สรุปปม ดูดวัคซีน 'แอสตร้าเซเนก้า' ให้ได้ 13 โดส มาเหนือกว่า สธ. เคยยันดูดได้ 11-12 โดส
ดูดวัคซีน 'แอสตร้าเซเนก้า' ให้ได้ 13 โดส กระแสดังสนั่นโซเชียลฯ กันเลยทีเดียว หลังสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและข้อความถึง การใช้เข็มฉีดยา อินซูลินแบบถอดปลายเข็มไม่ได้ ใช้ดูดวัคซีน AstraZeneca ให้ได้ 13 Dose / 1 ขวด จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา กันถล่มทลายชนิดเกิดการตั้งคำถามถึง "จรรยาบรรณของวิชาชีพ" และกลายเป็นกระแสสังคมในเชิงลบมากกว่าบวก รวมทั้งเหตุการณ์นี้ยังสร้างความกังวลให้กับผู้รับวัคซีนอีกด้วย กระแสแรงขนาดนี้ TrueID สรุปประเด็นร้อนมาให้อ่านจบในหน้าเดียว
1. ดูดวัคซีน 'แอสตร้าเซเนก้า' ให้ได้ 13 โดส ประเด็นร้อนแรงบนสังคมออนไลน์ หลังจากเพจเฟซบุ๊ก หมอขอบ่นหน่อยเหอะ-AggressiveDoctor ได้โพสต์ภาพและข้อความเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาว่า "ได้หรอวะ มาตรฐานอยู่ไหน"
2. เมื่อภาพที่มีลักษณะการพูดคุยโต้ตอบกันไปถึงวิธีการดูดวัคซีน AstraZeneca ให้ได้ 13 โดส ของเข็มฉีดยา มาคู่กับภาพที่เป็นลักษณะของเข็มฉีดยา แพร่ออกไปทำให้ชาวเน็ตต่างเข้าไปแสดงความคิดเห็น 296 ราย กดไอคอนความรู้สึกของโพสต์ดังกล่าว 2.3 พันคน และมีการแชร์ไปแล้ว 2.6 พันครั้ง
3. ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าวเป็นไปในเชิงลบจำนวนมาก บางความคิดเห็นถามหาถึง "จรรยาบรรณของวิชาชีพ" และบางความคิดเห็นเป็นห่วง กังวลแทนคนที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว
4. เรื่องดังกล่าวร้อนแรงบนสังคมออนไลน์ กระทั่งเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อว่า สาธารณสุข จังหวัดสงขลา ได้แชร์ภาพหนังสือชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งโรงพยาบาลที่ถูกพูดถึงคือ โรงพยาบาลสทิงพระ โดยเนื้อหาระบุว่า
5. จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการแชร์ รูปภาพ การใช้เข็มฉีดยา อินซูลินแบบถอดปลายเข็มไม่ได้ ใช้ดูดวัคซีน AstraZeneca ให้ได้ 13 Dose / 1 ขวด กระผม นพ.นครินทร์ ฉินตระกูลประดับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสทิงพระ และ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงหนคร ขอชี้แจงว่า การดูดวัคซีนจากขวดวัคซีน AstraZeneca เกิดจากการทดลองของกระผมเองโดยเห็นว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ ทำการดูดวัคซีนโดยใช้เข็มฉีดยาขนาด 1 cc แบบถอดปลายเข็มได้เบอร์ 25 ทำให้สามารถดูดวัคซีนออกมาได้ทั้งหมด ได้ทั้งหมด 11 Dose ถ้าเราทดลองโดยใช้เข็มฉีดยาอินซูลินแบบ ถอดปลายเข็มไม่ได้เบอร์ 27
6. โดย การทดลองใช้น้ำเติม เข้าไปในขวดวัคซีนเดิมที่ใช้ หมดแล้วทั้งขวด โดยผมให้เจ้าหน้าที่ทดลองเติมน้ำเข้าไป 6.5 cc และใช้เข็มฉีดยา อินซูลินแบบถอดปลายเข็มไม่ได้เบอร์ 27 ปรากฏว่า สามารถแบ่งน้ำในขวดได้ทั้งหมด 13 Dose จึงคิดว่าอยากจะให้เจ้าหน้าที่ใช้เข็มอินซูลินแบบนี้ดูดแบ่งวัคซีน AstraZeneca เพื่อจะได้จำนวน Dose วัคซีนสูงสุด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้รับวัคซีนมากขึ้น มีเจ้าหน้าที่บางท่านไม่เห็นด้วย เพราะเข็มฉีดยาอินซูลินชนิดนี้มีปลายเข็มยาวแค่ครึ่งนิ้ว เวลาฉีดจะทำให้ไม่ถึงบริเวณชั้นกล้ามเนื้อของต้นแขน แต่กระผมคิดว่าทำได้ ตอนจะฉีด ยาโตยเข็มอินซูลินซนิตนี้ก็ขอให้กตปลายเข็มลงไปในชั้นกล้ามเนื้ออีกประมาณครึ่งนิ้ว ก็ทำให้ถึงชั้นกล้ามเนื้อได้
7. จากเหตุการณ์ที่สามารถแบ่งวัคซีนได้ 13 Dose นี้ กระผมจึง ได้นำเสนอความคิดนี้ต่อผู้บริหารระดับจังหวัด แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ผู้บริหารระดับจังหวัดสงขลา จึงไม่ได้ดำเนินการ ต้องขออภัยในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด
8. ทั้งนี้ เมื่อหนังสือชี้แจงของโรงพยาบาลสทิงพระ ถูกเผยแพร่ มีคนในสังคมออนไลน์กดไอคอนแสดงความรู้สึก 866 ครั้ง มีแสดงความคิดเห็น 536 ราย และแชร์แล้ว 1.5 พันครั้ง รวมทั้ง เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ได้มีการแชร์หนังสือชี้แจงดังกล่าว พร้อมโพสต์ข้อความว่า
9. "ทำไม่ได้นะครับ ไม่งั้นปริมาณแต่ละเคสที่ได้ อาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิตามที่ควรเป็น ห้ามทำเด็ดขาด ให้ทำตามมาตรฐานตามที่เราเรียนกันมา ถ้าจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องมี evidence รองรับ"
10. และแฟนเพจร่วมแสดงความคิดเห็น และตอกย้ำเรื่อง "จรรยาบรรณวิชาชีพ" ถึงการใช้เข็มฉีดยา อินซูลินแบบถอดปลายเข็มไม่ได้ ใช้ดูดวัคซีน AstraZeneca ให้ได้ 13 Dose / 1 ขวด หากนำมาใช้จริง
11. ซึ่งเมื่อย้อนข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด นั้น นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เคยชี้แจงถึงวิธีการดูดวัคซีนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า สามารถทำได้ แต่ระบุเพียงแค่ 12 โดส จากปกติ 10 โดส แต่โรงพยาบาลดังกล่าวมาเหนือกว่า 13 โดส
12. ซึ่งจากข้อมูลที่ นพ.โอภาส เคยออกมาให้ข่าวและยืนยันว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวดนั้น บริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้บรรจุวัคซีนในขวดเผื่อไว้ประมาณ 20-30% คือ 1 ขวดบรรจุ 6.5 มิลลิลิตร (ซีซี) แต่เวลาฉีด 1 โดส จะใช้ปริมาณ 0.5 ซีซี
13. ดังนั้น 10 โดสจะใช้ไปเพียง 5 ซีซี จึงมีวัคซีนที่เขาเผื่อมาอีกขวดละ 1.5 ซีซี การฉีด 11-12 โดสต่อขวดจึงสามารถทำได้
14. ส่วนวิธีการฉีดจะใช้เข็มพิเศษ เรียกว่า Low Dead Space Syringes ทำให้การสูญเสียวัคซีนในปลายหลอดลดลง โดยอบรมพยาบาลดึงวัคซีนเป็นอย่างดี ด้วยเทคนิคการดึงยาที่มีความแม่นยำ ได้รับวัคซีนครบ 0.5 ซีซีที่กำหนดแน่นอน (มา รู้จัก เข็มฉีดยา Low Dead-Space Syringe สำหรับฉีดวัคซีนโควิด คุ้มทุกหยดปราบหมดทุกเชื้อ )
15. และ นพ.โอภาส ยังระบุว่า ที่ผ่านมาตนสามารถดึงวัคซีนได้ 11-12 โดสต่อขวด ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ประสิทธิภาพไม่ลดลง
16. พร้อมย้ำว่า องค์การอนามัยโลก ก็เห็นด้วยว่า สามารถทำได้และเกิดประโยชน์
17. อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวสร้างความกังวลใจให้ผู้รับวัคซีนอย่างกว้างขวาง และคงต้องจับตามองกันต่อไปว่าปมร้อนแรงในครั้งนี้ อาจเป็นไปได้ที่จะสร้างมาตรฐานผู้บริหาร ในการให้บริการฉีดวัคซีนที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้รับวัคซีนเป็นหัวใจสำคัญมากกว่าใช้วิธีการที่ขาดจรรยาบรรณ
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- เตรียมตัวให้พร้อม! ก่อนเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19
- เช็ก! ข้อปฏิบัติที่ต้องทำ “หลังฉีดวัคซีนโควิด-19”
- ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง
- ห้ามกิน-ดื่มอะไร ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด-19
- เปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตน ม.33 มีที่ไหนบ้างเช็กเลย!
- ต้องเตรียมตัว! ก่อนฉีด - วันฉีด - หลังฉีดวัคซีนโควิดอย่างไรบ้าง?