"ตรวจโควิด" กับ "บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD" แม่นยำหรือไม่ ใช้ได้หรือเปล่า
หลายคนคงอาจเคยได้ยิน “บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD” ซึ่งมีลักษณะเหมือนบัตรทั่วไปที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ มีขายอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต ซึ่งสรรพคุณของบัตรที่มีการแชร์กันอย่างล้นหลามก็คือ วัดอุณหภูมิร่างกายได้แม่นยำเทียบเท่าได้กับเครื่องวัดอุณหภูมิเพียงแค่แตะที่หน้าผาก
วันนี้ TrueID จึงจะพาไปรู้จัก “บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD” ว่าคืออะไรสามารถวัดอุณหภูมิในร่างกายได้แม่นยำจริงหรือไม่
บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD คืออะไร
บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD หรือแถบอุณหภูมิหน้าผากคริสตัลเหลว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับหน้าผากเพื่อระบุว่า มี หรือไม่มีไข้ สำหรับสินค้าบัตรวัดอุณหภูมิหน้าผากเป็นการประเมินความร้อนของร่างกายในเบื้องต้นเท่านั้น
คุณสมบัติ บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD
1.วัดอุณหภูมิแบบ LCD ที่หน้าผากได้ภายใน 5-10 วินาที
2.มีความแม่นนำเทียบเท่า เครื่องวัดอุณหภูมิ 99%
3.บัตรไม่มีวันหมดอายุ ใช้ได้ตลอดตามต้องการ
3.สามารถทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ได้ กันน้ำ100%
4.พกพาสะถวก พกไปได้ทุกที่ เพราะขนาดเท่าบัตรเครดิตทั่วไป
5.ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วิธีใช้งานที่ง่าย
6.ไม่ต้องเสี่ยงติดเชื้อเพราะใช้ของร่วมกับผู้อื่น
7.หลีกเลี่ยงอันตรายและแสงอินฟาเรด
วิธีใช้ บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD
กดแถบสีดำวางบนหน้าผาก ประมาณ 5-10 วินาที หากปรากฏหมายเลข 37 หรือ 38 รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
ข้อควรระวัง
อย่าพับบัตรและเก็บให้พ้นแสงแดด อุณหภูมิไม่ควรเกิน 15-30 องศา
สำรวจราคาบัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD
มีตั้งแต่ราคาเริ่มต้น 100 กว่าบาท ไปจนถึงราคาสูงเกือบ 500 บาท
บัตรวัดอุณหภูมิหน้าผาก LCD มีความแม่นยำหรือไม่
เป็นเพียงการประเมินความร้อนของร่างกายในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีความแม่นยำ ไม่ควรนำมาใช้ในการคัดกรองหรือใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพราะหากมีความผิดพลาดในการวัดอุณหภูมิ อาจทำให้การคัดกรองบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและเกิดผิดพลาดได้
ใช้อะไรวัดไข้ได้บ้าง
1. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบแท่งแก้ว เครื่องมือชนิดนี้นิยมใช้วัดอุณหภูมิทางปาก หรือทางรักแร้ในผู้ใหญ่หรือเด็กโต แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเล็ก
2. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล หน้าจอแสดงผลเป็นแบบตัวเลข ทำให้ง่ายต่อการอ่านค่า นิยมใช้ในการวัดอุณหภูมิทางปาก หรือทางรักแร้ รวมถึงใช้ในการวัดอุณหภูมิทางทวารของเด็กเล็กด้วย
3. เครื่องวัดอุณหภูมิในช่องหู วัดอุณหภูมิความร้อนที่แพร่ออกมาของร่างกายโดยไม่สัมผัสกับอวัยวะที่วัด มีหน้าจอแสดงผลเป็นแบบตัวเลขทำให้ง่ายต่อการอ่านค่า บริเวณปลายมีเซ็นเซอร์วัดรังสีอินฟราเรดที่ร่างกายแพร่ออกมา โดยเครื่องมือได้ออกแบบให้วัดที่บริเวณเยื่อแก้วหู
4. เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก วัดอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยจำนวนมาก มีหน้าจอแสดงผลเป็นแบบตัวเลข บริเวณปลายมีเซ็นเซอร์วัดรังสีอินฟราเรดที่ผิวหนัง โดยเครื่องมือได้ออกแบบให้วัดที่บริเวณหน้าผาก
สรุป
อุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ ซึ่งการนำเข้ามาขายในประเทศไทยจำเป็นจะต้องมี
1. การจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้ากับทาง อย.
2. ขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์กับทางอย. ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบข้อมูลการขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์บัตรวัดอุณหภูมิดังกล่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้การเลือกซื้อ เลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิของร่างกาย
1. ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกล่องบรรจุ
2. บนฉลากระบุชื่อ และรุ่นของสินค้า วันที่ผลิต หรือวันหมดอายุ คำแนะนำการใช้งาน ข้อกำหนดทางเทคนิคของสินค้าที่ระบุว่าสามารถวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ ช่วงอุณหภูมิที่สามารถวัดได้ และใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่บริเวณใด เช่น ช่องหู หน้าผาก หรือรักแร้ เป็นต้น
ที่สำคัญ เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก สามารถช่วยคัดกรองอาการเบื้องต้นของโควิด-19 แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าติดเชื้อหรือไม่ และหากใช้งานแบบไม่ถูกวิธีจะทำให้อุณหภูมิที่วัดได้คลาดเคลื่อน ผู้ใช้งานจึงควรทำตามคำแนะนำของคู่มือ เพื่อให้ผลที่ได้ออกมาถูกต้องและแม่นยำที่สุด
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา FDA Thai , allwellhealthcare
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เช็กเลย! โรงพยาบาล ‘เลื่อนฉีดวัคซีนโควิด’
- เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีด "วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า" และ "วัคซีนซิโนแวค"
- ปวดหัวหนัก แขนขาชา หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มาจากความเครียดรึเปล่า
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ ประกาศ กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้และยาอะไรไม่ควรกินก่อนฉีด
- สะบัดผ้าต่อไม่รอแล้วนะ! เปิดขั้นตอนซักผ้าอย่างไรให้ไม่ให้ติดโควิด-19
- เช็ก! ข้อปฏิบัติที่ต้องทำ “หลังฉีดวัคซีนโควิด-19”
- ปวดหัวไมเกรนฟังทางนี้! กินยาไมเกรน ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรบ้าง