รีเซต

เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีด "วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า" และ "วัคซีนซิโนแวค"

เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีด "วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า" และ "วัคซีนซิโนแวค"
Ingonn
11 มิถุนายน 2564 ( 12:48 )
9.7K
เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีด "วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า" และ "วัคซีนซิโนแวค"

 

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่ที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะตอนนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าถึงวัคซีนโควิดได้มากขึ้น ผ่านช่องทางของแต่ละจังหวัดและหน่วยงานที่เอื้อเฟื้อการบริการฉีดวัคซีน แต่หลังจากฉีดวัคซีนโควิดแล้ว หลายคนอาจพบอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีด ทำให้เกิดความกังวลใจว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาการแพ้หรืออาการทั่วไปที่พบได้หลังฉีด

 

 

 

วันนี้ TrueID ได้เทียบผลข้างเคียงแบบหมัดต่อหมัดระหว่างวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนซิโนแวค ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้รับการฉีดในประเทศไทย ณ ตอนนี้ ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน แต่ก่อนจะเราจะไปดูผลข้างเคียงของ 2 วัคซีน ต้องแยกอาการแพ้และอาการข้างเคียงหลังฉีดให้ออกเสียก่อน

 

 


อาการหรือผลข้างเคียงทั่วไปหลังฉีดวัคซีนโควิด


เป็นอาการที่คาดเดาได้ว่าเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียง 1-2 วันหลังจากได้รับวัคซีน มักเป็นอาการไม่รุนแรง แต่บางรายอาจมีอาการมาก เช่น ไข้สูง หนาวสั่น

 

 

อาการที่เกิดขึ้นได้


1.ปวด บวมบริเวณที่ฉีด


2.ครั่นเนื้อครั่นตัว 


3.ปวดเมื่อย


4.ใจสั่น หมดแรง


5.อ่อนเพลีย


6.คลื่นไส้ อาเจียน


7.มึนงงและวิงเวียนศีรษะ

 

ผู้มีอาการเหล่านี้สามารถฉีดวัคซีนเข็มต่อไปได้

 

 

อาการแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีนโควิด


ทำให้เกิดอาการแพ้หลากหลายแต่การแพ้ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมากที่สุด คือ อาการแพ้แบบรุนแรงชนิดแอนาฟิเล็กซิส (Anaphylaxis) มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังได้รับการฉีดวัคซีน

 

 

อาการที่เกิดขึ้นได้


1.เกิดผื่นแดง ลมพิษ


2.คลื่นไส้ อาเจียน


3.ความดันโลหิตต่ำ


4.ลิ้น ปาก หรือคอบวม


5.หายใจติดขัด


6.หัวใจเต้นเร็ว


7.ไอ จาม มีน้ำมูกไหล


8.พูดไม่ชัด

 


ผู้มีอาการเหล่านี้ ห้ามรับวัคซีนชนิดเดิมในครั้งต่อไป

 

 

 

 

 

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรรณ หรือหมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ในช่วงต้นของการฉีดวัคซีนโควิดจะมีการใช้วัคซีนซิโนแวค และผู้สูงอายุ และใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาในเรื่องของอาการข้างเคียงมากนัก แต่ขณะนี้มีการใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก และจะต้องมีการใช้ต่อไปจำนวนมาก ส่วนวัคซีนซิโนแวคจะเป็นเพียงตัวเสริม 

 

 

จากการศึกษาของของศูนย์ฯ พบว่า วัคซีนทั้ง 2 ชนิด สามารถฉีดได้ในทุกวัย ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป แต่วัคซีนซิโนแวคจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ โดยจะพบในผู้ที่มีอายุน้อย และจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

 


วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

อาการที่พบหลังฉีดโดยส่วนใหญ่พบได้มากถึง 70-80%


60% มีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีด


50% มีอาการปวดศีรษะ และ อ่อนเพลีย


40% มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว


30% มีอาการไข้ หนาวสั่น


20% มีอาการปวดข้อ และ คลื่นไส้ 

 

 

 

อาการข้างเคียงที่พบได้ยาก


1% มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เบื่ออาหาร มึนหรือเวียนศรีษะ ปวดท้อง เหงื่อออกมากผิดปกติ มีผื่นคัน

 

อาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 1-2 วัน เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายเริ่มสร้างภูมิ 

 

 

ประสิทธิภาพ


- เข็มแรกได้ผล 80-90% ส่วนเข็มที่ 2 ทิ้งช่วงนานหน่อย แล้วจะได้ผลเต็มที่


- ภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างใกล้เต็มที่ของแอสตร้าฯ จะถึงเร็วกว่าซิโนแวค คือ 2 สัปดาห์หลังจากเข็มแรก เกือบ maximum แล้ว


- คนอายุน้อย จะมีอาการข้างเคียงมากกว่าผู้สูงอายุ (เด็กและผู้หญิง พบมากกว่าผู้ชาย) แต่ถ้าอายุมาก แทบไม่มีอาการเลย
 

 

 

วัคซีนซิโนแวค


อาการที่พบหลังฉีดแต่อาการน้อยกว่าวัคซีนแอสตร้าฯ


1.มีไข้ ปวดศีรษะ


2.อ่อนเพลีย


3.ปวด บวมบริเวณที่ฉีด


4.บางรายมีอาการชา

 

5.คลื่นไส้ อาเจียน

 

 

 

ประสิทธิภาพ


- หลังจากฉีดเข็มแรกจะได้ผล 50% จึงต้องรีบฉีดเข็มที่ 2 ภายใน 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ 


- ผลการศึกษาพบว่า ฉีดไป 250 คน ทุกวัย แทบไม่มีอาการข้างเคียง พบอาการชาแขนอยู่ 1 ราย แค่ครึ่งวันก็หาย


- ฉีดครบ 2 เข็มได้เร็ว ห่างกัน 1 เดือน ส่วนแอสตร้าฯ ต้องรอ 3-4 เดือน

 

 


พาราเซตามอลช่วยบรรเทาอาการหลังฉีดวัคซีนโควิด


ถ้ามีอาการข้างเคียงหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด กลับบ้านให้รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย โดยไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย และสามารถทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ซึ่งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ
หากอาการข้างเคียง เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

 

 


ข้อมูลจาก ผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ 3 สถาบัน  RAMA Channel , เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ , กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง