รีเซต

ฉีดวัคซีนโควิด “แอสตร้าเซนเนก้า” ป้องกัน "สายพันธุ์เดลต้า" ได้มากแค่ไหน

ฉีดวัคซีนโควิด “แอสตร้าเซนเนก้า” ป้องกัน "สายพันธุ์เดลต้า" ได้มากแค่ไหน
Ingonn
27 มิถุนายน 2564 ( 10:32 )
4.5K
ฉีดวัคซีนโควิด “แอสตร้าเซนเนก้า” ป้องกัน "สายพันธุ์เดลต้า" ได้มากแค่ไหน

 

เมื่อภาครัฐและกระทรวงสาธารณสุขจัดให้ “วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า” เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยซึ่งแปลว่า คนไทยส่วนใหญ่จะได้ฉีดวัคซีนชนิดนี้เป็นหลัก ในขณะเดียวกันที่โควิดกลายพันธุ์ต่างๆ กำลังระบาดอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะ "สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย" ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า “วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า” ที่คนส่วนใหญ่ฉีด มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้มากแค่ไหน

 

 


วันนี้ TrueID ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวประสิทธิภาพหลังฉีดวัคซีนโควิด “แอสตร้าเซนเนก้า” มาฝากทุกคนว่า จะมีความสามารถในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้มากแค่ไหน

 

 


รู้จักวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 

 

วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

 


ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกันห่างกัน 4-12 สัปดาห์ หรือ 1-3 เดือน โดยฉีดที่ต้นแขนด้านบน สามารถเก็บและจัดส่งที่อุณหภูมิเครื่องแช่เย็นทั่วไปที่ใช้อยู่แล้วในระบบสาธารณสุข (อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส) ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 70 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลกแล้ว และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 142 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์

 

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากับสายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์อินเดีย)

 

โควิดสายพันธุ์เดลต้าเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในอนุทวีปอินเดียและมีแนวโน้มจะระบาดไปในประเทศต่างๆทั่วโลก ปัจจุบัน สายพันธุ์เดลต้าได้เข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่าที่แพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศสกอตแลนด์และเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร

 

 

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยข้อมูลวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์อินเดีย) ได้ โดยข้อมูลล่าสุดจากสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (PHE) แสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้า ได้ในระดับสูง หลังจากการฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็มแล้ว ได้ถึง 64%

 

 

จากการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ารวม 14,019 ราย ในประเทศอังกฤษ มี 166 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึง 4 มิถุนายน 2564 ข้อมูลการใช้วัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้านี้ รวบรวมจากการติดตามผลแบบเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลของวัคซีน 

 

 

 

 

 


ประสิทธิภาพวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั่วไป


วัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 92% ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล และยังมีประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการน้อย (mild symptomatic disease) ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยวัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 74% ในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการจากสายพันธุ์อัลฟ่า(B.1.1.7 เดิมคือสายพันธุ์อังกฤษหรือเคนท์) โดยมีประสิทธิผลสูงถึง 86%  และป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลต้า 64% 

 

 

สามารถป้องกันอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100% ตั้งแต่ 22 วันหลังจากฉีดวัคซีนโดสแรก และผลการวิจัยล่าสุดยังพบว่า วัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อยืดระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สองห่างกันนาน 12 สัปดาห์โดยประสิทธิผลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 76%

 

 

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาในคนไทย เข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ มีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึง 96.7% เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อเป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ ตรวจพบได้ 92.4%

 

 

 

ข้อมูลจาก Hfocus , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง