รีเซต

จับตา! ความน่ากลัวของโควิดสายพันธุ์อินเดีย-เดลต้า ระบาดหนักทั่วโลก

จับตา! ความน่ากลัวของโควิดสายพันธุ์อินเดีย-เดลต้า ระบาดหนักทั่วโลก
Ingonn
17 มิถุนายน 2564 ( 16:11 )
1.2K
จับตา! ความน่ากลัวของโควิดสายพันธุ์อินเดีย-เดลต้า ระบาดหนักทั่วโลก

 

ไม่กลัวไม่ไหว! เมื่อโควิดสายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้า เข้ามาแพร่ระบาดในไทยแล้วกว่า 20 จังหวัด ลามกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ซึ่งองค์กรอนามัยโลกจัดให้สายพันธุ์นี้อยู่ในสายพันธุ์ที่น่ากังวล เพราะแพร่ไว! หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกัน! โดยล่าสุด จ.ปทุมธานีได้พบโควิดสายพันธุ์อินเดียอีก 28 รายด้วยกัน เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าพักสำหรับสายพันธุ์นี้

 

 

 

วันนี้ TrueID จึงมาสรุปความน่ากลัวที่ต้องจับตาโควิดสายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังระบาดอย่างหนักในไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

 

 

 

โควิดสายพันธุ์อินเดีย ระบาดกว่า 80 ประเทศทั่วโลก

 

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุในว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดีย หรือสายพันธุ์เดลต้า ที่มีชื่อเรียกว่า “B.1.617” กระจายไปแล้วกว่า 6 ทวีปทั่วโลก เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่น่ากังวลทั่วโลก โดยอังกฤษเป็นประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียมากที่สุดนอกเหนือจากอินเดีย และสายพันธุ์นี้เป็นต้นเหตุให้อินเดียเผชิญวิกฤตการระบาดโควิดครั้งใหญ่

 

 

 


สถานการณ์โควิดสายพันธุ์อินเดียในไทย


อัตราการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โควิดสายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์อินเดียเพิ่มขึ้นกว่า 20 จังหวัด โดยทั้งหมดเชื่อมโยงกับพื้นที่แรกที่พบ คือ “แคมป์คนงานหลักสี่ กทม.” ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาต่างจังหวัด 

 


โดยพื้นที่ที่พบมากสุดคือ กทม.สะสม 404 ราย โดยเป็นรายใหม่ 86 ราย และ ยังพบ 10 ราย ใน รพ.กลางกรุงเทพฯ 3-4 แห่ง อัตราการเพิ่มขึ้น จาก 8% เป็น 9.8% นอกจากนี้ยังพบที่ ปทุมธานี 28 ราย นครนายก 8 ราย สกลนคร 3 ราย พะเยา 2 ราย อุบลราชธานี จังหวัดละ 2 ราย เชียงราย เพชรบูรณ์ ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น อุดรธานี เลย และบุรีรัมย์ จังหวัดละ 1 ราย

 

 

 

ความน่ากลัวของสายพันธุ์อินเดียหรือเดลตา

 

1.มีความสามารถในการแพร่เชื้อมากกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าหรือสายพันธุ์อังกฤษกว่า 40% ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์ยังปกติ อาจจะไม่มีปัญหา แต่หากยังมีการแพร่ระบาดแบบก้าวกระโดดคาดว่าประมาณ 2-3 เดือน อาจจะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดมากขึ้นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งกับสายพันธุ์อัลฟ่าในประเทศไทย

 

 

2.สายพันธุ์อินเดียมักแพร่กระจายลงสู่หลอดลมส่วนลึก และถุงลม ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์เดิมที่แพร่กระจายในโพรงจมูก และลำคอ สามารถติดเชื้อได้เร็วขึ้น และแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น

 

 

3.สามารถหลีกหนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่สามารถยับยั้งเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียได้ และต้องติดตามกลับว่า ทำให้เกิดการอักเสบที่อันตรายต่อเนื้อเยื่อ และทุกระบบของร่างกายมากขึ้น

 

 

 

วัคซีนที่มีป้องกันสายพันธุ์นี้ได้หรือไม่

 

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยืนยัน วัคซีนที่องค์การอนามัยโลกอนุมัติใช้งานทั้ง 6 ตัวได้แก่ ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แอสตร้าเซนเนก้า โควิชิลด์ รวมทั้งวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดที่กลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียและสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งอังกฤษและแอฟริกาใต้ได้

 

 

ล่าสุดสาธารณสุขประเทศอังกฤษ พบว่าหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็มแล้ว วัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 92% ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลและไม่มีผู้ที่เสียชีวิตจากสายพันธุ์เดลต้า 

 

 

ดังนั้นวัคชีนที่มีอยู่ในไทยมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียได้

 

 


การตรวจเชื้อหาโควิดกลายพันธุ์


กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าสามารถตรวจหาเชื้อโควิดทุกสายสายพันธุ์ได้ 3 วิธี ได้แก่

 

1.การตรวจแล็บ Real-time RT-PCR ที่มีความจำเพาะต่อสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง โดยขยายศักยภาพสู่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ให้สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค

 


2.การตรวจแบบ Target sequencing สามารถตรวจการกลายพันธุ์ในตำแหน่งต่างๆ ทั้งที่ทราบข้อมูลตำแหน่งกลายพันธุ์อยู่แล้ว หรือ ค้นพบตำแหน่งใหม่ๆ

 


3.การตรวจแบบ Whole genome sequencing ซึ่งสามารถตรวจได้ข้อมูลจีโนมทั้งตัวของเชื้อไวรัส ช่วยสนับสนุนให้การเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ๆ เป็นไปอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

 

 

**ความเร็วในการตรวจโดยเฉลี่ยต่อรอบ 92 ตัวอย่าง ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง รายงานผลภายใน 24 ชั่วโมง**

 

 

 

สายพันธุ์ที่องค์กรอนามัยโลกประกาศ


ปัจจุบันมีโควิด-19 อยู่ 11 สายพันธุ์ที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่

 

สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์

 

- สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ


- สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้


- สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล


- สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2  พบที่แรกคือประเทศอินเดีย

 

 


สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)

 

- สายพันธุ์เอปซิลอน (Epsilon) ชื่อทางการ B.1.427/B.1.429 พบที่แรกคือรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ


- สายพันธุ์ซีต้า (Zeta) ชื่อทางการ P.2 พบที่แรกคือประเทศบราซิล


- สายพันธุ์อีต้า (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ


- สายพันธุ์เธตา (Theta) ชื่อทางการ P.3 พบที่แรกคือประเทศฟิลิปปินส์


- สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ


- สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย


- สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู

 

 

 

 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , TNN , ข่าวสด

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง