รีเซต

“เบาหวาน” ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

“เบาหวาน” ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
Ingonn
15 มิถุนายน 2564 ( 14:07 )
1.1K

 

อีกหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวและคนไทยนิยมเป็นกันอย่างมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ นั่นก็คือ “โรคเบาหวาน” ซึ่งผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้ ต้องเข้ารับวัคซีนโควิด-19 อย่างเร่งด่วนเป็นกลุ่มแรก เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานหากติดโควิดจะมีภาวะแรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป และภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการฉีด

 

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดความรุนแรงจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้มากกว่าคนทั่วไปกว่า 90% วันนี้ TrueID จึงจะพาทุกคนไปเตรียมความพร้อมก่อนพาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด

 

 

 

ผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสติดโควิด-19 มากกว่าปกติหรือไม่

 

ผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติและเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

 

 

มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3

 

 

อันตรายหากผู้ป่วยเบาหวานติดโควิด


ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อ ระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนและควบคุมได้ยาก ส่งผลให้


- เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้


- ภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น


- เชื้อโรคที่มักเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่ มีน้ำตาลในเลือดสูง

 

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


ผู้เป็นเบาหวาน หากคุมน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อโควิดรุนแรงกว่าคนทั่วไป การฉีดวัคซีนป้องกันเป็นการลดความรุนแรงของการติดเชื้อ และลดอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ90

 

1.เตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรไม่มีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลันในวันฉีดวัคซีน


2.ไม่ต้องงดอาหาร และยาในวันที่มาฉีดวัคซีน

ผู้ที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด สามารถเข้ารับวัคซีนได้ โดยกดบริเวณที่ฉีดยาให้แน่นอย่างน้อย 2 นาที และแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับวัคซีน

 

3.หลังฉีดวัคซีน ระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะสูงขึ้น ควรตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอภายใน 48 ชั่วโมง และหากมีน้ำตาลสูงควรฉีดยาอินซูลิน หรือรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์


4.ข้อห้ามการฉีดวัคซีน เช่น อายุน้อยกว่า 18 ปี แพ้วัคซีนรุนแรง เจ็บป่วยเฉียบพลันหรือเพิ่งออกจากรพ.ไม่เกิน14วัน หรือเพิ่งตรวจพบเชื้อโควิดในช่วง10วัน ที่ผ่านมา


5.สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์


6.แนะนำให้เว้นระยะเวลาห่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 2 สัปดาห์

 

อย่างไรก็ดี แม้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างทางสังคม และสังเกตอาการตนเองอย่างสม่ำเสมอ

 

 

การเตรียมความพร้อมรับมือโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้พอเพียง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค


2.ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น


3.หากคุณมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบากควรรีบไปพบแพทย์


4.ควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอการติดเชื้อทุกชนิดสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและทำให้ร่างกายขาดน้ำ


5.เช็กดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์


6.สำรองอาหารโดยเฉพาะประเภทน้ำตาล มั่นใจว่ามีพอสำหรับแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันที


7.สามารถติดต่อผู้ให้การช่วยเหลือหากจำเป็น หรือถ้าหากคุณอยู่บ้านคนเดียวหาคนที่มั่นใจว่าจะช่วยเหลือคุณได้ หรือมีเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่รักษาอยู่ประจำ

 


ดังนั้นแม้ผู้ป่วยเบาหวานจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว หากไม่ป้องกันตนเองก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ดังนั้นควรรักษามาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น สวมหน้ากากอนามัยล้างมือเป็นประจำ และเว้นระยะหว่างบุคคล

 

 

 

 

 

 


ข้อมูลจาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง