รีเซต

เช็กอาการติดโควิดสายพันธุ์ไหน? เทียบอาการติดโควิด-19 กับสายพันธุ์ที่ระบาดในไทย

เช็กอาการติดโควิดสายพันธุ์ไหน? เทียบอาการติดโควิด-19 กับสายพันธุ์ที่ระบาดในไทย
Ingonn
31 กรกฎาคม 2564 ( 12:36 )
316

 

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ โดยสายพันธุ์เดลต้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และขณะนี้พบแล้ว 72 จังหวัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เชื้อติดง่าย แพร่กระจายรวดเร็ว วันนี้ TrueID จึงจะพามาเช็กอาการติดโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์ หากเราติดโควิดจะได้รู้ว่ามีความเสี่ยงอยู่ในสายพันธุ์ไหน

 

 


กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม ถึง 23 กรกฎาคม 2564 จากการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อทั้งหมด 3,206 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย)จำนวน 2,215 ราย(69.1%) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว ส่วนสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ)พบจำนวน 905 ราย(28.2%)และสายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้)จำนวน 86 ราย(2.7%)

 

 

พื้นที่กรุงเทพมหานคร จากทั้งหมดจำนวน 1,273 ราย 


เป็นสายพันธุ์เดลตา จำนวน 1,053 ราย (82.7%) สายพันธุ์อัลฟาจำนวน 220 ราย (17.3%) ส่วนสายพันธุ์เบตาไม่พบผู้ติดเชื้อ 

 


พื้นที่ต่างจังหวัด จากทั้งหมดจำนวน 1,933 ราย 


เป็นสายพันธุ์เดลตา 1,162 ราย (60.2%) สายพันธุ์อัลฟา 685 ราย (35.4%) และสายพันธุ์เบตา 86 ราย (4.4%)

 

 

โดยสายพันธุ์เดลตามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และขณะนี้พบแล้ว 72 จังหวัด  โดยสายพันธุ์เบตาส่วนใหญ่ยังพบในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุดที่จังหวัดนราธิวาส และมีจำนวนประปรายในจังหวัดปัตตานี สตูล ตรัง กระบี่ สุราษฏร์ธานี และมีพบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดบึงกาฬ

 

 

ดังนั้นข้อมูลการเฝ้าระวังทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 23 กรกฎาคม 2564 สายพันธุ์อัลฟาจำนวน 13,311 ราย (61.18%) สายพันธุ์เดลตา จำนวน 7,977 ราย (36.67%) และสายพันธุ์เบตา จำนวน 468 ราย (2.15%) 

 

ส่วนการติดเชื้อร่วม 2 สายพันธุ์ (Mix infection) ขณะนี้ยังไม่พบรายใหม่เพิ่มแต่อย่างใด

 

 


เช็กอาการติดโควิด เราติดสายพันธุ์ไหน?

 

สายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์อินเดีย)

จะมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรม อาการที่พบ


1.มีน้ำมูก


2.เจ็บคอ


3.ปวดหัว


4.การรับรสชาติปกติ

 

 

 

สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษ)


1.มีไข้ มีน้ำมูก


2.ไอ เจ็บคอ


3.หนาวสั่น


4.ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว


5.อาเจียน การรับรสและการได้กลิ่นผิดปกติ

 

 

 

สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกา)


1.เจ็บคอ


2.ตาแดง ผื่นแดงขึ้นตามตัว


3.ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว


4.ท้องเสีย นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี


5.ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รสชาติ

 

 

 

สายพันธุ์ S (ที่ระบาดระลอกแรกในไทย)


1.ไอต่อเนื่อง


2.ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น


3.หายใจลำบาก มีไข้สูงถึง37.5 °C ขึ้นไป

 

 

 

 

โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่ระบาดเหมือน "อีสุกอีใส"

 

เอกสารภายในของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC ระบุว่า โควิดกลายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังระบาดทั่วสหรัฐฯ อาจทำให้มีอาการป่วยรุนแรงมากขึ้น และแพร่ระบาดได้เร็วเหมือนโรคอีสุกอีใส โดยคนที่ติดเชื้อ 1 คนเฉลี่ยแล้ว จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่น 8-9 คน ซึ่งเดิมที สายพันธุ์ดั้งเดิม การแพร่กระจายจะเหมือนไข้หวัดปกติ คือ คนติดเชื้อ 1 คน จะแพร่กระจายให้คนอื่น 1-2 คนโดยเฉลี่ย

 

 

ขณะที่คนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบแล้ว แต่ได้รับเชื้อเดลต้าก็จะมีเชื้อโควิดอยู่ในร่างกาย และแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เท่ากับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้วไปแพร่เชื้อ อย่างไรตามคนที่ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังปลอดภัยกว่า เพราะวัคซีนป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้มากกว่า 90% เพียงแค่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อโควิดเดลต้า น้อยกว่า



 


ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , TNN World

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง