รีเซต

รู้จัก "Mixed viral infections" โควิดลูกผสม หรือการติดโควิด 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน อันตรายแค่ไหน?

รู้จัก "Mixed viral infections" โควิดลูกผสม หรือการติดโควิด 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน อันตรายแค่ไหน?
Ingonn
13 กรกฎาคม 2564 ( 12:07 )
109

 

เป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตามอง เมื่อตรวจโควิดในแคมป์คนงานแห่งหนึ่ง ในกทม. พบติดเชื้อโควิด-19 ในคนๆเดียวถึง 2 สายพันธุ์ ทั้งเดลดา และอัลฟา ซึ่งรวมแล้วมีทั้งหมดมี 7 ราย ที่เป็นการติดเชื้อลักษณะนี้ ทำให้ทางสาธารณสุขเตือนว่า อาจจะเกิดโควิดสายพันธุ์ไฮบริด หรือลูกผสมขึ้น และการติดเชื้อผสมอาจทำให้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

 

วันนี้ TrueID จึงจะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการติดโควิด-19 2 สายพันธุ์ในคนๆเดียว อันตรายแค่ไหน เป็นเรื่องผิดปกติไหม หรือเป็นสัญญาณเตือนถึงสายพันธุ์ที่น่ากลังหรือไม่

 

 

 

การติดโควิดมากกว่า 1 สายพันธุ์ในคนๆเดียว


การติดเชื้อไวรัสโควิดมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ในคนๆเดียวหรือที่เรียกว่า "Mixed viral infections" แบ่งออกเป็น 

 

1.กลุ่มไวรัสลูกผสม (hybrid of COVID-19 variants)

 

เป็นการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์โควิดที่แตกต่างกัน และเกิดเป็นไวรัสตัวใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเอาลักษณะแย่ๆของสายพันธุ์ที่ผสมมารวมกัน และอาจทำให้เชื้อมีความรุนแรง จึงต้องระวังมากเป็นพิเศษ

 

 

2.การติดเชื้อต่างสายพันธุ์ในคนเดียวกัน (co-infection)


การติดเชื้อต่างสายพันธุ์ในคนๆ เดียว สมมติสายพันธุ์อังกฤษและอินเดียผสมกันและออกเป็นตัวใหม่มีลักษณะทั้งสองสายพันธุ์ จะเป็นเฉพาะบุคคล คือ หาย หรือไม่หายอาจรุนแรงเสียชีวิต เวลาแพร่เชื้ออาจนำเชื้อไปติดแค่สายพันธุ์เดียวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ อาจแบบ 80 ต่อ 20 ไม่จำเป็นต้อง 50 ต่อ 50

 

 

 

เมื่อติดโควิดพร้อมกัน "สองสายพันธุ์" น่ากลัวแค่ไหน


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าการติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจสองสายพันธุ์ในคนๆเดียว จะก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงมากกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่า การติดเชื้อเพียงสายพันธุ์เดียว เพราะมีเคสให้ศึกษาน้อยมาก และมีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าการติดเชื้อสองสายพันธุ์พร้อมกันดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของชนิดของวัคซีนที่เราฉีดเข้าไปหรือไม่

 

 

 

ผลวิจัย ถอดรหัสพันธุกรรม ติดโควิดสองสายพันธุ์ในคนเดียว


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี พบตัวอย่างในไทยเพียงรายเดียวตั้งแต่ถอดรหัสพันธุกรรมมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จากตัวอย่างมากกว่า 1500 ตัวอย่าง อันเป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี  กลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) และ สปคม. ตัวอย่างส่งตรวจมาจากผู้ติดเชื้อในแคมป์คนงาน กทม.  

 

 

จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของผู้ติดเชื้อรายนี้ในไทย ครั้งแรกพบว่าเป็นการติดเชื้อร่วมระหว่างสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจสองสายพันธุ์คือ “เดลตา (อินเดีย)”และ “อัลฟา (อังกฤษ)” มีสัดส่วนสารพันธุกรรมระหว่าง “เดลตา”และ “อัลฟา” เป็น 63% : 37%   ต่อมามีการเก็บตัวอย่างครั้งที่สองพบว่าสัดส่วนสารพันธุกรรมของ “เดลตา”และ “อัลฟา” เปลี่ยนเป็น 49% : 51%     อันอาจหมายถึงว่าผู้ติดเชื้อรายนี้ได้รับเชื้อเดลต้ามาก่อนที่จะติดเชื้ออัลฟา  เมื่อเข้ามาในร่างกายเชื้ออัลฟาสามารถเพิ่มจำนวนเข้ามาใกล้เคียงกับเดลตาที่เข้ามาในร่างกายก่อนหน้านี้ ส่วนอาการทางคลินิกยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน

 


และอาศัย "ปัญญาประดิษฐ์ซีร่าคอร์”แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นการติดเชื้อสองสายพันธุ์ในคนเดียวคือ “อัลฟา” (อังกฤษ) และ “เดลต้า” (อินเดีย) โดย"ปัญญาประดิษฐ์ซีร่าคอร์” รายงานรหัสพันธุกรรมและตำแหน่งของ VOC และ VOI ของสายพันธุ์อัลฟา (H69del_V70del, N501Y, D614G, P681H, T716I, S982A, D1118H) และ เดลต้า (T19R, T478K) ปะปนกันอยู่ในตัวอย่างสว๊อปจากคนๆเดียว

 

 

 

ต่างประเทศเคยเจอแบบนี้แล้ว

 

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเทศเบลเยียม พบหญิงคนหนึ่งอายุ 90 ปี ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ต่างกัน 2 สายพันธุ์จากคนสองคนซึ่งก็คือ สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์เบต้า ทางห้องทดลองได้เก็บตัวอย่างขณะที่เธอเข้ารักการรักษา และเปิดเผยว่า เธอติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ 2 สายพันธุ์พร้อมกัน จากนั้นก็ได้เสียชีวิต โดยที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว

 

 

เดือนมกราคม ปี 2021 นักวิทยาศาสตร์ในบราซิล ได้รับรายงานว่า มีคนติดเชื้อโควิด 2 สายพันธุ์พร้อม ๆ กัน โดยหนึ่งในนั้น คือ สายพันธุ์แกมมา หรือสายพันธุ์บราซิล

 

 

ขณะเดียวกัน นักวิจัยในโปรตุเกสกำลังรักษาเด็กอายุ 17 ปี ที่คาดว่า ติดเชื้อโควิดอีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างกัน หลังเพิ่งฟื้นตัวจากโควิดอีกสายพันธุ์

 

 

ด้านลอว์เรนซ์ ยัง ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยวอร์ริก ระบุว่า การพบโควิดกลายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ในคนคนเดียว ไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากเชื้อไวรัสอาจส่งต่อจากผู้ติดเชื้อเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ได้

 

 

 

โควิดไฮบริดในสหรัฐครั้งแรก


เบตตี คอร์เบอร์ นักวิจัยประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติ ลอส อลามอส ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ได้ตรวจสอบพบวิวัฒนาการใหม่ของเชื้อโควิด-19 ว่า ในตัวอย่างเชื้อโควิด-19 ที่พบในรัฐแคลิฟอร์เนียมีพันธุกรรมที่เกิดจากการรวมตัวกันของพันธุกรรมของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ คือ เชื้อ B.1.1.7 ที่พบครั้งแรกในเมืองเคนท์ ประเทศอังกฤษ กับเชื้อ B.1.429 ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และเป็นเชื้อสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในนครลอสแองเจลิสในเวลานี้ เป็นเชื้อกลายพันธุ์หรือ แวเรียนท์ ทั้ง 2 ตัว เกิดการรวมตัวกันขึ้นใหม่ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่าเป็นการ “รีคอมบิเนชัน” ทำให้กลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างกะทันหัน แทนที่จะเป็นการสั่งสมการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งต้องใช้เวลานาน นักวิชาการเรียกเชื้อชนิดนี้ว่าเป็น โควิดไฮบริด หรือโควิดลูกผสม ที่เกิดจากการรวมตัวกันทางพันธุกรรมของ 2 สายพันธุ์นั่นเอง 

 

 

การรีคอมบิแนนท์ เกิดขึ้นบ่อยในไวรัสตระกูลโคโรนาและถือเป็นวิธีวิวัฒนาการทางพันธุกรรมที่สำคัญของไวรัสตระกูลนี้ และสามารถทำให้ไวรัสกลายพันธุ์ซ้ำเป็นแวเรียนท์ใหม่ที่อันตรายมากขึ้นกว่าเดิม และยังไม่แน่ใจว่า โควิดไฮบริดนี้ระบาดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งแล้วหรือไม่ หรือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น

 

 

 

สถานการณ์ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ของไทย


การตรวจเชื้อในแคมป์คนงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ในกทม. ซึ่งปรากฎว่า เราพบผู้ติดเชื้อผสม(Mix infection) ซึ่งหมายถึงว่า ในตัวคนๆ เดียวตรวจพบทั้ง 2 สายพันธุ์ ทั้งเดลดา และอัลฟา โดยมีพบ 7 รายจากการตรวจทั้งหมด 200 กว่าราย โดยสัญญาณคือหากเราปล่อยให้การติดเชื้อผสมเยอะๆ ก็อาจเกิดเป็นลูกผสม(Hybrid) เป็นสายพันธุ์(Varian) ตัวใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น ที่รัฐบาลขอความร่วมมือทุกคนหยุดเดินทาง ทำเซมิล็อกดาวน์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อผสม

 

 


อัปเดตสายพันธุ์โควิดในไทย


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยตั้งแต่เม.ย. เป็นต้นมา มีการตรวจสอบสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ 74% เป็นอัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (อินเดีย) 24% เบตา (แอฟริกาใต้) 1.7% เพียงแต่ว่าถ้าเราดูว่าของสัปดาห์ที่ผ่านมา เราจะพบว่าสายพันธุ์เดลตา เพิ่มมาเป็นเกือบ 57% ในกทม. ภูมิภาค 23% ทำให้ภาพรวมทั้งประเทศ เป็นเดลตา 46.1 % พบ 60 จังหวัด รวมกทม. เป็นที่น่าสังเกตช่วงนี้ลงไปยังภาคใต้พอสมควร ส่วนจังหวัดที่พบมากขึ้นคืออุดรธานี 40 กว่าราย นครสวรรค์ 40 กว่าราย ชลบุรี 32 ราย กำแพงเพชร 14 ราย เป็นต้น จึงต้องปรับแนวทางการฉีดวัคซีน ทั้งนี้จะเห็นว่าเดลต้าเบียดอัลฟาแล้ว ส่วนจังหวัดอื่นๆ เพิ่มประปราย คาดอีกไม่นานจะกินพื้นที่สายพันธุ์ในประเทศไทยทั้งหมด ส่วนเบตา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคใต้

 

 

 

 


ข้อมูลจาก hfocus , TNN WORLD , เพจ Center for Medical Genomics , มติชน

 

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง