รีเซต

แอนตาร์กติก และ "การปลูกพืชบนอวกาศ"... ที่สำเร็จ !?

แอนตาร์กติก และ "การปลูกพืชบนอวกาศ"... ที่สำเร็จ !?
TNN ช่อง16
8 มิถุนายน 2565 ( 15:09 )
100
แอนตาร์กติก และ "การปลูกพืชบนอวกาศ"... ที่สำเร็จ !?

การหาอาหารหรือสร้างอาหารสำหรับใช้กินบนอวกาศ ถือเป็นโจทย์สำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ก้าวต่อไปในอุตสาหกรรมอวกาศในอนาคตมากกว่านี้ได้ เพราะเมื่อใดที่มนุษย์ทำสำเร็จ "ยุคที่มนุษย์จะอาศัยอยู่นอกโลกในระยะยาวจะถือกำเนิดขึ้น" และเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาประกาศความสำเร็จ  "พวกเขาสามารถปลูกพืชโดยใช้ดินจากดวงจันทร์ได้สำเร็จแล้ว"



ขอบคุณภาพจาก : flickr.com

 

การวิจัยสร้างอาหารในอวกาศ

การวิจัยสร้างอาหารในอวกาศบนโลกมีมานานกว่า 120 ปีแล้ว โดยใช้พื้นที่ของแอนตาร์กติกเป็นสถานที่ในการทดสอบและวิจัย 

  • ในช่วงแรกของการวิจัย ทีมนักวิทยาศาสตร์ต้องการเพียงสร้างอาหารให้กับเหล่านักสำรวจในพื้นที่ทุรกันดารเท่านั้น

  • ในปี 1902 แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ Reginald Koettlitz เป็นคนแรกที่สามารถปลูกอาหารในแอนตาร์กติกได้สำเร็จ โดยใช้ดินจาก McMurdo Sound ในการปลูกมัสตาร์ดและเครสในกล่องใต้สกายไลท์บนเรือสำรวจ การวิจัยในครั้งนั้นช่วยให้ลูกเรือทั้งหมดรอดจากระบาดของโรคเลือดออกตามไรฟัน การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดินของแอนตาร์กติกสามารถใช้ปลูกพืชผลได้ อย่างไรก็ตามการปลูกพืชบนดินแดนแอนตาร์กติกโดยตรงในการวิจัยช่วงแรงไม่เคยสำเร็จเลย

  • ต่อมาในปี 1904 นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต Robert Rudmose-Brown ได้ส่งเมล็ดพืชจากพืชผลในแถบอาร์กติกที่ทนต่อความหนาว 22 ต้นไปยัง Laurie Island ที่เย็นพอกันและมีขนาดที่เล็กเพื่อดูว่าจะสามารถปลูกพืชให้เติบโตได้หรือไม่ ผลสรุปในวันนั้นคือเมล็ดทั้งหมดไม่สามารถปลูกขึ้นมาได้สำเร็จ คาดเพราะเมล็ดดังกล่าวมาจากดินแดนที่แปลกประหลาดและไม่มีนักชีววิทยามาช่วยดูแลหรือวิจัย


ขอบคุณภาพจาก : flickr.com

 


  • ต่อมามีการนำพืชมากมายจากทั่วโลกมาปลูกในแอนตาร์กติก แต่มันก็ไม่เคยปลูกได้สำเร็จเลย เพราะแม้ว่าดินจะสามารถปลูกพืชผลได้ แต่สภาพแวดล้อมนั้นกับไม่เป็นมิตรต่อการเพาะปลูกเลย

  • ในปี 1940 หลายประเทศได้เริ่มจัดตั้งสถานีวิจัยระยะยาวในทวีปแแอนตาร์กติก มีการสร้างโรงเรือนและอาคารต่าง ๆ สำหรับการใช้ชีวิตอยู่ในระยะยาว

  • ต่อมาเหล่านักวิจัยพบว่าดินของแอนตาร์กติกสามารถปลูกพืชได้จริง แต่ก็แค่มัสตาร์ดและเครส และใช้มันสำหรับเพาะปลูกได้เพียง 1 - 2 ปีเท่านั้น

  • ในปี 1960 เหล่านักวิจัยเริ่มใช้วิธีไฮโดรโปนิกส์แบบไม่ใช้ดินในการเพาะปลูกพืช วิธีดังกล่าวทำการนำรากของต้นไม้จุ่มลงไปในน้ำที่มีการใช้เคมีมาผสม และสร้างจำลองแสงสำหรับเพื่อการเพาะปลูกขึ้นมาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ถือว่าไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแอนตาร์กติกเลย

  • เหล่านักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่า (NASA) เริ่มมองว่าแอนตาร์กติกเป็นศัตรูของมวลมนุษย์ และเหมาะมาก ๆ สำหรับใช้สำรวจอวกาศ และนานาประเทศสามารถทดสอบเทคโนโลยีอวกาศและโปรโตคอลทั้งหมดได้อย่างอิสระ


ขอบคุณภาพจาก : flickr.com

 


  • ในปี 2000 แอนตาร์กติกได้ถูกใช้เป็นพื้นที่หลักในการวิจัยการเกษตรอีกครั้ง

  • ในปี 2004 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติและศูนย์เกษตรกรรมสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแอริโซนา (National Science Foundation and the University of Arizona’s Controlled Environment Agriculture Center) ได้ร่วมมือกับหอการค้าอาหารขั้วโลกใต้ (South Pole Food Growth Chamber) ทำการเปิดตัวโครงการที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบแนวคิดทางการเกษตรแบบควบคุมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีในการเพิ่มพลังการเจริญเติบโตของพืชในขณะที่ลดการใช้ทรัพยากรลง ตัวสถานที่จะทำการเลียนแบบสภาพอากาศของดวงจันทร์ จากนั้นทางมหาวิทยาลัยแอริโซนาได้ร่วมมือกับองค์การ NASA เพื่อสร้างเรือนกระจกเรียบแบบสภาพอากาศบนดวงจันทร์ (Prototype Lunar Greenhouse)

  • ในปี 2014 นักบินอวกาศของ NASA ได้ทำการติดตั้งระบบการผลิตผักบนสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นพืชในสภาวะไร้น้ำหนัก ในปีถัดมา พวกเขาสามารถเก็บเกี่ยวผักกาดหอมเล็ก ๆ ได้ เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์แอนตาร์กติกได้โต้เถียงกันมานานหลายปี ทาง NASA ได้ยืนยันว่าคุณค่าทางโภชนาการและผลผลิตแบบสด ๆ เป็น “วิธีแก้ปัญหาด้านความท้าทายของภารกิจระยะยาวในห้วงอวกาศ”

  • ในปี 2015 ได้เกิดอาคารสถานที่อย่างน้อย 43 แห่งในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชหรือทำสิ่งอื่น ๆ การวิจัยต่าง ๆ ช่วยให้ชาวแอนตาร์กติกสามารถใช้ชีวิตได้สบายมากขึ้น โดยเฉพาะในการได้ทานผักในช่วงหน้าหนาว

  • ในปี 2018 เยอรมนีได้ทำการเปิดตัวโครงการในแอนตาร์กติกที่เรียกว่า "EDEN ISS" มีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นไปยังเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชและให้สามารถใช้งานได้ในอวกาศในระบบแบบกึ่งปิด ต้นพืชต่าง ๆ สามารถเติบโตในอวกาศได้เมื่อฉีดสเปรย์น้ำที่มีการปรับปรุงทางเคมีลงบนราก ในปีแรกสถานีอวกาศนานาชาติสามารถผลิตผักสดได้มากพอที่จะคิดเป็น 1 ใน 3 ของอาหารสำหรับลูกเรือทั้งหมด 6 คน


ในท้ายที่สุดแอนตาร์กติกก็ไม่เหมาะสำหรับในการเพาะปลูก มนุษย์เลือกที่จะสร้างสภาพแวดล้อมและอากาศจำลองในการเพาะปลูกและผลิตอาหารแทน


ขอบคุณภาพจาก : flickr.com

 


แหล่งที่มา interestingengineering.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง