รีเซต

วัคซีนชนิด mRNA “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” ต้องฉีดต่อจาก แอสตร้าฯ ป้องกันกลายพันธุ์

วัคซีนชนิด mRNA “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” ต้องฉีดต่อจาก แอสตร้าฯ ป้องกันกลายพันธุ์
Ingonn
23 มิถุนายน 2564 ( 16:12 )
8.8K
วัคซีนชนิด mRNA “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” ต้องฉีดต่อจาก แอสตร้าฯ ป้องกันกลายพันธุ์

 

ถือเป็นอีกผลการวิจัยที่อาจสร้างความหวังให้กับชาวไทยอย่างเรานั่นก็คือ การใช้วัคซีนโควิดที่เป็นชนิด mRNA อย่าง วัคซีนไฟเซอร์และวัคซีนโมเดอร์นา เป็นเข็มที่ 2 ต่อจากวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มาก และน่าจะรับมือโควิดกลายพันธุ์ได้ทุกตัว

 

 

วันนี้ TrueID ไม่รอช้า รีบพาทุกคนมารู้จักกับวัคซีนชนิด mRNA ที่อาจเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 หรือเข็มที่ 3 ในอนาคตของไทย ที่ต้องนำมาใช้ป้องกันโควิด-19 ที่ไม่มีแนวโน้มดีขึ้นเลยในปัจจุบัน

 

 


รู้จักวัคซีนชนิด mRNA

 

วัคซีนชนิดนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ 

 

 

วัคซีนชนิด mRNA ที่มีใช้ในปัจจุบัน 


วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ และโมเดอร์นา จากข้อมูลในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของ

 

  • วัคซีนไฟเซอร์ ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ 

 

  • วัคซีนโมเดอร์นา ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

 

 


การใช้วัคซีนชนิด mRNA ป้องกันโรคโควิด-19


ปัจจุบันทั่วโลกฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA มากกว่า 500,000,000 โดส จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำประมาณ 3-5 : 1,000,000 โดส ซึ่งใกล้เคียงกับวัคซีนอื่นๆ ที่กำลังฉีดทั่วโลก โดยภาพรวมถือว่าวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และเป็นวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 สูงถึง 95%

 

 


เข็มแรกฉีดแอสตร้าฯ เข็มต่อมาฉีด mRNA


เฟซบุ๊ก Virology and Cell Technology Lab - BIOTEC ของห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อรับมือเชื้อกลายพันธุ์โดยประเมินจากการทดลองฉีดวัคซีนในยุโรป ที่แก้ปัญหาโจทย์ ภาวะลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

 

ด้วยการให้คนกลุ่มอายุน้อยรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก และรับวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ในเข็มสอง

 

จากนั้นได้มีการทดลองจากโรงเรียนแพทย์ของเมืองฮันโนเวอร์ เยอรมนี ที่ได้ทำการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

 

1. กลุ่มคนที่รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มเดียว


2. กลุ่มคนที่รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม


3. คนที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ต่อด้วยไฟเซอร์ โดยให้เข็มที่ 2 ภายใน 73-74 วัน หรือ 10 อาทิตย์

 

 

 

ฉีดแอสตร้าฯ ต่อด้วยไฟเซอร์ ได้ผลดีมาก ภูมิขึ้นสูง


การฉีดวัคซีน mRNA เป็นเข็มที่ 2 ต่อจากวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้ได้สูงมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ โดยการฉีดวัคซีน 2 เข็มต่างชนิดกัน เมื่อทดสอบกับไวรัสกลายพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อัลฟ่า (โควิดสายพันธุ์อังกฤษ) สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกา) สายพันธุ์แกมม่า (โควิดสายพันธุ์บราซิล) แต่ไม่มีสายพันธุ์เดลต้า (โควิดสายพันธุ์อินเดีย) ยังสูงเพียงพอในการยับยั้งเชื้อ แต่อาจจะลดลงมาบ้างในสายพันธุ์เบต้า แต่ไม่มากนัก

 

 

สรุปได้ว่า การใช้วัคซีนโควิดที่เป็น mRNA (ไฟเซอร์, โมเดอร์นา) เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มาก และน่าจะรับมือไวรัสกลายพันธุ์ได้ทุกตัว 


ส่วนการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ป้องกันโควิดสายพันธุ์เบต้าและแกมม่าได้ไม่ดี แต่มีผลอย่างดีในการในการยับยั้งโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์อัลฟ่า


และการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มเดียว ได้ผลดีกับการยับยั้งโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่น้อยเกินไปที่จะยับยั้งโควิดกลายพันธุ์ทุกตัว

 

 

 

แล้ววัคซีนซิโนแวคที่ไทยนำเข้าจะป้องกันได้ไหม


นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ขณะนี้ของเราส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ แต่ก็คงจะหนีไม่พ้นในอนาคตที่จะมีสายพันธุ์อินเดียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมาแทนที่สายพันธุ์อังกฤษในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ตามวิวัฒนาการของไวรัส

 

 

การให้วัคซีนเข็ม 2 เข้ามาเร็วขึ้น ของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จะมีประโยชน์ในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า ถ้ามีการระบาดของสายพันธุ์นี้เกิดขึ้น และมีแนวโน้มการป้องกันจะลดลงและก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 

 

 

ส่วนซิโนแวค เข็ม 2 ภูมิต้านทานยังต่ำ อาจจะต้องมีการให้เข็ม 3 เพื่อให้เพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า และต้องปูพรมฉีดวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มากที่สุด ก่อนที่จะมีวัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์น่าที่จะเข้ามาในช่วงต.ค.

 

 

โดยล่าสุดได้อัปเดตเพิ่มเติมว่า หากเราต้องการให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น อาจต้องให้แอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 เร็วขึ้นเช่นเดียวกับซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม เมื่อฉีดครบ 2 เข็มแล้ว ภูมิต้านทานอาจต่ำอยู่ จึงต้องกระตุ้นเข็ม 3 เข้าไป ซึ่งเราเชื่อว่าเข็ม 3 จะกระตุ้นให้สูงเป็นน้องๆไฟเซอร์ หากฉีดในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะกระตุ้นภูมิได้ถึง 10 เท่า

 

 


ทำไมโควิดต้องกลายพันธุ์ด้วย

 

ตามวิวัฒนาการของไวรัส ไวรัสจะกลายพันธุ์เพื่อหลบหลีกภูมิคุ้มกันร่างกาย ดังนั้น โควิด-19 จึงมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ว่าวัคซีนโควิด-19 ส่วนใหญ่ ทั้งหมดล้วนพัฒนามาจากสายพันธุ์ดั้งเดิมคืออู่ฮั่น

 

ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ กับวัคซีน มีประสิทธิผลเป็นดังนี้

 

 - สายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) ยังไม่หลบหลีกประสิทธิภาพวัคซีนมากนัก

 


    
- สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (เบต้า) หลบหลีกได้มาก แต่กระจายโรคได้น้อยกว่า

 

 

- สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) หลบหลีกได้น้อยว่าแอฟริกาใต้ แต่กระจายโรคได้มากกว่า ในอนาคตจะมีการแทนที่สายพันธุ์อังกฤษที่กำลังระบาดทั่วโลกแทน

 

 

เช่นเดียวกับประเทศไทย ตอนแรกเดิมเป็นสายพันธุ์ G และก็มีสายพันธุ์อัลฟาระบาดเข้ามา ทำให้ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดคือสายพันธุ์นี้ และในอนาคตอาจจะเป็นสายพันธุ์อินเดีย เพราะเริ่มมีการระบาดในประเทศไทยแล้ว

 

 

ทั้งนี้ สายพันธุ์เดลา ต้องใช้ภูมิต้านทานของวัคซีนที่สูงในการป้องกัน ซึ่งไทยก็มีการปรับแผนฉีดวัคซีนเข็ม 2 ของแอสตร้าเซนเนก้า ให้เร็วขึ้น เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค

 

 

ส่วนวัคซีนยี่ห้ออื่นที่มีการกระตุ้นภูมิต้านทานได้น้อยกว่า อาจจะต้องใช้การกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิต้านทานต่อไป

 

 

 


ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan , โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย , TNN , เฟซบุ๊ก Virology and Cell Technology Lab - BIOTEC 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง