รีเซต

รู้จักโควิดอินเดีย "สายพันธุ์เบงกอล" กลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง

รู้จักโควิดอินเดีย "สายพันธุ์เบงกอล" กลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง
TNN ช่อง16
26 เมษายน 2564 ( 19:02 )
1.1K
รู้จักโควิดอินเดีย "สายพันธุ์เบงกอล" กลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง

วันนี้ (26 เม.ย.64)  อินเดีย พบเชื้อโควิด-19 สุดอันตราย โควิดกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง "triple mutant variant" หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า B.1.618 เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่ถูกพบครั้งแรกในรัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย จึงทำให้มีการเรียกเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่นี้ว่า "โควิดสายพันธุ์เบงกอล" ซึ่งวิวัฒนาการมาจากโควิดกลายพันธุ์คู่  ที่เป็นสายพันธุ์ Double mutant ที่พบการกลายพันธุ์สองตำแหน่งที่ E484Q และ L452R โดยนักวิทย์พบครั้งแรกในรัฐมหาราษฎระ

แต่ไวรัสสายพันธุ์เบงกอลนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มที่ตำแหน่ง 484 เช่นกัน แต่เป็น E484K เหมือนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ กับ บราซิล และพบว่าเป็นการขาดหายไปของ กรดอะมิโนที่ตำแหน่ง 145-146 ซึ่งเป็นประเด็นที่นักไวรัสวิทยาหนักใจ เพราะทำให้ยากแก่การออกแบบวัคซีนเพื่อมารองรับกับการกลายพันธุ์ชนิดใหม่ เนื่องจาก สายพันธุ์เบงกอลสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วมากขึ้น  หลบหลีกแอนติบอดีในร่างกายของมนุษย์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม และวัคซีนดูเหมือนทำอะไรไม่ได้

ทั้งนี้ นักวิจัย มีนำเชื้อโควิด 4 สายพันธุ์  ได้แก่ สายพันธุ์ G ที่มีแค่มิวเตชั่น E484K ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เบงกอล สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์ G หรือสายพันธุ์ดั่งเดิม และสายพันธุ์อังกฤษ โดยนำวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งระบุว่าได้ผลดีถึง90% มาทดลองในห้อง Lab ที่น่าเชื่อถือได้ในสหรัฐ

โดยนำซีรั่มของคนที่ได้ Sputnik V ครบ 2 เข็ม มาดูความสามารถยับยั้งไวรัส ซึ่งผลเป็นไปตามคาดซีรั่มจากวัคซีนได้ผลดีมากกับสายพันธุ์ G และสายพันธุ์อังกฤษ แต่วัคซีนน่าจะใช้ไม่ค่อยดีกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ และ สายพันธุ์เบงกอล ที่ภูมิคุ้มกันตกลงมาชัดเจน

หากเรียงลำดับ ไวรัสกลายพันธุ์ที่หนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี อันดับ1 คือ  สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) ตามมาแบบไม่ห่างมากคือ สายพันธุ์บราซิล (P.1) ตัวที่สามคือสายพันธุ์นิวยอร์ค (B.1.526)  อันดับ4 สายพันธุ์อินเดีย Double Mutant กับ สายพันธุ์แคลิฟฟอร์เนีย (B.1.429) และ รั้งท้ายสุดคือสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)  ส่วนสายพันธุ์ใหม่เบงกอลจากอินเดีย น่าจะอยู่ ใกล้เคียงกับสายพันธุ์บราซิล

ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์เบงกอลกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง ในผู้ป่วย 4 รัฐของอินเดีย คือ รัฐมหาราษฎระ กรุงนิวเดลี เบงกอลตะวันตก และรัฐฉัตตีสครห์ อีกทั้งยังกำลังกังวลว่า เชื้อโควิดกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งนี้จะมีความอันตรายมากกว่าเชื้อโควิดกลายพันธุ์คู่ที่องค์การอนามัยโลกเตือนว่ามันเป็นเชื้อโควิดที่น่ากังวล  โดยเฉพาะวัคซีนต้านโควิด-19 ที่กำลังถูกพัฒนากันอยู่ในขณะนี้จะสามารถต้านทานมันอยู่หรือไม่  ขณะที่หลายประเทศประกาศห้ามชาวอินเดียเข้าประเทศ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง