รีเซต

“ลางาน” พาพ่อแม่ไป “ฉีดวัคซีนโควิด” ขอลากิจหรือลาป่วย?

“ลางาน” พาพ่อแม่ไป “ฉีดวัคซีนโควิด” ขอลากิจหรือลาป่วย?
Ingonn
14 มิถุนายน 2564 ( 13:44 )
1.5K
“ลางาน” พาพ่อแม่ไป “ฉีดวัคซีนโควิด” ขอลากิจหรือลาป่วย?

 

ในช่วงนี้การฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ประชาชนคนไทยทุกคน ควรลงทะเบียนกับหน่วยงานที่รับบริการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่เมื่อทุกคนต้องฉีด จึงหมายความว่า ครอบครัวเราทุกคนก็ควรได้รับการฉีดเช่นกัน

 

 

ใครที่มีบุคคลในครอบครัวส่วนใหญ่เริ่มเข้าเกณฑ์ผู้สูงอายุ หรือพ่อแม่ใครที่เริ่มอายุมาก การให้พวกท่านเดินทางไปฉีดวัคซีนเอง คงเป็นเรื่องที่อันตราย ควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนจะได้ดูแลได้อย่างทันท่วงที แต่ลูกหลานบางคนยังทำงานประจำอยู่ สามารถใช้สิทธิวันลาได้ไหมหรือต้องใช้สิทธิวันลาแบบไหน วันนี้ TrueID มีคำตอบ

 

 

 

เพจ “กฎหมายแรงงาน” ได้ระบุเกี่ยวกับการลางานพาพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด สามารถทำได้หรือไม่และควรใช้การลาประเภทใด ในการแจ้งนายจ้าง ซึ่งประเด็นนี้ทางเพจคาดว่าไม่นานกระทรวงแรงงานน่าจะมีประกาศขอความร่วมมือออกมา ซึ่งเนื้อหาในข้อความมีดังนี้

 

 


ช่วงนี้มีการปูพรหมฉีดวัคซีน โดยเฉพาะการฉีดให้กับผู้สูงอายุ จึงมีประเด็นว่าควรใช้สิทธิลาป่วย หรือลากิจ

 

 

เบื้องต้นต้องเข้าใจว่าลาป่วย “ต้องป่วย” จะป่วยมากหรือป่วยน้อยก็มีสิทธิลาได้ แต่การไปฉีดวัคซีนไม่ใช่ลาเพราะป่วย จึงไม่สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้ 

 

 

ส่วนการ “ลากิจ” ต้องดูคำนิยามก่อนว่าลากิจคืออะไร 

 


ลากิจธุระอันจำเป็น หมายถึง การลาเพื่อไปทำงาน หรือการไปทำภาระกิจ หรือธุระที่ต้องจัดทำ “ด้วยตนเอง” ซึ่งอาจเป็นกิจการงานของตนเอง หรือครอบครัวก็ได้ ซึ่งการพาพ่อแม่ไปฉีดวัคซีนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากพ่อแม่อายุมากหรือมีปัญหาสุขภาพ หรือทุพพลภาพไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ การทำหน้าที่พาพ่อแม่ไปฉีดวัคซีนจึงน่าจะลากิจได้ ตามมาตรา ๓๔ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ 

 

 

แต่อย่าลืมนะครับ มาตรา ๓๔ ให้ลาได้ปีละ ๓ วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา อนึ่ง หากลูกจ้างใช้สิทธิลาหมดแล้วก็อาจเจรจากับนายจ้างเพื่อขอลาเพิ่มเติมซึ่งตามกฎหมายสามารถตกลงกับนายจ้างได้ หรือนายจ้างจะประกาศฝ่ายเดียวให้ลูกจ้างลาโดยไม่รับค่าจ้างก็สามารถทำได้ 

 

 

นอกจากนั้นให้ลูกจ้างใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี (ลาพักร้อน) ก็สามารถทำได้

 

 

 


ขอบคุณข้อมูลจาก เพจกฎหมายแรงงาน

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง