กลับบ้านกัน! รวมช่องทางกลับไปรักษาโควิด ที่ภูมิลำเนา-กลับต่างจังหวัด ฟรี!
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ขณะนี้ที่มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ทำให้ศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยนั้นมีความแออัด ขณะเดียวกันได้มีหลายจังหวัดทั้งโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ประกาศรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษาให้กลับมารักษาตามภูมิลำเนาของตนหรือต่างพื้นที่ได้
อนุทิน ชาญวีรกูล จึงได้มอบให้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สปสช. และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) วางระบบการนำส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา เพื่อให้การขนส่งผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรค ลดการแพร่กระจายเชื้อระหว่างทาง โดยยังได้ประสานกับกระทรวงกลาโหม กรมการขนส่งทหารบก กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อร่วมวางแผนการเดินทางและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
เงื่อนไขผู้ป่วยเดินทางกลับไปรักษาตามภูมิลำเนา
1.ผู้ติดเชื้อจะต้องไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (สีเขียว)
2.ผู้ป่วยจะต้องมีอาการคงที่ สามารถเดินทางได้
3.จังหวัดปลายทางยินยอมรับกลับ ตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด
ขั้นตอนการเดินทางรักษาโควิดที่ภูมิลำเนา
สพฉ.จะจัดยานพาหนะไว้ 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงแรก จัดรถรับผู้ป่วยจากบ้านมายังสถานีรถไฟ บขส. หรือเครื่องบิน เนื่องจาก กทม.มีการใช้รถรับส่งผู้ป่วยจำนวนมาก ไม่อยากส่งรถออกไปไกล
ช่วงที่สอง คือ ยานพาหนะที่รับส่งระยะยาว คือ รถบัส รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น
ช่วงที่สาม คือ การรับส่งที่จังหวัดปลายทาง โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือโรงพยาบาลจะมีการจัดรถมารับ ทั้งนี้ อยากให้ผู้ติดเชื้อที่ต้องการเดินทางกลับใช้ระบบบริการที่รัฐจัดให้นี้ เนื่องจากมีความปลอดภัยและไม่มีค่าใช้จ่าย
กลับบ้านกับ สปสช. ประสานทุกหน่วยงาน
โดยในส่วนของ สปสช จะรับผิดชอบประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข สพฉ. กองทัพบก กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนส่งกลับที่มีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย พร้อมมีเจ้าหน้าที่วิดิโอคอลให้คำปรึกษาระหว่างการเดินทางด้วย
ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ที่มีความประสงค์ต้องการเดินทางกลับไปรักษาตามภูมิลำเนา สามารถแจ้งความจำนงโดยลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ https://crmdci.nhso.go.th/ และสายด่วน สปสช. 1330 กด 15
ส่วนของโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาลหรือหากโรงพยาบาลไม่สามารถนำรถมารับผู้ป่วย สามารถใช้รถอาสาสมัคร รถมูลนิธิ ที่มีความแข็งแรง ปลอดภัย โดยโรงพยาบาลเป็นผู้เบิกค่ารับส่งต่อกับ สปสช.ได้เช่นเดียวกัน
โดยอัตราการจ่ายค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย ระยะทางไปกลับ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยตามจริงไม่เกิน 500 บาท, ระยะทางไปกลับ มากกว่า 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยเริ่มต้น 500 บาท และจ่ายชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) รวมทั้งค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ โดยจ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการรับส่งต่อผู้ป่วย
นั่งรถไฟกลับบ้านกับ ร.ฟ.ท.
กระทรวงคมนาคมเห็นว่า การใช้รถไฟรับ-ส่งตัวผู้ป่วยเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดและปลอดภัย มีห้องน้ำ-และโบกี้ที่กั้นระหว่างกัน ที่สำคัญแต่ละจังหวัดได้จัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์และรถขนย้ายผู้ป่วยประจำจุด เพื่อรอรับ-ส่งตัวผู้ป่วยทันทีที่ถึงสถานีรถไฟปลายทางอย่างเคร่งครัด
การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. จัดขบวนรถไฟโดยสารรับ-ส่งผู้ป่วยสีเขียวกลับภูมิลำเนาฟรี ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. ถึง 31 ส.ค. 64
โดยรถไฟสายใต้จะเริ่มเดินขบวนในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ขบวน กทม.-หาดใหญ่ โดยผู้ป่วยจะต้องเดินทางมาถึงสถานีรถไฟจิตรลดา ถนนสวรรคโลกไม่เกินเวลา 06.00 น. ของแต่ละวัน เพื่อตรวจโรคก่อนเดินทาง ซึ่งจะจอด 6 สถานี ได้แก่ เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และชุมทางหาดใหญ่ รายละเอียดขอให้สอบถามการรถไฟฯ
ขั้นตอนการขึ้นรถไฟกลับภูมิลำเนา
1. ผู้ป่วยแจ้งความประสงค์ผ่าน สปสช. และแสดงความประสงค์ผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์ จังหวัดภูมิลำเนส และได้รับการดูแล คัดกรอง ตรวจสอบสภาพความพร้อม และอาการเบื้องต้นจาก สพฉ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะดูแลผู้ป่วยจากที่พัก มายังสถานีต้นทาง และดูแลอาการ สุขอนามัย ตามมาตรฐานด้านการสาธารณสุขอย่างเข้มงวดตลอดการเดินทาง
2. รฟท.ดูแลเรื่องการเดินขบวนรถไฟ และอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทางจนถึงจังหวัดปลายทาง
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนา และหน่วยบริการสาธารณสุข หน่วยทหาร และขนส่งจังหวัด ร่วมรับ-ส่งผู้ป่วยจากสถานีรถไฟจังหวัดปลายทาง ไปยังสถานพยาบาลที่จังหวัดจัดเตรียมไว้ให้
กลับบ้านกับกองทัพ
กองทัพบกจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิด-19 กองทัพบก“ รับเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในสถานการณ์โควิด
หากประชาชนเดือดร้อน ติดขัดเรื่องการรักษาพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิดหรือผู้เสียชีวิต การจัดพิธีศพผู้เสียชีวิตจากโควิดฯ ผู้ป่วยที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด สามารถประสานขอความช่วยเหลือ ผ่าน หน่วยทหารของกองทัพบกใกล้บ้านทั่วประเทศ หรือโทรแจ้งได้ที่ ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก ได้ตลอด 24 ชม.
ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก CALL CENTER
02-092-7766 จำนวน 30คู่สาย
088-984-7605-10
091-010-0118-19
090-980-9948-49
และหมายเลขเดิมคือ 02-270-5685-9
Line id : @covidtv5hd1
กลับบ้านผ่านผู้ว่าราชการ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
บุรีรัมย์ เบอร์ 088-110-5161
สุรินทร์ เบอร์ 092-599-5108
ศรีสะเกษ เบอร์ 089-717-3501
อุบลราชธานี เบอร์ 082-648-9270
อำนาจเจริญ เบอร์ 093-323-4686
ยโสธร เบอร์ 085-417-6185
บึงกาฬ เบอร์ 081-263-6670
สระบุรี เบอร์ 096-909-9179
ปราจีนบุรี เบอร์ 090-978-2567
ระยอง เบอร์ 082-471-8902
สุพรรณบุรี เบอร์ 081-050-2763
เพชรบุรี เบอร์ 081-815-9007
ราชบุรี เบอร์ 086-335-8208
อุทัยธานี เบอร์ 087-203-5720
ชัยนาท เบอร์ 081-972-0019
นครพนม เบอร์ 095-931-8475
ไม่ว่าจะเดินทางทางบกหรืออากาศ จะมีการจัดบุคลากรทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ดูแลตลอดการเดินทาง โดยรถบัสรถทัวร์จะมีรถแอมบูแลนซ์วิ่งตามไป รถไฟและเครื่องบินจะจัดบุคลากรทางการแพทย์ติดตามไป เพื่อดูแลหากมีเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะทางบกหากมีเหตุฉุกเฉินจะโทร 1669 จังหวัดนั้นเตรียมพร้อมดูแล
ข้อมูลจาก Army Spoke Team , TNN , สปสช , ข่าวสด
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- รายงานสถานการณ์จากทั่วประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อ ล่าสุด
- "วัคซีนป้องกันโควิดกลายพันธุ์" ที่ไทยต้องมีต้านสายพันธุ์เดลต้า-อัลฟา ที่ระบาดหนัก!
- รู้จัก “วัคซีนบูสเตอร์โดส” การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 3
- รวมช่องทางประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีเตียงโทรเลย!
- พบแพทย์ออนไลน์ "ตรวจโควิด-19" ฟรี! ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ที่นี่เลย!
- รวมเบอร์สายด่วน"โควิด-19" รู้ไว้รับมือทัน!
- เปิดสถานที่ตรวจ "โควิด-19 ฟรี" เช็คเลย!
- รู้จัก “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ” สู่ “โควิดทองหล่อ” ที่วัคซีนป้องกันได้?
- วิธีปฏิบัติ หากติดโควิด ทำตามขั้นตอนนี้เลย
- “โควิด-19” ทำให้เครียดหรือเปล่า? รับมือให้ทันก่อนจะเครียดเพราะโควิด
- Work from home อีกครั้ง ลืมไปหรือยังว่าต้องทำยังไงให้ได้งาน ?
- ไทยเซฟไทย ใช้งานต่างจาก หมอชนะ และไทยชนะ หรือเปล่า?
- 7 ประกันโควิด-19 เบี้ยไม่เกิน 500/ปี เดือนเมษา 64
- ติดโควิด-19 แต่ยังไม่ได้ไปหาหมอ ต้องกักตัวอย่างไร?
- รู้จัก"หมอพร้อม" วัคซีนโควิดพร้อม คนไทยพร้อมหรือยัง?
- หมดปัญหา นอนรอคิวตรวจโควิด กับ “Rapid Antigen Test” ชุดตรวจโควิดเร็ว ผลลบก็ติดโควิดได้
- ร้านขายชุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test ซื้อยังไง? เช็กเลย!
- Rapid Antigen Tests ประเทศไหนใช้บ้าง? ขายบ้าง? ฟรีไหมนะ