รีเซต

ครอบครัวต้องรู้! แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช

ครอบครัวต้องรู้! แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช
Ingonn
29 พฤษภาคม 2564 ( 09:32 )
424

คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นอย่างยิ่งนั่นก็คือ ผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีความบกพร่องทางจิต เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง ออทิซึม โรคจิตเภท และโรคทางอารมณ์ เป็นต้น เนื่องจากมีความยากลำบากในการเข้าถึงวัคซีนและมีความเสี่ยงจากอาการทางจิตที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการป้องกันการติดโรคโควิด-19 ดังนั้นครอบครัวและชุมชน ควรมีส่วนช่วยผู้ป่วยจิตเวชในการเข้าถึงวัคซีน

 

 

ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับกลุ่มเฉพาะดังกล่าว และมอบหมายให้โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศจำนวน 20 แห่งดำเนินการทันที โดยเริ่มเปิดบริการครั้งแรกวันนี้ที่ สถาบันราชานุกูล เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

 


ด้านนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวชมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดมากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 6 เท่า และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 และใช้เตียงในหอผู้ป่วยวิกฤต มากกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับบุคคลที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เพื่อเกิดการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว เท่าเทียม และทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุขจึงขอความร่วมมือผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังรับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมไปถึงสถานพยาบาลภาคเอกชนต่าง ๆ สามารถลงทะเบียน ณ โรงพยาบาลจิตเวชใกล้บ้านได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป คาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้ามารับบริการประมาณ 1 ล้านคน ภายในช่วงระยะเวลา 2 เดือน

 

 

 

ข้อปฏิบัติในการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช

 

ผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีความบกพร่องทางจิตนั้นเป็นประชาชนกลุ่มเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ข้อปฏิบัติเฉพาะในการรับวัคซีน ได้แก่

 

1.รับบริการกับบุคคลและสถานที่คุ้นเคย โรงพยาบาลจิตเวชจึงเป็นที่ที่เหมาะสมในการให้บริการวัคซีน

 

2.รับบริการพร้อมสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดความกังวล และง่ายต่อการติดตามมารับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม

 

 

 

ข้อแนะนำการเตรียมตัวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช

 

1.รับประทานยาต่อเนื่องและดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน และ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

 

2.พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

 

3.ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือปรับยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือถอนยาได้

 

4.ยาจิตเวชส่วนใหญ่ปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีนยังไม่พบรายงานถึงปฏิกิริยาระหว่างยาจิตเวชกับวัคซีนโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พค 2564)

 

5.หากผู้ป่วยรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยาและการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่ดูแลรักษา

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง