รีเซต

รู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.1.2 หวั่นอันตรายกว่าเก่า

รู้จัก โควิดกลายพันธุ์  C.1.2 หวั่นอันตรายกว่าเก่า
TrueID
31 สิงหาคม 2564 ( 10:55 )
192
รู้จัก โควิดกลายพันธุ์  C.1.2 หวั่นอันตรายกว่าเก่า

จากการเปิดเผยสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า  ผู้เชี่ยวชาญแอฟริกาใต้จากสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติ และสถาบันนวัตกรรมการวิจัย และแพลตฟอร์มการจัดลำดับควาซูลู-นาทัล ของแอฟริกาใต้ (KRISP) ค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า “C.1.2”  โดยรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์นี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกสายพันธุ์ใหม่ในขณะนี้ รวมถึงชื่อตามตัวอักษรภาษากรีกขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO

 

เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซี.1.2 นี้ ตรวจพบแหล่งกำเนิดในแอฟริกาใต้ ปรากฎว่าได้กลายพันธุ์จากรหัส C.1 ซึ่งพบในแอฟริกาใต้เมื่อช่วงการระบาดในครั้งแรก ได้กลายพันธุ์เป็นรหัส C.1.2 ศักยภาพในการแพร่ระบาดได้เร็ว หรือติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น สิ่งสำคัญที่พบในเบื้องต้น คือสายพันธุ์ใหม่มีความรุนแรงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีศักยภาพในการหลบหลีก หรือต้านภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์

 

โดยมีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง N440K และ Y449H ด้วย ซึ่งเชื่อมโยงกับความสามารถในการหลบเลี่ยงแอนติบอดีบางประเภทที่ผลิตโดยวัคซีนโควิด-19



นอกจากนี้ อัตราการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ใหม่นี้มีสูงมากถึง 41.8 ครั้งต่อปี ในช่วงของการศึกษาสายพันธุ์ใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์ พบว่าอัตราการกลายพันธุ์เพิ่มสูงถึง 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์น่ากังวล

 

โดยนอกจากแอฟริกาใต้แล้ว C.1.2 ได้รับการยืนยันในอีกหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ จีน นิวซีแลนด์ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และมอริเชียส

 

ลักษณะอาการ

ขณะที่อาการของเชื้อกลายพันธุ์ ซี.1.2 นี้ จะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ น้ำมูกไหล ไอเรื้อรัง เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย สูญเสียการได้กลิ่นและการรับรส  มีไข้ ตาสีชมพู และมีอาการท้องร่วง โดยวิธีป้องกันคือปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคม

 

สำหรับเชื้อ Sars-Cov-2 กลายพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลมากที่สุดในปัจจุบันมีอยู่ 4 สายพันธุ์คือ

 

-อัลฟา (Alpha) ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร

-เบตา (Beta) ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้

-แกมมา (Gamma) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล

-เดลตา (Delta) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

 

“เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล" ที่องค์การอนามัยโลกขีดเส้นใต้ให้ระวัง เพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุข เช่น 

 

สามารถทำให้เชื้อโรคโควิดติดต่อกันได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือทำให้เชื้อต้านทานวัคซีนได้

 

จากเหตุดังกล่าว ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "อย่าเพิ่งวางใจว่า C.1.2 ยังไม่เข้ามา อย่าลืมว่าเราไม่เคยกั้นการระบาดจากนอกประเทศได้เลย สุดท้ายก็เข้ามา จะเร็วหรือช้าแค่นั้นเอง"

 

 


ข้อมูล : TNN ช่อง16
รูปภาพโดย Tmaximumge ฟอร์ม PxHere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง