รีเซต

อาการแบบนี้ ติดโควิดสายพันธุ์ไหน? สายพันธุ์อังกฤษ-สายพันธุ์อินเดีย-สายพันธุ์แอฟริกาใต้

อาการแบบนี้ ติดโควิดสายพันธุ์ไหน? สายพันธุ์อังกฤษ-สายพันธุ์อินเดีย-สายพันธุ์แอฟริกาใต้
Ingonn
25 มิถุนายน 2564 ( 14:49 )
2.4K
อาการแบบนี้ ติดโควิดสายพันธุ์ไหน? สายพันธุ์อังกฤษ-สายพันธุ์อินเดีย-สายพันธุ์แอฟริกาใต้

 

บอกได้แค่ว่ากลัวไปหมดแล้ว เมื่อประเทศไทยของเราเป็นแหล่งรวมการแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อังกฤษหรือเรียกว่าสายพันธุ์อัลฟา สายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์แอฟริกาใต้หรือสายพันธุ์เบต้า ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ชี้ว่า โควิดสายพันธุ์อินเดียจะยึดพื้นที่ทั่วไทยในอีก 4 เดือน ขณะที่ตอนนี้ยึดไปแล้วกว่า 82 ประเทศทั่วโลก 

 

 


ในเมื่อสถานการณ์สายพันธุ์ต่างๆของโควิด-19 ยังไม่มีท่าทีจะหยุดกลายพันธุ์และแพร่ระบาดง่ายๆ วันนี้ TrueID จึงจะพาทุกคนไปเช็กสัญญาณอาการการติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อสังเกตตัวเองว่า เราติดโควิดสายพันธุ์ไหนกันแน่

 

 

 

สายพันธุ์โควิดที่ต้องเฝ้าระวังในไทย


ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์มากขึ้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่จะหลบหลีกภูมิต้านทานวัคซีน หรือแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่

 

  • สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7


แพร่กระจายและเป็นวงกว้างได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์นี้เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563

 

 

  • สายพันธุ์อินเดีย B.1.617


แพร่กระจายได้เทียบเท่าหรือเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ

 

 

  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351


การแพร่กระจายต่ำกว่า 2 สายพันธุ์ในข้างต้น แต่สายพันธุ์นี้จะหลบหลีกภูมิต้านทาน ทำให้ประสิทธิภาพของวัคชีนลดลง

 

 


อาการโควิด สายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย)

  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก 
  • มักจะไม่ค่อยสูญเสียการรับรส 
  • มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา

 

อาการโควิด สายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ)

  • มีไข้ 
  • หนาวสั่น 
  • ไอ 
  • หายใจถี่หายใจลำบาก 
  • ปวดหัว
  • สูญเสียการได้กลิ่น 
  • เจ็บคอ 
  • มีน้ำมูก 
  • อ่อนเพลีย 
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย 
  • อาเจียน หรือท้องเสีย 

 

 

 

อาการโควิด สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกาใต้)

  • มีไข้
  • ปวดท้อง
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย 
  • อ่อนเพลีย 
  • ปวดหัว
  •  เจ็บคอ


(ในขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้กำหนดอาการโควิดสายพันธุ์เบต้าอย่างชัดเจน เป็นเพียงอาการจากผู้ที่ติดโควิดสายพันธุ์นี้ที่ ศบค. แถลง)

 

 

 

แต่โดยทั่วไปแล้วหากเราติดโควิด-19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็ตาม อาจส่งผลต่อร่างกายแต่ละคนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยอาการเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถสังเกตได้ มีดังนี้ 

 

 

 

อาการทั่วไปของโรค โควิด-19

  • มีไข้
  • ไอแห้ง
  • อ่อนเพลีย

 


อาการที่พบไม่บ่อย

  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • ตาแดง
  • ปวดหัว
  • สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
  • มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

 

อาการรุนแรง

  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

 

 

หากมีอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ทันทีและติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ ส่วนผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

 

 

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ

 

 

สถานการณ์ล่าสุดของโควิดกลายพันธุ์ในไทย


รายงานผลการเฝ้าระวัง ตั้งแต่เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2564 พบ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง

 

 

สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ประมาณ 1.4 เท่า จึงไม่แปลกที่สายพันธุ์เดลตาจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า สายพันธุ์เดลตาก็จะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทั่วโลก ในอนาคตก็อาจจะมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น โดยวัฏจักรแล้วจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน 

 

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พัฒนามาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม คือ สายพันธุ์อู่ฮั่น เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไปประสิทธิภาพของวัคซีนก็เปลี่ยนไป และเชื่อว่าในอนาคตทุกบริษัทก็จะผลิตวัคซีนให้ทันกับสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่เราต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของไวรัสไว้ล่วงหน้า กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสายการผลิต ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

 

 

สายพันธุ์อัลฟาลดประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผลิตมาก่อนไม่มากและคงยังใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดี 

 

 

ในขณะนี้ประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา และมีแนวโน้มที่จะเกิดสายพันธุ์เดลตาเข้ามาแทนที่สิ่งที่เราจะทำได้ก็คงจะต้องช่วยกันควบคุมป้องกัน  ให้เกิดสายพันธุ์เดลตา ระบาดในประเทศไทยช้าที่สุดและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการให้วัคซีนในการควบคุมโรคในอนาคตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามทรัพยากรที่เรามีอยู่

 

 

 

 

ข้อมูลจาก สสส. , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข , ศบค , โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย , WHO

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง