รีเซต

ดื่มกาแฟเป็นประจำ ลดความเสี่ยงติดโควิด-19 ได้ จริงหรือ!

ดื่มกาแฟเป็นประจำ ลดความเสี่ยงติดโควิด-19 ได้ จริงหรือ!
TrueID
5 สิงหาคม 2564 ( 14:40 )
187

การตั้งข้อสังเกตว่าการบริโภคกาแฟ เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโควิด-19 หรือไม่? แต่รายงานล่าสุดระบุว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ดื่มกาแฟทุกวัน และการวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อพูดถึงการป้องกันโรคโควิด-19 จะเป็นอย่างไร trueID นำข้อมูลมาให้ทุกคนได้รับรู้กันแล้ว

 

 

ดื่มกาแฟเป็นประจำ ลดความเสี่ยงติดโควิดได้ จริงหรือ!

 

ผลการศึกษาในปี 2564 ที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการอย่าง “Nutrients” พบว่า “ผู้ที่ดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละหนึ่งแก้ว อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 น้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ สำหรับการศึกษานี้ นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ไฟน์เบิร์ก (Feinberg) ของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern) ได้วิเคราะห์ข้อมูลคนอังกฤษจำนวน 37,988 คน โดยอ้างอิงจาก Biobank หรือธนาคารชีวภาพ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านชีวภาพและการแพทย์ขนาดใหญ่ และรวบรวมไว้ซึ่งทรัพยากรด้านต่างๆ ของมนุษย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการการวิจัย

 

 

นักวิจัยวิเคราะห์พฤติกรรมการกินและดื่มของผู้เข้าร่วมระหว่างปี 2549 ถึง 2553 รวมถึงความถี่ที่พวกเขาดื่มกาแฟ ชา เนื้อแปรรูป เนื้อแดง ผลไม้ ผัก และปลาที่มีน้ำมัน ประกอบกับข้อมูลการทดสอบโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งผู้เข้าร่วมการศึกษา 17 เปอร์เซ็นต์ทดสอบ ผ่านการตรวจ PCR (การ Swab เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอและหลังโพรงจมูก และจะทราบผลใน 2-3 วัน เนื่องจากต้องมีการวัดผลผ่านห้องปฏิบัติการ ถือเป็นการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำ) และผลปรากฏว่าเป็นบวกต่อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนั่นเอง

 

 

หลังจากคำนวณตัวเลขแล้ว นักวิจัยพบว่าผู้ที่ "บริโภคกาแฟเป็นนิสัย" อย่างน้อยวันละหนึ่งแก้วมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่าเพื่อนที่บริโภคกาเฟอีนน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ นักวิจัยยังค้นพบอีกด้วยว่า การกินผักและกินนมแม่ตั้งแต่ยังเป็นทารกสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส อีกทั้งการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปยังเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าการกินเนื้อแดงจะไม่เพิ่มความเสี่ยงให้กับบุคคลก็ตาม

 

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ “ดร.เอมี เอ อเดลจา” ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและนักวิชาการอาวุโส จากศูนย์ป้องกันการระบาดและภัยพิบัติอย่าง “Johns Hopkins Center for Health Security” ยอมรับว่า “เป็นการยากที่จะพูดว่ากาแฟจะช่วยลดความเสี่ยงของ COVID-19 ได้จริง และทางศูนย์ของเราเป็นศูนย์ที่ต้องการการติดตามและทำความเข้าใจกลไกนี้ให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้กาแฟมีสารประกอบบางอย่างที่อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของการดื่มกาแฟ”

 

 

ด้าน “นพ.ริชาร์ด วัตกินส์” แพทย์โรคติดเชื้อ จากมหาวิทยาลัยแอเคริน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา บอกว่า “ส่วนตัวเขารู้สึกเห็นด้วยกับข้อมูลดังกล่าว แต่อีกมุมหนึ่งก็มองว่ามันอาจเป็นเรื่องบังเอิญก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดื่มกาเฟอีนก็อาจมีผลในการลดการอักเสบที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19 ก็เป็นไปได้ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นกำไรล้วนๆ”

 

 

ขณะที่ “ดร.วิลเลียม สคาฟเนอร์” ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและศาสตรจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt) บอกว่า “อาจเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมการดื่มกาแฟและการป้องกันโรคโควิด-19 ของคุณ ไม่ได้เชื่อมโยงกันโดยตรง ซึ่งผู้ที่ระบุเหตุผลดังกล่าวอาจจะเป็นกลุ่มของคนรักสุขภาพที่ไม่นิยมดื่มกาแฟ แต่ทั้งนี้การบริโภคกาแฟยังเชื่อมโยงกับโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการออกกำลังกายของคุณให้ถึงเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ หรือทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น และการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงของโควิด-19”

 

แต่ก็มีอีกกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับบทความข้างต้น โดยกล่าวว่าถึงแม้กาแฟจะไม่ได้มีฤทธิ์ต้านโรคโควิด–19 แต่ใช่ว่ากาแฟจะไม่มีประโยชน์  เนื่องจากกาแฟ มีสารสำคัญคือ กาเฟอีน ( Caffeine) ซึ่งช่วยให้เกิดความรู้สึกสดชื่น เพิ่มความตื่นตัวของสมอง แต่ไม่ควรดื่มเกินวันละ 300 มก. (มากกว่า 2 ถ้วย) เพราะหากดื่มมากไปอาจทำให้นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ปวดศีรษะได้ จะเห็นได้ว่ากาแฟมีประโยชน์ แต่ไม่สามารถต้านโรคโควิด–19ได้ ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่ามีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคโควิด–19 เช่น ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย ไข้สูง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์

 

 

และสิ่งที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยในช่วงนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 การเว้นระยะห่างทางสังคม และการฆ่าเชื้อของใช้ส่วนตัวด้วยเจลแอลกอฮอล์สม่ำเสมอ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ได้

 

 

ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต , ไทยโพสต์ , กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค

ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง