รีเซต

โควิดสายพันธุ์ 'มิว' เรื่องใหม่ที่ต้องรู้จักไว้!

โควิดสายพันธุ์ 'มิว' เรื่องใหม่ที่ต้องรู้จักไว้!
TeaC
2 กันยายน 2564 ( 12:31 )
285
โควิดสายพันธุ์ 'มิว' เรื่องใหม่ที่ต้องรู้จักไว้!

โควิดสายพันธุ์ "มิว" (Mu) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคมที่โคลอมเบีย และมีรายงานพบการระบาดเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ของอเมริกาใต้ ยุโรป กระทั่งล่าสุดเจ้าโควิดสายพันธุ์ "มิว" โผล่ที่ประเทศญี่ปุ่น พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ มิว รายแรกในประเทศ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการเฝ้าระวังจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่ได้มีการเพิ่มสายพันธุ์ดังกล่าวเข้าในบัญชีรายชื่อไวรัสที่น่าสนใจเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา วันนี้ TrueID จะพาไปอัปเดตความรู้เกี่ยวกับโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ Mu กัน

 

โควิดสายพันธุ์ "มิว" (Mu) เรื่องใหม่ที่ต้องรู้จักไว้!

 

สายพันธุ์มิว (Mu) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.621 โดย WHO จัดให้เป็น 1 ใน 5 สายพันธุ์ที่น่าสนใจ น่าจับตาเป็นพิเศษ และอาจเป็นไปได้ว่าไม่น่ากังวลเมื่อเทียบเท่าสายพันธุ์เดลตา หรืออัลฟา ที่ถูกจับตามองถึงความรุนแรงที่มากกว่า

 

ทั้งนี้ สายพันธุ์ดังกล่าวถือเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจถัดจากสายพันธุ์แลมบ์ดา โดยองค์การอนามัยโลก ยังระบุถึงข้อบ่งชี้เกี่ยวกับสายพันธุ์มิวว่า เสี่ยงที่จะต่อต้านภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และยังมีเวลาในการจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจธรรมชาติของมันมากขึ้น เนื่องจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังไม่ได้ระบาดเป็นวงกว้าง ซึ่งพบผู้ป่วยใหม่ในโคลอมเบีย 39% ป่วยด้วยสายพันธุ์นี้ ขณะที่ทั่วโลก คิดเป็นผู้ป่วย 0.1% เท่านั้น

 

ดังนั้น ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์มิว (Mu)  เป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อให้อัปเดตความรู้ แต่ไม่ควรตระหนกหรือตื่นตัวไปก่อน เพราะอย่าลืมว่าไม่ว่าเป็นสายพันธุ์ไหน มาตราการในการป้องกันเบื้องต้นยังต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติ ทั้งการใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ถูกวิธี ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง และไม่ไปพื้นที่เสี่ยง ยังเป็นมาตราการที่ดีที่สุดในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 

 

ทบทวนกันหน่อย! โควิดกลายพันธุ์ 9 สายพันธุ์ มีอะไรแล้วบ้าง?

 

WHO ได้ขึ้นบัญชีโควิดกลายพันธุ์ทั้ง 9 สายพันธุ์แล้ว โดยสายพันธุ์น่าสนใจ 5 สายพันธุ์ ได้แก่

 

  • เอตา พบครั้งแรกในหลายประเทศเมื่อเดือน ธ.ค.2563
  • ไอโอตา พบครั้งแรกที่สหรัฐ เมื่อเดือน พ.ย.2563
  • คัปปา พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อ ต.ค.2563
  • แลมป์ดา พบครั้งแรกในเปรู เมื่อเดือน ธ.ค.2563
  • มิว พบครั้งแรกในโคลอมเบีย เมื่อ ม.ค.2564

 

ส่วนสายพันธุ์ที่น่ากังวล 4 สายพันธ์ุ ได้แก่

 

  • อัลฟา พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อก.ย.2563
  • เบตา พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ค.2563
  • แกมมา พบครั้งแรกในบราซิล เมื่อ พ.ย.2563
  • เดลตา พบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ ต.ค.2563

 

อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าโควิดยังอยู่ในชีวิตของเราไปอีกนาน รวมทั้งไวรัสยังกระจายได้ตลอดและมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดนอกจากมาตรการการป้องกันเบื้องต้นที่กล่าวข้างต้น ยังต้องจำกัดการกระจายไวรัสโควิดด้วยการ "ฉีดวัคซีน" ให้มากขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชากรไปจนถึงยังเป็นการลดโอกาสที่ไวรัสจะมีชีวิตรอดในร่างกายของเราด้วย

 

ข้อมูล : TNN World, กรุงเทพธุรกิจ

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง