพื่อนที่เสียชีวิต พบลิ่่มเลือดในปอดจากการฉีดวัคซีน คาดว่าอาการดังกล่าวมีผลมาจาก “การทานยาคุม”

 

โดยในโพสต์ระบุคร่าวๆถึง ไทม์ไลน์อาการหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ของเพื่อนผู้โพสต์ จนเมื่ออาการแย่ลง ได้ไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตรวจ ผลตรวจ CT scan กลับเจอ ลิ่มเลือดในปอด (PE) ต้องใส่เครื่อง ecmo และหลังจากนั้นไม่นาน เพื่อนของผู้โพสต์ก็ได้เสียชีวิต อาจเพราะร่างกายไม่รับกับเครื่อง ecmo ที่ใส่ไป ส่วนเจ้าของโพสต์ก็มีอาการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายมา 3-4 วัน จึงโทรไปปรึกษาแพทย์ และเล่าเรื่องที่เพื่อนเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ฟัง โดยแพทย์ได้ถามกลับมาเป็นคำถามแรกว่า ได้กินยาคุมไหม? เพราะกินยาคุมโอกาสการเกิดลิ่มเลือดสูงอยู่แล้ว การฉีดวัคซีนอาจจะเพิ่มโอกาสทำให้เกิดขึ้นได้ และอาการที่แสดงออกของเพื่อนผู้โพสต์บ่งบอก ความดันต่ำ เป็นลม ขึ้น-ลงบันไดแล้วเหนื่อยง่าย

 

 

ประกาศ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ไม่เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตันในผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ทานยาคุมฉีดวัคซีนได้

 

ล่าสุดได้มีประกาศจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 และ การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน โดยมีเนื้อหา ระบุว่า 

 

 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนสำหรับบุคลากรที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนมีหลายอย่าง เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และ แผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด

 

 

ในประเทศไทย การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้ความความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ และมีผลข้างเคียงน้อย ยาเม็ดคุมกำเนิดได้รับการวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 50 ปี 

 

 

รายละเอียดฉบับเต็มของประกาศจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโคิด-19 ในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน มีดังต่อไปนี้ 

 

1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ยาเม็ด ยาฉีดคุมกำเนิด และแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวพบได้น้อยมากในสตรีไทย และยังพบได้น้อยกว่าในสตรีตั้งครรภ์ซึ่งมีระดับเอสโตรเจนสูงมากตามธรรมชาติ 

 

2. ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวบรวมจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีทั่วโลกและในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก “ไม่พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่อย่างใด”

 

3. ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนทุกชนิด สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้ 

 

4. หากยังมีความกังวลใจและต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ มาทดแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ 

 

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำหลักก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนแวค เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนดังนี้

 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่รับประทานยาบางชนิด


1.กลุ่มยาไมเกรน


cafergot / avamigran /tofago แนะนำงดยา 5 วันก่อนฉีดวัคซีน
tripan เช่น relpax แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน

 


2.กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า


SSRI เช่น fluoxetin, sertralin, escitalopram
SNRI เช่น venlafaxine, duloxetine
Tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline, nortriptyline, imipramine
แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซีน

 


3.กลุ่มยาลดน้ำมูก


เช่น pseudoephedrine แนะนำงดยา 24 ชั่วโมงก่อนฉีดวัคซัน

 

 

4.กลุ่มยาอื่นๆ


น้ำมันกัญชา, แผ่นแปะนิโคติน,อาหารเสริมและสมุนไพรต่างๆ แนะนำงดยา 3-5 วันก่อนฉีดวัคซีน

 

 


ข้อแนะนำทั่วไปก่อนฉีดวัคซีน

 

1.ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ


2.งดชา, กาแฟ, บุหรี่, เครื่องดื่มชูกำลัง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 


ผู้ที่ควรเลื่อนฉีดวัคซีน

 

1.หญิงหลังคลอดที่ตั้งครรภ์ปกติระยะเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และหญิงหลังคลอดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษระยะเวลามากกว่า 6 สัปดาห์

 

 

2.ผู้ที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน


-บาดเจ็บของศีรษะ (head injury)


-โรคหลอดเลือดหัวใจ


-โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

3.ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ที่ยังอาการไม่คงที่หรือควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีในช่วงอย่างน้อย 4 สัปดาห์

 

 

 

 

ข้อมูลจาก เพจ Drama-addict , สถาบันบำราศนราดูร , เฟซบุ๊ก  ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง